กฟผ. จัดงาน “EGAT ENERGY FORUM 2023” ภายใต้แนวคิด “Green Smart Energy Solutions: ต่อยอดนวัตกรรม สานพลังเครือข่ายไฟฟ้าสีเขียว”


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงาน “EGAT ENERGY FORUM 2023” ภายใต้แนวคิด “Green Smart Energy Solutions: ต่อยอดนวัตกรรม สานพลังเครือข่ายไฟฟ้าสีเขียว” ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 เพื่อต่อยอดนวัตกรรม สานต่อเครือข่ายพลังงานสีเขียวที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกันระหว่างเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า ทั้งในและต่างประเทศ มุ่งหวังนําเสนอนวัตกรรมพลังงานสีเขียวที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นฐานพัฒนาธุรกิจในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและแรงขับเคลื่อนของภาคพลังงานโลกทำให้การขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม เพื่อให้พลังงานที่ใช้อยู่เกิดความคุ้มค่าและยั่งยืน โดยไม่ทำลายระบบสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา ในส่วนของกระทรวงพลังงานซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลด้านพลังงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการกำหนดแนวโรดแมปและนโยบายต่างๆให้สอดรับกับการใช้พลังงานไปพร้อมๆ กับการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งต้องช่วยกันลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ที่จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

สำหรับทิศทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 370 ล้านตันต่อปี โดยมาจากภาคพลังงานประมาณ 69.96% ภาคการเกษตรประมาณ 15.23% และส่วนอื่นๆอีกประมาณ 14.81% ซึ่งโจทย์ใหญ่จากนี้คือจะทำอย่างไรให้ทุกภาคส่วนช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายภาครัฐลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี พ.ศ. 2593 เพื่อป้องกันปัญหาการกีดกันทางการค้าตามมาตรฐานการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (EU-CBAM) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะเปลี่ยนผ่าน ช่วง 3 ปีแรก ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2566 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2568 ในช่วงนี้ EU จะทำการเก็บข้อมูลราคาคาร์บอน เพื่อดูค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจริงในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วงนี้ผู้นำเข้าสินค้าที่เข้าเกณฑ์ CBAM มายัง EU จะต้องรายงานข้อมูลต่อทางคณะกรรมาธิการยุโรปเป็นรายไตรมาส และ การบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ ปี พ.ศ. 2569 เป็น ต้นไป นับจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป โดยสินค้ากลุ่มแรกที่ต้องปฏิบัติคือ เหล็ก เหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ยและอลูมิเนียม

ดร.ประเสริฐ กล่าวถึงทิศทางและนโยบายพลังงานไทยเพื่อก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ตามกรอบแผนพลังงานชาติ (Nation Energy Plan: NEP) ว่า ทางสำนักงานสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานได้วางกรอบเป้าหมายการทำงานไว้และอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดต่างๆ เช่น การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าใหม่โดยมีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 50% ปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการใช้ไฟฟ้าและปรับโครงสร้างกิจการพลังงานรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด เพื่อเป้าหมาย 1) สนับสนุนให้ประเทศไทยมุ่งสู่พลังงานสะอาดและลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2579 2)สร้างศักยภาพการแข่งขันและการลงทุนของผู้ประกอบการของไทยให้สามารถปรับตัวเข้าสู่การลงทุนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำตามทิศทางโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์จากการลงทุนในนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานสอดคล้องกับนโยบายการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศในระยะยาว

ในส่วนของความคืบหน้าในการดำเนินนโยบายพลังงานไทยสำหรับภาคการขนส่งเพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืนทางด้านพลังงานภายในปี พ.ศ.2573 ขณะนี้ทางกระทรวงพลังงานได้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้า มาตรการทางภาษีและการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับยอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าจากกรมขนส่งทางบก ณ สิ้นปี พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา มีทั้งสิ้น 32,081 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 13,845 คัน รถจักยานยนต์ ไฟฟ้า 16,468 คัน และรถไฟฟ้าประเภทอื่นๆ 1,768 คัน มีจำนวนผู้ประกอบการร่วมลงนามข้อตกลงร่วมมาตรการและยอดจองรถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่ขอรับสิทธิการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 36,993 คัน และมีจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะในประเทศไทยจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 869 สถานี จำนวน2,572 หัวชาร์จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในอนาคต

ดร.จิราพร ศิริคํา รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง รักษาการผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. จัดงาน “EGAT ENERGY FORUM” ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด “Green Smart Energy Solutions: ต่อยอดนวัตกรรม สานพลังเครือข่ายไฟฟ้าสีเขียว” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนนวัตกรรมไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์ในภาพรวมต่อประชาชนและประเทศ และเพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายใหม่จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทั้งการออกแบบติดตั้งและโซลูชันต่างๆ แพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสีเขียว สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ช่วยสร้างความมั่นใจทางด้านความยั่งยืนทางด้านพลังงานของประเทศไทย รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหันมาใช้พลังงานสะอาดร่วมกันมากขึ้น

โดย กฟผ. เป็นผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้าและมุ่งหวังนําเสนอนวัตกรรมพลังงานสีเขียวที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นฐานพัฒนาธุรกิจในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าทั้งธุรกิจหลัก คือ การผลิตไฟฟ้า ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น งานเดินเครื่องและบํารุงรักษาโรงไฟฟ้า ระบบส่ง และวัตถุพลอยได้ รวมถึงธุรกิจใหม่อย่าง Elex by EGAT และ EV Business Solutions ที่กําลังได้รับความสนใจและจะเป็นอนาคตต่อยอดธุรกิจต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save