วว.ขับเคลื่อนโครงการครัวชุมชน มุ่งสร้างนวัตอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ บนแนวคิด “แชร์ ใช้ ทุกคนได้ประโยชน์”


วว.ขับเคลื่อนโครงการครัวชุมชน มุ่งสร้างนวัตอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ บนแนวคิด “แชร์ ใช้ ทุกคนได้ประโยชน์”

ปทุมธานี – 20 มีนาคม 2563 : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขับเคลื่อนโครงการครัวชุมชน “แชร์ ใช้ ทุกคนได้ประโยชน์” โดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชุมชน ผสมผสานองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งสร้างนวัตอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชน พุ่งเป้าสร้างงาน สร้างอาชีพที่มั่นคงยั่งยืน นำร่อง 4 จังหวัด ในภาคเหนือ ตะวันออก และใต้

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า วว. มีแนวคิดส่งเสริมและต้องการให้มีการช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อนในชุมชน โดยแบ่งปันอุปกรณ์ และความรู้ ด้วยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ชุมชนมี แล้วนำมาผสมผสานกับภูมิปัญญาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ วว. ได้สั่งสมองค์ความรู้วิจัยพัฒนาขึ้น มุ่งดำเนินงานเพื่อสร้าง “นวัตอัตลักษณ์” หรือความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในแต่ละชุมชน เพื่อนำไปสู่การค้าการขาย การสร้างอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดดำเนินงาน “แชร์ ใช้ ทุกคนได้ประโยชน์”

“โครงการครัวชุมชนในพื้นที่ หรือ ศูนย์ต้นแบบ Shared Production Services เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ตั้งในพื้นที่ภูมิภาค (Area-based) โดยมีเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีการเชื่อมโยงกิจกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆในระดับพื้นที่ เช่น จังหวัด องค์กร สมาคม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้โครงการครัวชุมชน ยังอาศัยการดำเนินงานร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน รวมทั้งประชาสังคมในชุมชนที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ 4 ประสาน (Quadruple Helix) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของชุมชน สังคมชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

โครงการครัวชุมชน

ดร.ชุติมา กล่าวว่า โครงการครัวชุมชนในพื้นที่มีจุดเด่น 3 ด้าน คือ 1.ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมยกระดับมาตรฐานการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล 2.สร้างอัตลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3.สร้างให้ชุมชนมีความยั่งยืนด้วยนวัตกรรม ปัจจุบันโครงการครัวชุมชมมีพื้นที่ดำเนินงาน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ และสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่วว. ได้นำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยมีพื้นที่พร้อมดำเนินการแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ (ครัวชุมชนแปรรูปเห็ด จังหวัดน่าน) และ ภาคใต้ (ครัวชุมชนแปรรูปมังคุด จังหวัดสงขลา) ทั้งนี้มีพื้นที่อยู่ในระหว่างดำเนินโครงการ 2 แห่ง ได้แก่ ภาคตะวันออก (ครัวชุมชนแปรรูปผลไม้และครัวชุมชนแปรรูปอาหารทะเล จังหวัดระยอง) และภาคใต้ (ครัวชุมชนแปรรูปสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)

สำหรับตัวอย่างผลงานที่เป็นรูปธรรมของ วว. ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ต่างๆ ในลักษณะ Shared Services อาทิ โครงการการแปรรูปผลไม้ท้องถิ่นและการปรับปรุงสถานการณ์ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดและเพื่อการยื่นขอ อย. ได้แก่ 1.การปรับปรุงสถานที่ผลิตสับปะรดกวน โรงงานแปรรูป ตำบลอ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมังคุดพร้อมดื่มและการปรับปรุงสถานที่ผลิต กลุ่มใต้ร่มบุญ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 3.การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำลองกองพร้อมดื่ม จังหวัดปัตตานี 4.การถ่ายทอดเทคโนโลยีน้ำกล้วยไข่พร้อมดื่ม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 5.การพัฒนาผลิตภัณฑ์หอยดองโสม จังหวัดระยอง เป็นต้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save