ETDA จัดงาน “1st THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019”


สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA จับมือภาคีเครือข่าย จัดงานประชุมวิชาการ “1st THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019” เร่งติดสปีดเศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้ทันโลก ระดมกูรูนานาชาติแบ่งปันประสบการณ์การใช้ DIGITAL ID ให้ประสบความสำเร็จ เตรียมผลักดันกฎหมาย DIGITAL ID ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่ไม่ซ้ำซ้อน สะดวก ปลอดภัย ใช้งานง่าย พร้อมเดินหน้าเสนอร่างพ.ร.ฎ. DIGITAL ID ต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาอีก 2 เดือนข้างหน้า หวังให้กฎหมายออกใช้ทันปลายปีนี้

ETDA จัดงาน “1st THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019”

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนจัดงานประชุมวิชาการ “1st THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019” ภายใต้แนวคิด “Unlocking the Potential of Thailand Digital Economy: International Digital ID Use Cases” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนานาชาติ ในการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลหรือ Digital ID ร่วมกัน โดยได้รับเกียรติจากดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ห้องอินฟินิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมและกำลังเปลี่ยนจากระบบอนาลอกก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเน้นการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างทัดเทียม โดยผลักดันให้ประชาชน เกษตรกรให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้มากที่สุด เดิมทีเราใช้บริการอินเทอร์เน็ต 30% ปัจจุบันเพิ่มเป็น 80% เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมบริโภค มีจำนวนมือถือที่จดทะเบียน 120ล้านเลขหมาย มากกว่าจำนวนประชากรถึง 2 เท่า มีผู้ใช้ Line กว่า 40 ล้านเลขหมาย Facebook กว่า 40 ล้านเลขหมาย และ Prompt Pay กว่า 40 ล้านเลขหมาย

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

ล่าสุดมีการจัดตั้งสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เทียบเท่าสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศสู่สังคมดิจิทัล

ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงดีอีได้ผลักดันเรื่องต่าง ๆ อาทิ 1.Cyber Security โดยมีกฎหมาย Cyber Lab เพื่อคุ้มครองโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สำคัญของไทย เช่น ไฟฟ้า ประปา การเงิน และระบบสาธารณสุข มีการจัดตั้งสำนักงาน Cyber Security เชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

ด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ซึ่งการันตีว่าจะมี Super Internet ระดับหมู่บ้าน ปลายปีจะมี Village Internet 75,000 หมู่บ้าน ซึ่งติดตั้ง Fiber Optic ทั้งหมด เป็น Connectivity เพื่อให้ชาวบ้านได้ค้าขายผ่านระบบ E-Commerce ในส่วนของ Submarine Cable กำลังขยายออกไป ทางด้านการพัฒนาบุคลากร ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวสันออก ( EEC) ต้องการ Digital Workforce 180,000 คน ไทยจะต้องลงทุนด้านดิจิทัล เอกชนโดยเฉพาะธนาคารจะต้องลงทุนด้านดิจิทัล รวมทั้ง Startup

ในส่วนของ Smart City เน้น 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยใช้ Internet of Things (IoT) และ Networking ซี่งแต่ละเมืองจะต้องมีความ Smart ที่แตกต่างกันตามลักษณะของแต่ละเมือง เช่น ภูเก็ต จะมี Smart ด้านท่องเที่ยว เป็นต้น

“เร็วๆ นี้จะมีการจัดประชุมเครือข่ายเมืองอัจฉริยะประจำปี (ASCN Annual Meeting) ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2562 ที่ หอประชุมจีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มีการพุดคุยโดยเฉพาะหัวข้อ Smart City Data Platform ซึ่งจะมีการจัดการในเรื่องนี้ ดร.พิเชฐ กล่าว

ดร.พิเชฐ กล่าวว่า ขณะที่ E-Government ทำได้ยาก เนื่องจาก Mindset ของข้าราชการ จากการทำงานร่วมกับ 20 กระทรวงมาระยะหนึ่ง พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ อย่างไรก็ตาม การที่ภาครัฐจัดทำ Cloud Service เบื้องต้นช่วยลดงบประมาณถึง 30% เนื่องจากเป็นลักษณะของ Pay Per Use มีการจัดตั้ง Government Data Center Cloud Service ล่าสุดออกแบบสถาปัตยกรรม Government One Stop Service บนหลักการทำธุรกรรมครบวงจรจุดเดียว เบื้องต้นต้องใช้บัตรประชาชน ในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องใช้

“การที่ประชาชนเข้าใจและใช้ประโยชน์จากดิจิทัลมากขึ้น ทำให้สังคมด้วยโมเมนตัมขนาดใหญ่ สร้างหน่วยงานใหม่ๆ ที่แข็งแกร่งในการผลักดันนโยบาย และมี Platform ที่ทำให้เกิดการใช้อย่างต่อเนื่อง” ดร.พิเชฐ กล่าว

ด้าน สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กล่าวว่า การที่จะก้าวสู่สังคมดิจิทัล Digital ID และกระบวนการในการรู้จักและพิสูจน์ตัวตนลูกค้า (Know Your Customer : KYC) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของธุรกิจในการตรวจสอบความถูกต้องของบุคคลก่อนให้บริการมาใช้ ทำให้ยืนยันตัวตนได้เร็วขึ้น ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะป้องกันการแอบอ้างและและป้องกันการโกง ซึ่งจะช่วยลดปัญหา ID Fraud และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การที่ไทยจัดทำ Nation Digital ID เพื่อให้การใช้ Digital ID มีตัวกลางตรวจสอบยืนยัน ทั้งนี้การใช้ Digital ID ทำให้เทคโนโลยี PKI (Public Key Cryptography) หรือ เทคโนโลยีระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ ซึ่งสามารถตรวจสอบลายมือชื่อ กำลังถูกยกระดับเพื่อความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น โดย ASEAN กำลังขับเคลื่อน ASEAN Authentic เช่นกัน

สุรางคณา วายุภาพ

สำหรับ Digital ID ในเวทีโลก องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ริเริ่มและพยายามผลักดัน Identity Management โดยมีร่าง Draft แรกของ UN ออกมาแล้ว ซึ่งไทยใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกัน โดย ETDA ได้ผลักดันเป็นภารกิจเร่งด่วนในการกำกับดูแลผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3และ4) พ.ศ.2562 อีกทั้งการรับช่วงต่อในการผลักดันกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562 โดยคาดว่าจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2562 โดยกฎหมายฉบับนี้จะทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมีมาตรฐาน น่าเชื่อถือ และมั่นคงปลอดภัย ซึ่งจะช่วยปลดล็อกและเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย สร้างโอกาสให้เกิด Startup ใหม่ๆ มากขึ้น

สุรางคณา กล่าวว่า ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม จะมีผ่านการจัด Public Hearing ครั้งใหญ่ เพื่อที่จะได้นำเสนอ Digital ID ให้ทันในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ศกนี้ จากนั้นจะนำเรื่องเข้าสู่กฤษฎีกาภายใน 2 เดือนข้างหน้า คาดว่าน่าจะผลักดันพระราชกฤษฎีกาให้ออกโดยเร็วที่สุดในปลายปีนี้ โดย ETDA จะทำหน้าที่เป็นเลขานุการ ซึ่งจะต้องฝึกอบรมให้พนักงานได้เรียนรู้และเข้าใจ Digital ID มีการใช้ทีมนักกฎหมายทำงานในเรื่องนี้ 20-30 คน

“ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้ จะต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการและธุรกรรมต่าง ๆ ทางดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย โดยมีกฎหมายรองรับ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสร่วมกันในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Thailand เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนคนไทย” สุรางคณา กล่าว

ารจัดงาน THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 201

สำหรับการจัดงาน THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019 ในครั้งนี้ เป็นการประชุมระดับนานาชาติที่จะเปิดมุมมองให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการมี Digital ID ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่อง Digital ID ร่วมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยมีกูรูผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่ผลักดันการใช้ Digital ID มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็น เอสโตเนีย อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมทั้งธนาคารโลกที่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้

  • Estonia ซึ่งใช้ Digital Signature ในรูปแบบ ID-Card, Mobile-ID และ Smart-ID ในบริการภาครัฐ โดยไม่ต้องใช้เอกสารอีกต่อไปมากว่า 20 ปีจะพูดคุยในหัวข้อ “Providing digital access to all of Estonia’s secure e-services without physical contact”
  • India ซึ่งนำ Digital ID มาให้บริการประชากรมากถึง 1,200 ล้านคน ความมั่นคงปลอดภัยคือสิ่งสำคัญ พวกเขาจะได้อะไรบ้างจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ในหัวข้อThe methods and the challenges “Managing more than 1.2 billion population with the most sophisticated Digital ID program”
  • Singapore ซึ่งประกาศเป็น Smart Nation ทั้งนี้หลักสำคัญของ Smart Nation คือการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ กรอบแนวคิดของ NDI (National Digital Identity) ของสิงคโปร์เป็นอย่างไร ทำไมประชาชนและภาคธุรกิจ สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย และก้าวต่อไปในการพัฒนาระบบบนโทรศัพท์มือถือหรือ MOBILE ID ในหัวข้อ “Smart Citizens: The next episode of Singaporeans MOBILE ID”
  • Malaysia ซึ่งมีการลงทุนอย่างมากในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาระบบการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์จากแนวคิดของเขาเป็นอย่างไร พร้อมแล้วที่จะเปิดใช้งานในปีพ.ศ.2563 ในหัวข้อ “Digital Infrastructure makes the prosperity for the country as physical infrastructure”
  • World Bank ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นว่า Digital ID จะทำให้โลก พัฒนาได้อย่างเท่าเทียมกัน หากประชากรโลกสามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลได้ในมาตรฐานเดียวกันอย่างมั่นคงปลอดภัย ในหัวข้อ“Digital ID make the world develop equally”

นอกจากนี้ในงานยังมีการออกบูธโชว์นวัตกรรม แนวทางการใช้ Digital ID ในอนาคตจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนชั้นนำ อย่าง NDID, DataONE, NCB ฯลฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลไทยที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนเท่าเทียมกันตามหลักการของสหประชาชาติ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save