กรุงเทพฯ – ประเทศไทย-21 มิถุนายน 2565 : โซฟอส (Sophos) ผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ระดับโลก เปิดรายงานสำรวจภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นจริง ในรายงาน State of Ransomware 2022 ซึ่งระบุว่า 66% ขององค์กรที่สำรวจถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 37% จากปี 2563 โดยองค์กรต้องจ่ายค่าไถ่ เพื่อเข้าถึงรหัสข้อมูลสำคัญที่ถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า หรือคิดเป็นเงินกว่า 812,360 ล้านดอลลาร์ (30 ล้านบาท) และยังเพิ่มขึ้น 3 เท่าในสัดส่วนขององค์กรที่จ่ายค่าไถ่ตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป
นอกจากนี้ รายงานยังพบว่า 46% ขององค์กรที่มีการโจมตีเข้ารหัสข้อมูล ได้จ่ายค่าไถ่เพื่อรับข้อมูลกลับคืน แม้ว่าจะมีวิธีการกู้คืนข้อมูลอื่น เช่น การสำรองข้อมูล (backups) ก็ตาม
รายงานสรุปผลกระทบของแรนซัมแวร์ที่มีต่อองค์กรขนาดกลาง 5,600 องค์กร ใน 31 ประเทศทั่วทวีปยุโรป อเมริกา เอเชียแปซิฟิกและเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยมี 965 รายที่แบ่งปันรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายค่าไถ่ให้กับแรนซัมแวร์
Chester Wisniewski นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยด้านความปลอดภัยของ โซฟอส กล่าวว่า นอกเหนือจากการจ่ายค่าไถ่ที่ทวีความรุนแรงขึ้นแล้ว ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อที่จ่ายค่าไถ่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีวิธีการอื่น ๆ ให้เลือกก็ตาม
“สาเหตุที่เหยื่อทำเช่นนี้อาจมีได้หลายประการ เช่น การสำรองข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือความต้องการที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมูลที่ถูกขโมยรั่วไหลสู่พื้นที่สาธารณะ ซึ่งผลที่ตามมาจากการโจมตีของแรนซัมแวร์คือความกดดันจากการที่องค์กรต้องรีบสำรองข้อมูลและกลับมาดำเนินการต่อให้ได้เร็วที่สุด แต่การกู้คืนข้อมูลที่เข้ารหัสโดยใช้ข้อมูลสำรองอาจเป็นประบวนการที่ยากและใช้เวลานาน ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยการจ่ายค่าไถ่สำหรับคีย์ถอดรหัสอาจเป็นวิธีที่เร็วกว่า อย่างไรก็ตามวีธีนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยง เพราะองค์กรไม่รู้ว่าผู้โจมตีได้ทำอะไรไปบ้าง เช่น การเพิ่มแบคดอร์ การคัดลอกรหัสผ่าน และอื่น ๆ เป็นต้น หากองค์กรไม่ล้างข้อมูลที่กู้คืนกลับมาอย่างทั่วถึง อาจทำให้ข้อมูลที่เหลืออยู่ทั้งเครือข่ายเป็นพิษและอาจถูกโจมตีซ้ำได้อีกในอนาคต” Chester Wisniewski กล่าว
ผลสำรวจหลักจาก รายงาน State of Ransomware 2022 ครอบคลุมเหตุการณ์เกี่ยวกับแรนซัมแวร์ที่พบทั่วโลก ภายในปี 2564 รวมถึงปัญหาการประกันภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- จำนวนเงินค่าไถ่เพิ่มสูงขึ้น ในปี 2564 องค์กรกว่า 11% ระบุว่าพวกเขาจ่ายเงินค่าไถ่ เป็นมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป ซึ่งองค์กรที่เลือกวิธีการดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 4% ในปี 2563 ในขณะที่องค์กรที่จ่ายค่าไถ่น้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์ มีจำนวนลดลงเหลือ 21% จาก 34% ในปี 2563
- เหยื่อที่จ่ายค่าไถ่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ในปี 2564 องค์กร 46% ที่มีการโจมตีเข้ารหัสข้อมูล ได้จ่ายค่าไถ่เพื่อรับข้อมูลกลับคืน โดย 26% ขององค์กรที่สามารถกู้คืนข้อมูลที่เข้ารหัสโดยใช้ข้อมูลสำรองในปี 2564 ก็จ่ายค่าไถ่เช่นกัน
- ผลกระทบจากการโจมตีของแรนซัมแวร์อาจถึงขั้นวิกฤต ต้นทุนเฉลี่ยในการกู้คืนขากการโจมตีล่าสุดของแรนซัมแวร์ในปี 2564 อยู่ที่ 1.4 ล้านดอลลาร์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการกู้คืนจากความเสียหายและการหยุดชะงักของธุรกิจ โดยองค์กรเกือบ 90% ระบุว่า การโจมจีส่งผลประทบต่อความสามารถในการดำเนินการ และเหยื่อภาคเอกชนกว่า 86% กล่าวว่าพวกเขาสูญเสีบธุรกิจและ/หรือรายได้เพราะถูกโจมตี
-
- องค์กรจำนวนมากพึ่งพาการประกันภัยทางไซเบอร์เพื่อช่วยเหลือจากการโจมตีของแรนซัมแวร์ 83% ขององค์กรขนาดกลางมีประกันภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมในกรณีที่เกิดการโจมตีจากแรนซัมแวร์ โดยกว่า 98% ของการโจมตี บริษัทประกันจะจ่ายเงินบางส่วนหรือทดแทนค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น (ซึ่งกว่า 40% ของการทกแทนครอบคลุมค่าไถ่ที่ต้องชำระ)
- 94% ของผู้ที่มีประกันภัยทางไซเบอร์ ระบุว่าประสบการณ์ในการรับประกันภัยเปลี่ยนไปในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมีความต้องการมาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น นโยบายที่ซับซ้อนหรือมีราคาสูงขึ้น และองค์กรที่มีการคุ้มครองการประกันภัยลดน้อยลง
“ผลสำรวจชึ้ว่าเราอาจจะอยู่ในจุดสูงสุดของการโจมจีด้วยแรนซัมแวร์ที่ผู้โจมตีเรียกร้องค่าไถ่ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการปะทะกับตลาดประกันภัยไซเบอร์ที่ต้องการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เนื่องจากบริษัทประกันพยายามลดความเสี่ยงและการต่อกรกับแรนซัมแวร์” Chester Wisniewski กล่าว
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อาชญากรทางไซเบอร์ติดต่อแรนซัมแวร์ได้ง่ายขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่ทุกอย่างกลายเป็นการให้บริการ (as-a-service) นอกจากนี้ ผู้ให้บริการประกันภัยทางไซเบอร์จำนวนมากได้เหมารวมค่าใช้จ่ายในการกู้คืนแรนซัมแวร์ ที่รวมการจ่ายค่าไถ่เข้าไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอาจมีส่วนทำให้ความต้องการเรียกค่าไถ่สูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่ได้บ่งชี้ว่าการประกันภัยทางไซเบอร์มีความรุนแรงขึ้น และในอนาคตเหยื่ออาจเต็มใจจ่ายค่าไถ่น้อยลงหรือไม่สามารถจ่ายค่าไถ่ที่สูงเกินจริงได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่แนวโน้มดังกล่าวไม่อาจช่วยลดความเสี่ยงของการโจมตีของแรนซัมแวร์ เพราะการโจมตีของแรนซัมแวร์นั้นไม่ได้เน้นที่ทรัพยากรเหมือนกับการโจมตีทางไซเบอร์อื่น ๆ ดังนั้น แรนซัมแวร์จะยังคงอยู่และอาชญากรทางไซเบอร์จะยังคงโจมตีเหยื่อต่อไป
ทั้งนี้ โซฟอส ได้แนะนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการช่วยองค์กรป้องกันแรนซัมแวร์และการโจมตีทางไซเบอร์ อื่น ๆ ดังนี้
-
- ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบป้องกันคุณภาพสูงในทุกจุดแวดล้อมขององค์กร พร้อมตรวจสอบการควบคุมความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ตามความต้องการขององค์กร
- ตรวจสอบและป้องกันภัยคุกคามในเชิงรุก เพื่อระบุและขจัดภัยคุกคามต่าง ๆ หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคาม หากองค์กรมีเวลาหรือทักษะภายในไม่เพียงพอ
- เสริมความแข็งแกร่งของระบบไอทีโดยการค้นหาและปิดช่องโหว่ความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการอัปเดตแก้ไข เครื่องที่ไร้การป้องกัน พอร์ต RPD ที่เปิดทิ้งไว้ และอื่น ๆ ทั้งนี้ โซลูชัน Extended Detection and Response (XDR) เหมาะสมอย่างมากสำหรับจุดประสงค์นี้
- เตรียมพร้อมสำหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุด โดยเตรียมพร้อมต่อการเกิดเหตุคุกคามทางไซเบอร์และอัปเดตแผนอยู่เสมอ
- สำรองข้อมูลและฝึกกู้คืนข้อมูลจากการคุมคาม เพื่อที่จะได้สำรองข้อมูลและกลับมาดำเนินการต่อให้ได้เร็วที่สุด โดยเกิดการหยุดชะงักน้อยที่สุด
หมายเหตุ: ผลสำรวจทั่วโลกฉบับนี้ คำว่า “ถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์” กำหนดให้มีอุปกรณ์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีของแรนซัมแวร์ แต่ไม่จำเป็นต้องเข้ารหัส โดยขอให้ผู้ทำผลสำรวจระบุเกี่ยวกับการโจมตีที่สำคัญที่สุดของพวกเขา เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น