TCI จับมือ สกสว. และ Scopus ร่วมผลักดันและพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยบนเวทีโลก


ในอดีตที่ผ่านมาการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักในระดับนานาชาติ ดังจะเห็นได้จากในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ค.ศ.2005-2017 มีจำนวนวารสารไทยอยู่ในฐานข้อมูล Scopus เพียง 28 วารสาร (Scopus คือฐานข้อมูลสากลที่รวบรวมวารสารจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวน 27,950 รายการ และเป็นฐานข้อมูลหลักที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก)  จากสถิติพบว่า Scopus ใช้เวลาในการพิจารณาวารสารไทยเข้าฐานข้อมูลเฉลี่ย 16 เดือน/วารสาร และอัตราการรับวารสารไทยเข้าฐานข้อมูลนี้อยู่ที่ 23% เท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่า วารสารไทยที่ได้รับการบรรจุใน Scopus แล้ว ยังมี Journal Quartile ที่ต่ำ คือวารสารส่วนใหญ่อยู่ใน Quartile 4 หรือไม่มี Quartile รวมทั้งไม่มีวารสารไทยอยู่ใน Quartile 1 เลย

ดังนั้น ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (หรือศูนย์ TCI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)  จึงร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)  ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มผลผลิต/การอ้างอิงของผลงานวิจัยในมหาวิทยาลัยไทยสู่ฐานข้อมูลสากล โดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพวารสารไทยให้มีมาตรฐานสากล และผลักดันให้ได้รับการบรรจุในฐานข้อมูล Scopus จำนวน 40 รายการ ภายใน ปี 2017-2020  โดยศูนย์ TCI ร่วมกับบรรณาธิการวารสาร ได้ใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน ในการพัฒนาคุณภาพวารสารแต่ละรายการ  จนวารสารมีคุณภาพระดับสากล และได้รับการยอมรับบรรจุในฐานข้อมูล Scopus ทั้ง 40 รายการคือมีอัตราการรับวารสารเข้าฐานข้อมูลนี้เป็น 100% และ Scopus ใช้เวลาในการพิจารณาโดยเฉลี่ย 24 วันเท่านั้น

นอกจากนี้ ในช่วงปี 2020 เป็นต้นมา จำนวนวารสารไทยใน Scopus มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารไทยจำนวน 46 รายการในฐานข้อมูล Scopus ให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น  สกสว. ได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในโครงการพัฒนาระบบและปรับปรุงคุณภาพวารสารไทยในฐานข้อมูล Scopus ในปี 2020-2022 เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารและคุณภาพบทความของนักวิชาการไทยในวารสารไทยทั้งในเชิงการบริหารจัดการและเชิงคุณภาพ รวมทั้งยกระดับ Journal Quartile ของวารสารไทยใน Scopus ให้มี Quartile ที่สูงขึ้น

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากสิ้นสุดการดำเนินงานทั้งสองโครงการดังกล่าว คือ จำนวนผลงานวิจัยในรูปแบบบทความประเภท article and review ของประเทศไทยระหว่างปี 2017-2022 มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นถึง 101% เมื่อเทียบกับ 37% ในช่วงก่อนมีโครงการนี้คือปี 2012-2017  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน พบว่าประเทศไทยมีจำนวนบทความในฐานข้อมูล Scopus เพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราที่สูงกว่าจำนวนบทความของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปีที่ประเทศไทยมีจำนวนบทความใน Scopus สูงกว่าของประเทศสิงคโปร์ในช่วงเวลาเดียวกัน

ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มจธ.

ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาเฉพาะบทความไทยที่ปรากฎในวารสารไทยในปีที่ศูนย์ TCI ได้ดำเนินโครงการฯ คือปี 2017-2022 พบว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นบทความที่ปรากฏในวารสารที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนปีละมากกว่า 2,200 บทความ ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในระดับโลก ส่วนในด้านคุณภาพ พบว่าบทความในวารสารไทยมีคุณภาพสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยพิจารณาจากJournal Quartile ที่สูงขึ้นของวารสารในโครงการฯ กล่าวคือ มีวารสารไทยที่อยู่ใน Quartile 1 จำนวน 2 รายการ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการวารสารวิชาการไทย  รวมทั้งมีวารสารใน Quartile 2 จำนวน 7 รายการ Quartile 3 จำนวน 13 รายการ และ Quartile 4 จำนวน 24 รายการ ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของ Journal Quartile นี้สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพที่สูงขึ้นของบทความวิชาการไทยบนเวทีโลกได้อย่างชัดเจน

ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ หัวหน้าศูนย์ TCI

เพื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นมาและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการฯ ที่ผ่านมา รวมทั้งรับทราบนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพวารสารไทยในอนาคต ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (ศูนย์TCI) มจธ. สกสว. และเนคเทค นำโดย ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ หัวหน้าศูนย์ TCI ได้จัดการประชุม หัวข้อ “นโยบาย ผลสัมฤทธิ์ และการมอบรางวัลแก่วารสารในโครงการ TCI-TSRI-Scopus Collaboration Project” แก่บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารของไทยจำนวนมากกว่า  200 คน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา

Most Improved Percentile Award
High Citation Award
TCI Popularity Award

ในงานดังกล่าวได้มีพิธีมอบรางวัลให้กับวารสารที่มีผลผลิตและผลการดำเนินงานโดดเด่นในช่วงระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการฯ ใน 3 ประเภทรางวัลคือ 1) Most Improved Percentile Award  2) High Citation Award และ 3) TCI Popularity Award รวม 8 วารสาร จากสถาบันอุดมศึกษา 7 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ(1)  มหาวิทยาลัยมหิดล(1), (2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(1), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(2)  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(2)  ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย(3) และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(3)

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เนคเทค


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save