ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยรายงานฉบับล่าสุดของไอดีซีได้คาดการณ์ว่า อีก 2 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทยจะเติบโตกว่า 61% ของ GDP ประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านดิจิทัลเพื่อใช้ดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ตัวเลขการใช้จ่ายด้านไอทีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 – 2565 อาจแตะ 72 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีแนวทางการทรานฟอร์มสู่ดิจิทัลที่ถูกทาง พร้อมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการริเริ่มโครงการ Thailand 4.0 ทำให้ประเทศไทยได้รับการยกย่องในฐานะประเทศที่มีความพร้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลชั้นนำของภูมิภาค
ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นก้าวสำคัญของหลายธุรกิจที่สามารถเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นเพื่อต่อยอดความสำเร็จ และไขข้อสงสัยแก่องค์กรที่กำลังเตรียมความพร้อมรับมือกับเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธภาพ วีเอ็มแวร์ขอเสนอ 8 เทรนด์เทคโนโลยีและแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ดำเนินธุรกิจในปีนี้ได้อย่างไม่สะดุด ดังนี้
1. ไฮบริดแอปกำลังมาแรง
ไฮบริดแอพคือการรวมไมโครเซอร์วิสจากผู้ให้บริการต่างๆ มาสร้างเป็นหนึ่งแอพพลิเคชันที่เหนือชั้นและบริการที่แตกต่างไปจากเดิม ช่วยยกระดับองค์กรให้สามารถนำเสนอบริการที่มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง
ลองคิดดูว่า หากเราสามารถใช้บริการข้อมูลจากผู้ให้บริการคลาวด์รายหนึ่ง และใช้ระบบ Machine Learning (ML) หรือระบบวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ให้บริการอีกรายหนึ่ง โดยทำงานบนแพลตฟอร์มเดียวกันได้ หรือ หากคุณมีพาร์ทเนอร์ที่สามารถทำงานร่วมกับข้อมูลที่คุณมีอยู่ได้ สำหรับองค์กรต่าง ๆ แล้ว การสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่ได้จำกัดอยู่ที่การนำเสนอบริการของผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวอีกต่อไป แพลตฟอร์มเช่นเดียวกับสิ่งที่เรานำเสนอที่วีเอ็มแวร์ สามารถรวมเอาบริการต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมาสร้างเป็นบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ครบวงจรขึ้นอีกด้วย
จากการพูดคุยกับผู้บริหารฝ่ายไอทีตลอดปีที่ผ่านมา พบว่า พวกเขาต้องการนำบริการคลาวด์เนทีฟกับโอเพ่นซอร์สมาสร้างเป็นหนึ่งแอปพลิชันที่ทั้งสองเทคโนโลยีสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว
2. โซลูชั่น At the Edge จะกลายเป็นจริง
องค์กรต่างๆ กำลังมองหาพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและผลักดันการลงทุนในเทคโนโลยีเอดจ์ และผมคาดการณ์ว่าเอดจ์โซลูชั่นแบบครบวงจรที่จะวางจำหน่ายในตลาดได้จะต้องมีความสามารถดังนี้:
• ลดหรือคงค่าใช้จ่ายสำหรับระบบประมวลผลเอดจ์คอมพิวติ้ง (Edge Computing)
• รวบรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเอดจ์โลเคชั่น (Edge Location) เข้าไว้ด้วยกัน
• ช่วยให้องค์กรสามารถนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับสถานที่ตั้งที่อยู่ไกลออกไปในรูปแบบของซอฟต์แวร์ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความคล่องตัวให้กับธุรกิจ
ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เครื่องเดียวสามารถเป็นได้ทั้ง SD WAN และเปิดให้รันแอพพลิเคชันแยกได้ ฮาร์ดแวร์ดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ด้วยการรวมโครงสร้างพื้นฐานไว้ในจุดเดียวและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับเครือข่ายไปในคราวเดียวกัน
3. ฮาร์ดแวร์พิเศษรองรับการใช้งานร่วมกัน
ในกรณีที่แอพพลิเคชันจำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์ชนิดพิเศษ เช่น FPGA หรือ GPU องค์กรก็มักจะต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์สำหรับใช้กับแอปพลิชันดังกล่าวโดยเฉพาะ แต่ในปีพ.ศ.2563 คาดว่า จะมีการออกแบบที่สำคัญก็คือ จะใช้วิธีการเชื่อมต่อระยะไกลไปยังฮาร์ดแวร์ชนิดพิเศษเหล่านี้ได้
หากคุณใช้โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวอร์จ (Hyperconverged) ร่วมกับโซลูชั่น เช่น Bitfusion ซึ่งช่วยให้คุณเชื่อมต่อแอพพลิเคชันเข้ากับ GPU หรือ FPGA ที่อยู่ไกลออกไปผ่านทางเครือข่ายอีเทอร์เน็ต(Ethernet) คุณก็จะสามารถใช้งานแบบโมดูลาร์ (Modular) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานไอที อันช่วยให้ลดความต้องการใช้เซิร์ฟเวอร์จำนวนเป็นร้อยเพื่อการตอบสนองความต้องการของแอพพลิเคชันจำนวนมากได้ และในอนาคต แอปพลิชันจะสามารถเชื่อมต่อระยะไกลเข้ากับฮาร์ดแวร์ชนิดพิเศษดังกล่าวในช่วงเวลาที่ต้องการใช้งาน
4. ก้าวแรกในการเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัยที่แท้จริง
ปัจจุบันมัลแวร์ได้รับการพัฒนาให้มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถต่อกรกับมัลแวร์ได้ ระบบความปลอดภัยขององค์กรจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้เร็วมากกว่าภัยคุกคามที่องค์กรต้องเผชิญ
ระบบรักษาความปลอดภัยควรออกแบบมาให้เป็นเนื้อเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานไอที ความท้าทายของการวางระบบปลอดภัยและกระบวนการรักษาความปลอดภัยคือเป็นระบบที่สำคัญมากการล่มหรือหยุดชะงักเพียงครั้งเดียวจะส่งผลไปทั่วทั้งองค์กร ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่บุคลากรด้านเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยมักหลีกเลี่ยงความเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ด้วยเหตุนี้ แทนที่องค์กรจะค่อย ๆ พัฒนาไปสู่โครงสร้างของระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริง (Intrinsic Security Model) โดยพัฒนาจาก Single Application หรือสร้างโครงการใหม่ขึ้น อันช่วยให้เราไปถึงจุดที่วางระบบเครือข่ายและนโยบายความปลอดภัย รวมไปถึงกฎเกณฑ์ของไฟร์วอลล์ให้ง่ายต่อการทำงานของแอปพลิเคชัน นั่นหมายถึงการวางกฎและนโยบายที่มีความยืดหยุ่นทั้งในช่วงเวลาที่เริ่มต้นใช้งานแอปพลิเคชันและสามารถหยุดได้เมื่อยกเลิกการใช้แอปพลิเคชันนั้นแล้ว
แนวทางการปกป้องแอปพลิชันและข้อมูลของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเป็นเรื่องยากที่จะค้นหาบุคลากรที่มีชุดทักษะเหล่านี้อย่างรอบด้าน ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดก็คือ เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ตัวอย่างเช่น คุณอาจเลือกโครงการ Kubernetes โครงการใหม่ และเริ่มต้นใช้โซลูชั่นเครือข่ายที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์และระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย วิธีนี้จะช่วยให้ทีมงานของคุณจะสามารถสร้างองค์ความรู้ภายในองค์กร และค่อยๆ ขยายแนวทางแบบใหม่นี้ให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรเมื่อเวลาผ่านไป
“เรากำลังพัฒนามาถึงจุดที่ระบบเครือข่ายและนโยบายความปลอดภัยพร้อมกับไฟร์วอลล์เป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่แอพพลิเคชันต้องมี” เอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์ กล่าว
5. ไอเดียสุดเจ๋งสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก
ผมเชื่อว่าเราจะเห็นรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างเช่น Raspberry Pi 4 ภายในองค์กร อุปกรณ์ดังกล่าวราคาไม่ถึง 100 เหรียญสหรัฐฯ แต่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและรองรับการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น การนำเอาระบบเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization) และเทคโนโลยีระดับองค์กรอื่นๆ มาใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและการแยกทำงานที่ส่วนเอดจ์ของเครือข่าย จะช่วยขยายโอกาสสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่แปลกใหม่ซึ่งคุณอาจคาดไม่ถึง
6. 99% ของเทคโนโลยีภายในองค์กรจะทำงานด้วย Machine Learning
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เทคโนโลยี Machine Learning (ML) จำเป็นต้องอาศัยความรู้มากมายเกี่ยวกับข้อมูล รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งอาจเกินความสามารถขององค์กรทั่วไปที่จะเข้าถึง ตัวอย่าง ธุรกิจขนาดเล็กย่อมจะไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการว่าจ้างทีมนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
แต่ในไม่ช้า เราจะเห็นบริการ ML แบบครบวงจรเพิ่มมากขึ้นจากผู้ให้บริการคลาวด์และคอมมูนิตี้โอเพ่นซอร์ส ซึ่งทำให้องค์กรขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถปรับใช้โมเดล ML โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญระดับสูง หากผู้ให้บริการสามารถผลักดันการใช้งาน ML อย่างกว้างขวางในกลุ่มองค์กรที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งฟันธงเลยว่า 99 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ใช้ ML จะสามารถก้าวเป็นผู้เล่นคนสำคัญของตลาดได้อย่างแน่นอน
7. รูปแบบของบริการคลาวด์จะหลากหลายขึ้น
ในบางกรณี การย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์สาธารณะนับเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ ดังนั้นทางที่ดีเราจึงควรย้ายบริการคลาวด์ไปไว้ในที่ที่มีข้อมูลอยู่มากกว่า
เราเริ่มพบเห็นบริการคลาวด์ที่ทำงานอย่างเป็นอิสระโดยแยกออกจากคลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์ เช่น การรัน Amazon Relational Database Service (RDS) ภายในองค์กร ผมคาดว่าเราจะเห็นกรณีตัวอย่างทำนองนี้เพิ่มมากขึ้นในช่วงปีพ.ศ.2563 และปีต่อๆ ไป และในท้ายที่สุดแล้ว สถานที่ตั้งทางกายภาพซึ่งใช้ในการรันบริการจะกลายเป็นรายละเอียดการติดตั้งที่ถูกกำหนดขึ้นตามความต้องการของธุรกิจและสอดคล้องกับนโยบายที่เกี่ยวข้อง
8. แพลตฟอร์มบริการที่ใช้ร่วมกัน
ในบางอุตสาหกรรม พาร์ทเนอร์มักจะต้องนำเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของตนเองมาติดตั้งใช้งานในสถานประกอบการ เช่น ในธุรกิจค้าปลีก พาร์ทเนอร์จะต้องนำเอาคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของตนเอง พร้อมด้วยโซลูชั่นซอฟต์แวร์ มาติดตั้งไว้ภายในร้าน และจากนั้นทีมงานฝ่ายไอทีก็จะเชื่อมต่อผ่านไฟร์วอลล์
รูปแบบธุรกิจดังกล่าวพาร์ทเนอร์จะต้องใช้อุปกรณ์ของตนเองก่อให้เกิดปัญหาสำคัญ เพราะจำกัดการสร้างสรรค์นวัตกรรมไว้เฉพาะในกลุ่มพาร์ทเนอร์ที่มีเงินทุนเพียงพอสำหรับการปรับใช้โซลูชั่น แต่ในอนาคต คาดว่าจะมีการเริ่มต้นใช้งานแพลตฟอร์มเพียงหนึ่งเดียวแต่สามารถรันบริการจากพาร์ทเนอร์หลายราย โดยมีการแยกส่วนออกจากกันโดยใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชวลไลเซชั่น
แพลตฟอร์มบริการที่ใช้งานร่วมกันและรองรับผู้เช่าหลายราย ซึ่งติดตั้งไว้ที่เอดจ์ จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะจะช่วยกระจายโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่องค์กรต่างๆ อย่างทั่วถึง ขณะเดียวกันองค์กรก็สามารถขยายความร่วมมือทางธุรกิจกับใครก็ตามที่มีไอเดียดีๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนมากสำหรับการติดตั้งโซลูชั่น
แพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรเปิดรับพาร์ทเนอร์รายใหม่ๆ และสร้างช่องทางรายได้ใหม่จากการให้เช่าระบบประมวลผลและการเข้าถึงข้อมูลที่ส่วนขอบของเครือข่าย จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ความสำเร็จขององค์กรในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ค้าปลีก และการผลิต
โดย เอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์