จากซ้าย เคนนี่ ชิง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ธุรกิจ Citizen Identity เว่ย จิน ลี ผู้อำนวยการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจ Secure Issuance และแพทริค ลี ผู้จัดการฝ่ายขาย ประจำภูมิภาค ธุรกิจ Extended Access Technologies บริษัท เอชไอดี ในงานประชุมระดับภูมิภาคเรื่องการเดินทางข้ามพรมแดนและการยืนยันตัวตน ครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่กรุงเทพ เมื่อเร็วๆ นี้
เอชไอดี ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการระบุตัวตน ชี้นานาประเทศเร่งลงทุนใหม่ระบบความปลอดภัยเดินทางข้ามแดน เพิ่มความสะดวกแก่ผู้เดินทาง และเสริมขั้นตอนคัดกรองสุขภาพที่จุดตรวจคนเข้าเมือง
เคนนี่ ชิง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ประจำภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก ธุรกิจ Citizen Identity บริษัท เอชไอดี กล่าวว่า เรื่องท้าทายในอนาคตสำหรับการจัดการการเดินทางข้ามพรมแดน และการยืนยันตัวตน คือ การตรวจตราจะไม่ได้ตรวจหาเฉพาะบุคคลที่มีความเสี่ยง แต่ต้องรวมเรื่องสุขภาพ และต้องตรวจสอบด้วยว่า เอกสารยืนยันตัวตนเป็นของบุคคลนั้นๆ จริงหรือไม่
“ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลสุขภาพเป็นเรื่องใหม่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้รับการฝึกอบรมมาก่อน จึงยังเป็นการพิจารณาหน้างานแบบแมนวล ในอนาคต การตรวจสอบข้อมูลสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้น เพราะรัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนข้อกำหนดในการเดินทางเข้าเมืองตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การตรวจสอบเอกสารก็จะเพิ่มมากขึ้นอีก การมีระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยจะประหยัดทั้งเวลา และกำลังคน” เคนนี่ ชิง กล่าว
ในอนาคต ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มในระบบยืนยันและตรวจสอบตัวตนที่พ่วงการตรวจสอบเรื่องสุขภาพเข้าไปด้วย ซึ่งบางประเทศได้มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีแล้ว เพื่อยกระดับระบบให้สามารถส่งผ่านข้อมูลข้ามประเทศได้ และตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้เดินทางข้ามพรมแดนเพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้น
แพทริค ลี ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาค ธุรกิจ Extended Access Technologies (EAT) บริษัท เอชไอดี กล่าวว่า ประเทศในทวีปเอเชียกินพื้นที่ 30% ของโลก แต่มีประชากรหนาแน่นประมาณ 60% ของประชากรโลก หรือเฉียด 5,000 ล้านคน ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวหลายแห่งรวมทั้งมีตลาดเกิดใหม่ด้วย ส่งผลให้มีการเดินทางเข้า-ออกมากขึ้น จึงเป็นความท้าทายด้านการคัดกรองและตรวจสอบยืนยันตัวตน ดังนั้น ความพร้อมของเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ตรวจสอบต้องรองรับได้
อย่างไรก็ตาม เอกสารการเดินทาง และระบบการตรวจสอบยืนยันตัวตนของแต่ละประเทศทั่วทั้งภูมิภาคและทั่วโลกซึ่งมีเชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่าง กฎเกณฑ์ต่างกัน จึงไม่มีมาตรฐานกลางสำหรับตรวจคนเข้าเมืองที่เหมือนกันทั้งโลก แต่ละประเทศใช้งานต่างกัน บางประเทศมีพาสปอร์ต บางประเทศเป็นอีพาสปอร์ต บางประเทศใช้การยืนยันตัวตนแบบไบโอเมทริกซ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ EAT ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คุณภาพสูง ตั้งแต่โซลูชันการจับภาพลายนิ้วมือและใบหน้าที่มีอัตราการจับคู่และความเร็วที่ดีที่สุด ไปจนถึงเครื่องสแกนเอกสารสำหรับการตรวจสอบและยืนยันตัวตน รวมถึงโซลูชัน Automatic Biometric Identification System/Automated Biometric Identification System (AFIS/ABIS) ซึ่งยืดหยุ่นและคล่องตัว เทคโนโลยีนี้ยังปรับให้เข้ากับความหลากหลายและตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศ ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐเข้าถึงความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เคนนี่ กล่าวว่า บริษัทฯ มีเทคโนโลยีการลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนแบบใช้เอกสาร การออกเอกสารยืนยันตัวตน และการตรวจสอบตัวตน ซึ่งระบุได้ว่าเอกสารยืนยันตัวตนดังกล่าวออกมาเพื่อใคร เป็นของจริงหรือไหม่ และยังมีโซลูชันที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองรับรู้ข้อมูลของผู้เดินทางที่มีความเสี่ยงก่อนที่จะเดินทางเข้ามา เพื่อประเมินความเสี่ยงและเตรียมการจัดการล่วงหน้าได้อย่างดีที่สุด เพื่อประสิทธิภาพและความรวดเร็ว เพราะผู้โดยสารที่ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ก็จะสามารถผ่านขั้นตอนนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ในอนาคต ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจะทำให้เราไม่ต้องถือพกพาเอกสารอีกต่อไป แต่จะใช้พาสปอร์ตและวีซ่าที่อยู่ในมือถือ ที่มีระบบป้องกัน และมีรหัสที่ไม่มีใครสามารถขโมยไป หรือปลอมแปลงได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ ยังใช้กับเอกสารอื่นๆ ได้ เช่น บัตรประชาชน
ด้านเว่ย จิน ลี ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจ Secure Issuance บริษัท เอชไอดี กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วระบบตรวจคนเข้าเมือง เช่นการออกเอกสาร การตรวจสอบการเดินทางเข้า-ออก การยืนยันตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ มักจะทำแยกส่วนกัน ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าวควรจะทำงานแบบเชื่อมต่อกันได้ การวางแผนและการวางระบบที่ดี จะทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น ทำให้เกิดประสิทธิภาพ และได้ประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ แนวโน้มดังกล่าวเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก จะทำให้มีระบบอื่นๆ เกิดขึ้นอีกในอนาคต
เว่ย จิน มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นผู้นำในการใช้ระบบตรวจคนเข้าเมืองที่ล้ำหน้าของภูมิภาค และจากการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) การท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคนี้