มจพ.- กฟผ. -GIZ เปิดหลักสูตรอบรมการใช้สารทำความเย็น มุ่งให้ช่างแอร์ติดตั้งปลอดภัย ลดโลกร้อน


มจพ.- กฟผ. -GIZ เปิดหลักสูตรอบรมการใช้สารทำความเย็น มุ่งให้ช่างแอร์ติดตั้งปลอดภัย ลดโลกร้อน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย เปิดหลักสูตรอบรม “การจัดการใช้สารทำความเย็นที่ติดไฟได้อย่างปลอดภัย” เพื่อฝึกอบรมช่างให้เข้าใจเกี่ยวกับการใช้และติดตั้งสารทำความเย็นธรรมชาติในเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นอย่างถูกต้อง ปลอดภัย นำไปสู่การลดพลังงานและลดภาวะโลกร้อน โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมที่วิทยาลัยเทคนิคและสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงสถาบันการศึกษาทั้งหมด 8 แห่ง ทั่วประเทศ

สุชาติ เซี่ยงฉิน

ศ. ดร. สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศไทยในภาคอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (RAC NAMA) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย ภายใต้กองทุน RAC NAMA มีระยะดำเนินการโครงการถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 นี้ เป็นการริเริ่มความร่วมมือเพื่อที่จะฝึกอบรมช่างให้เข้าใจเกี่ยวกับการใช้และติดตั้งสารทำความเย็นธรรมชาติในเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นอย่างถูกต้องได้มาตรฐานสากล ทั้งในภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ เรื่องการติดตั้ง การปฏิบัติงานเชื่อม การใช้งาน การตรวจสอบจุดรั่ว การติดฉลาก การรายงานผล รวมไปถึงความเสี่ยง ข้อควรระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือที่ใช้ในต่างประเทศ และการประยุกต์ใช้กับเครื่องมือที่หาได้ในประเทศไทย และสามารถที่จะนำไปถ่ายทอดสู่ช่างคนอื่น ๆ ทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อที่จะได้มีครูฝึกที่มีคุณภาพมากขึ้นในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น และพร้อมก้าวสู่สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน

นอกจากนี้ มจพ. ยังได้รับเงินทุนจากกองทุน RAC NAMA ที่บริหารโดย กฟผ. มาสนับสนุนอุปกรณ์การฝึกอบรมสำหรับจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม ขณะที่ GIZ จะสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

โดยวิทยากรหลักของการฝึกอบรมครั้งที่ 1 ที่ศูนย์ฝึกอบรม มจพ. คือ Anthony Darlow ผู้เชี่ยวชาญการฝึกอบรม ผู้สอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และผู้ตรวจสอบคุณภาพจากบริษัท AD Training Services Ltd. สหราชอาณาจักร โดยมี รศ.ดร.ฉัตรชาญ ทองจับ หัวหน้าโครงการและทีมงานจากสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ (Refrigeration and Airconditioning Engineering Technology : RAET) มจพ. เป็นผู้ช่วยการฝึกอบรม ซึ่งการฝึกอบรมเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยจะมีล่ามและหูฟังแปลภาษา คู่มือการฝึกอบรมและไฟล์นำเสนอฉบับแปลไทยให้ผู้เข้าฝึกอบรมทุก8o ในการสอนผู้เข้าอบรมจำนวน 16 คนในแต่ละรุ่น ต่อ 1 ศูนย์ฝึกอบรม และมีครูฝึก 2 คนในแต่ละศูนย์การฝึก จัดการฝึกอบรม 6 ครั้งใช้เวลาในการอบรมประมาณ 3-4 เดือน ส่วนวิทยากรในศูนย์อื่น ๆ จะมีทั้งวิทยากรที่มาจาก GIZ กฟผ. อาจารย์จาก มจพ. และผู้ผ่านการฝึกอบรมจากการอบรมครั้งที่ 1 เข้าไปช่วยทำการฝึกอบรมในศูนย์อื่น ๆ ต่อไป

ยาน แชร์

สนับสนุนสถาบันการศึกษาสร้างบุคลากรที่ตรงกับสายงานในตลาด

ยาน แชร์ อัครราชทูตและอุปทูต สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวว่า มจพ. เป็นมหาวิทยาลัยเทคนิคที่ก่อตั้งโดยโครงการอาชีวศึกษาของเยอรมนีและยังคงเป็นสถาบันชั้นนำด้านการศึกษาทางเทคนิคและอาชีวศึกษาจนถึงปัจจุบันเพื่อสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษา บุคลากรที่จบออกมาในสายแต่ละสาขามีโอกาสที่จะประกอบวิชาชีพที่เหมาะสมกับสายงานจริง นอกจากความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาคุณภาพของการฝึกอบรมด้านอาชีวศึกษาในประเทศไทยแล้ว ยังมุ่งเน้นในเรื่องการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นในประเทศไทย และหลีกเลี่ยงการใช้สารอันตรายที่ดำเนินการไปแล้วในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

“ดังนั้นเราจึงต้องการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการทำความเย็นในภูมิภาคอาเซียน และเป็นประเทศตัวอย่างที่สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน” ยาน แชร์ กล่าว

ทิม มาเลอร์

ศูนย์ฝึกอบรมได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุน RAC NAMA

ทิม มาเลอร์ ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย กล่าวว่า ศูนย์ฝึกอบรมนี้ได้รับเงินสนับสนุนสำหรับอุปกรณ์การฝึกอบรมจากกองทุน RAC NAMA มุ่งเน้นส่งเสริมเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงและใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential : GWP) ที่ต่ำมาก รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ใช้กลุ่มครัวเรือนและผู้ใช้เชิงพาณิชย์ในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าสารทำความเย็นสังเคราะห์ทั่วไปถึง 100-1,000 เท่า นอกจากนี้การใช้สารทำความเย็นธรรมชาติดังกล่าวควบคู่ไปกับการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม จะสามารถลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 5-25%

สมรักษ์ เพ็ชรเจริญ

กฟผ. พร้อมสนับสนุนโครงการ RAC NAMA เต็มที่

สมรักษ์ เพ็ชรเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.เล็งเห็นถึงความปลอดภัยในการทำงานของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องผ่านกองทุน RAC NAMAโดย กฟผ.ทำหน้าที่บริหารเงินทุน ผ่านมาตรการจูงใจทางการเงินเพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ใน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ตู้เย็น ตู้แช่ เครื่องทำน้ำเย็นและเครื่องปรับอากาศ การที่กฟผ.เข้ามาสนับสนุนในโครงการดังกล่าวนี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการสร้างผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้างาน ช่างที่มีความรู้ให้ปฏิบัติงานจริงของพนักงาน กฟผ.ที่อยู่ในสายงาน ซึ่งกฟผ.จะส่งเข้ามาร่วมฝึกอบรมในศูนย์ต่าง ๆ อย่างน้อยรุ่นละ 2 คน และจะเป็นการเสริมสร้างความรู้แก่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจากสถานประกอบการอื่น ๆ ในวิชาชีพในตลาดแรงงานที่จะช่วยยกระดับฝีมือแรงงานช่างของไทยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในอนาคตให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันช่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ประเทศไทยขาดแคลนอย่างมากทั้งในระดับ ปวช. ปวส. และในระดับปริญญาตรี

ฉัตรชาญ ทองจับ

จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมในภูมิภาคเบื้องต้น 8 แห่ง ปี’63 ตั้งเป้าจัดฝึกอบรมทั้งหมด 13 หลักสูตร

รศ. ดร. ฉัตรชาญ ทองจับ หัวหน้าโครงการและหัวหน้าสาขาวิชา RAET วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า โครงการ RAC NAMA นี้นอกจากได้รับความร่วมมือจาก กฟผ.และ GIZ แล้ว ยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการส่งผู้เชี่ยวชาญและช่างผู้ชำนาญงานด้านที่เกี่ยวข้องมาร่วมฝึกอบรมให้กับผู้เข้าร่วมในโครงการ พร้อมทั้งขยายโครงการและจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมในภูมิภาคเพื่อขยายองค์ความรู้ที่ถูกต้องสู่ภูมิภาค ในเบื้องต้นมี 8 แห่ง คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน ประกอบด้วย 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นแห่งแรก 2. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 2 สุพรรณบุรี 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 4. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 10 ลำปาง 5. วิทยาลัยเทคนิคยโสธร 6. วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ 7. วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ และ 8.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 17 ระยอง และในปี พ.ศ. 2563 ตั้งเป้าการจัดฝึกอบรมทั้งหมด 13 หลักสูตร

ศูนย์ฝึกอบรม


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save