ATCI ฉลองความสำเร็จให้ 8 องค์กรไทยที่โดดเด่นด้าน IT ในโอกาสคว้ารางวัลจาก ASOCIO ในเวทีนานาชาติ


ATCI ฉลองความสำเร็จให้ 8 องค์กรไทยที่โดดเด่นด้าน IT  ในโอกาสคว้ารางวัลจาก ASOCIO ในเวทีนานาชาติ

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ATCI (The Association of Thai ICT Industry)
เผยปี 2022 นี้ มี 8 องค์กรของไทยประสบความสำเร็จในการใช้ IT อย่างโดดเด่น และได้รับรางวัลจาก สมาพันธ์ ASOCIO (Asian-Oceanian Computing Industry Organization) ซึ่งเป็นองค์กรภูมิภาค ประกอบด้วยสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการจาก 24 ประเทศในภาคพื้นเอเซีย-โอเชียเนีย

โดยได้มีการมอบรางวัล ASOCIO Awards ให้กับองค์กรของประเทศสมาชิกที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเทคโนโลยี เช่น Blockchain, IoT, AI, Robotics, Big Data, Cyber Security & Cloud Based Solutions มาใช้ในการพัฒนาการให้บริการด้านต่าง ๆ และการบริหารขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพจนประสบผลสำเร็จ  คณะกรรมการตัดสินรางวัลของสมาพันธ์ ASOCIO ได้เห็นชอบให้องค์กรของประเทศไทยได้รับรางวัล ASOCIO Awards ในแต่ละสาขาดังนี้

จากซ้ายไปขวา ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ Chief  Executive Officer บริษัท ที-เน็ต จำกัด, นพพล พันธ์เงิน ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพระนครใต้, สุภัค ลายเลิศ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย, นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์  รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, บุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์  ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด, ภูวินทร์ คงสวัสดิ์  Chief  Executive Officer บริษัท อีซีไรช์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด และนภสินธุ์  เสือดี Product  Excellence Lead บริษัท โคนิเคิล จำกัด

  1. บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลประเภท Outstanding Tech Company Award โดยเน็ตเบย์ เป็นบริษัทที่สร้างสรรค์นวัตกรรม และพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มสําหรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (บริการธุรกิจดิจิทัล) และนําเสนอผลิตภัณฑ์นั้นแก่ผู้ใช้ในรูปแบบของบริการที่ครอบคลุม (SaaS: ซอฟต์แวร์เป็นบริการ) ระหว่างธุรกิจและรัฐบาล (B2G) ระหว่างธุรกิจและธุรกิจ (B2B) และระหว่างเอกชนและสาธารณะ หรือผู้บริโภค (B2C) เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้บริการของบริษัทด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัท ที่ดีกว่าเร็วกว่าที่ถูกกว่า
  2. บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (NDID) ได้รับรางวัลประเภท Outstanding User Organization Award

NDID   ก่อตั้งขึ้นเป็นเวลา 4 ปี และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการราว 2 ปี โดยเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม NDID ซึ่งเป็นระบบนิเวศในการเชื่อมต่อสมาชิกเพื่อส่งและรับคําขอการรับรองความถูกต้อง และข้อมูล  เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน เช่น e – KYC, e – ความยินยอม และ e – ลายเซ็น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับ และใช้งานสาธารณะ  ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 100 บริษัท

  1. กรมสรรพสามิต ได้รับรางวัลประเภท Digital Government Award กรมสรรพสามิตมุ่งเน้นการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยแนวคิดที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) รวมถึงการสร้างมาตรฐาน และใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ไม่เพียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการจัดเก็บแต่ยังมุ่งหวังที่จะช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับทั้งผู้ประกอบการในด้านความสะดวก รวดเร็ว มีมาตรฐาน อีกทั้งบุคลากรของกรมสรรพสามิตยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ภารกิจของกรมสรรพสามิตประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อความยั่งยืนของประชาชน และประเทศชาติ
  2. บริษัท โคนิเคิล จำกัด ได้รับรางวัลประเภท EdTech Award โคนิเคิล เป็นสตาร์ทอัปจัดตั้งมาแล้ว 8 ปี โดยให้บริการโซลูชันด้านการพัฒนาบุคลากรและองค์กร ด้วยแนวคิด Everyday Learning Experience ทำให้องค์กรเป็น Learning Organization หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มที่สร้างด้วยทีมงานของตนเอง เนื้อหาคอนเทนต์ที่ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในแวดวงต่าง ๆ และบริการให้ปรึกษาด้านการเรียนทุกรูปแบบ ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ล้วนเป็นองค์กรขนาดใหญ่ และกำลังขยายตลาดไปกลุ่มลูกค้า SME
  3. กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัลประเภท HealthTech Award “Mor Prom” Digital Health Platform สำหรับคนไทย สำหรับบริหารจัดการข้อมูลการฉีดวัคซีน COVID- 19 แสดงประวัติและรายละเอียดการฉีดวัคซีน รองรับการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษา การตรวจสอบสิทธิรักษา การนัดหมายแพทย์ Telemedicine การให้บริการใบรับรองสุขภาพแบบดิจิทัล พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิก และร้านยา มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้านสุขภาพและการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ขณะนี้มีประชาชนเข้าถึงแพลตฟอร์มแล้วราว 20-30 ล้านคน
  4. บริษัท ที-เน็ต จำกัด ได้รับรางวัลประเภท Cybersecurity Award โดยที-เน็ต เป็นผู้นำในการให้บริการด้าน IT Security สัญชาติไทย มีทีมวิจัยและพัฒนาในเทคโนโลยีด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวแทนของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลในระดับอาเซียน และได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นทางด้านนวัตกรรมจากนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นบริษัทฯ ที่มีเครื่องหมายธรรมาภิบาล มีการเผยแพร่ความรู้ ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยให้แก่หน่วยงาน และแจ้งเตือนภัยทางด้านเทคโนโลยีแก่สาธารณะ อย่างสม่ำเสมอ มีผลงานเด่นคือ การเผยแพร่มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยฉบับภาษาไทย ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดทำมาตรฐาน ISO/IEC 27001 : 2013 ซึ่งเป็นมาตรฐานแฮกและเจาะระบบข้อมูล ปัจจุบันมียอดผู้ดาวน์โหลดไปใช้งาน 4,000 ครั้ง  พร้อมกันนี้ได้วิจัยและพัฒนา Drone Jammer   ซึ่งตรวจตราในพื้นที่เฝ้าระวัง   และ Drone Detector เพื่อตรวจตราว่ามีโดรนบินเข้ามาภายในรัศมี 1 กม.หรือไม่  ปัจจุบันได้พัฒนาโดรนขนส่งอัตโนมัติ ซึ่งใช้ระบบ GPS  และ Loading
  5. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลประเภท Environmental, Social & Governance Award การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้นำโซลูชันการจัดการสินทรัพย์ระดับองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า กฟผ. ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันได้ขยายการใช้โซลูชันการจัดการสินทรัพย์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ไปยังโรงไฟฟ้า และเขื่อนทุกแห่งแล้ว โดยเทคโนโลยี AI นี้ จะช่วยคาดการณ์พยากรณ์ด้านพลังงานให้มีความรวดเร็ว แม่นยำยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดอย่างราบรื่นตามนโยบาย Carbon Neutrality ของประเทศไทย ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ  ส่งผลดีต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
  6. บริษัท อีซีไรช์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด ได้รับรางวัลประเภท Start-Up Award เป็นบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลที่ให้บริการโซลู

ชัน AI สําหรับการตรวจสอบคุณภาพข้าวและพันธุ์ข้าว เพื่อลดการปลอมปน และแก้ปัญหา  Human Errorด้วยความมุ่งมั่นที่จะผลักดันเทคโนโลยีให้เป็นส่วนหนึ่งของการเกษตร โดยการนําปัญญาประดิษฐ์มาใช้ และนําแพลตฟอร์มดิจิทัลมาสู่อุตสาหกรรมการเกษตรไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าประสิทธิภาพ และยกระดับภาคส่วนนี้ให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล  และมุ่งหวังให้ AI โซลูชันเป็นตัวกลางระดับโลกในการซื้อขายสินค้าเกษตร ซึ่งจะมีความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยมีลูกค้าเป็นกลุ่มโรงสีและผู้ส่งออกในไทย  230 โรงงานและเวียดนาม 30 โรงงาน พร้อมตั้งเป้าขยายไปวิสาหกิจชุมชน 30 ชุมชน

สุภัค ลายเลิศ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย กล่าวว่า  เป็นเรื่องที่น่ายินดี และภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง  จากความสำเร็จขององค์กรไทยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเวที ASOCIO ที่สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพกับการบริหารองค์กรและการให้บริการลูกค้าจนเป็นที่ยอมรับ และได้รับรางวัลจากองค์กรระดับนานาชาติซึ่งรางวัลในครั้งนี้ถือเป็นแรงผลักดันให้องค์กรทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในประเทศไทย ได้มีการเติบโตในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำมาปรับใช้เพื่อพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save