อว. สานต่อโครงการ สตาร์ทอัพ ไทยแลนด์ ลีก ประจำปี 2564 ภายใต้แนวคิด Mega-Hackathon ตั้งเป้าสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ 8,000 คน


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA สานต่อโครงการสตาร์ทอัพ ไทยแลนด์ ลีก ประจำปี 2564  ภายใต้แนวคิด “Mega-Hackathon” เพื่อสร้างสตาร์ทอัพที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาให้เข้ามาช่วยคิด ช่วยทำ ขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกัน ตั้งเป้าสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ในปีพ.ศ.2564 ประมาณ 8,000 คน และมีไอเดียธุรกิจและแผนพัฒนาธุรกิจเกิดขึ้นจริงมากกว่า 400 ไอเดีย

ศ. ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา อว. ได้ให้ความสำคัญกับโครงการ “เมกกะแฮกกาธอน” (Mega-Hackathon) และ โครงการ “มองอนาคต” (Forsight) ซึ่งหวังให้มีการดำเนินการอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี  โดยมีแผนสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ก้าวทันโลก ทันเทคโนโลยีให้กับประเทศ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันคิดช่วยกันหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสำหรับใช้ป้องกันและขับเคลื่อนประเทศ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชน ได้ร่วมกันระดมความคิดจากห้องเรียนและองค์ความรู้ที่คิดขึ้นใหม่ๆจากประสบการณ์ร่วมทำงาน จากการบ่มเพาะจากผู้เชี่ยวชาญในโครงการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ได้จริง และสร้างนวัตกรรมอย่างมีทิศทาง สอดคล้องกับแนวโน้มโลกผ่านโครงการสตาร์ทอัพ ไทยแลนด์ ลีก ประจำปี 2564  จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Mega-Hackathon” ซึ่งอว.โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ร่วมกับ 40 มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ จัดกิจกรรมอบรมบ่มเพาะ Coaching Camp และประกวดแข่งขัน Pitching ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน พ.ศ.2564

สำหรับรูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการนี้ ครอบคลุม 9 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 1.ด้านเกษตรและอาหาร 2.ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 3.ด้านการเงินและการธนาคาร  4.ด้านอุตสาหกรรม 5.ด้านการท่องเที่ยว  6.ด้านไลฟ์สไตล์  7.ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 8.ด้านภาครัฐ/การศึกษา และ 9.ด้านอสังหาริมทรัพย์  ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาทั้งจาก อว. นักเรียนนักศึกษาและจากพันธมิตรเข้ามาร่วมทำงานให้เกิดผลการดำเนินงานตามเป้าประสงค์หวังตั้งสร้างสตาร์ทอัพที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาให้เข้ามาช่วยคิด ช่วยทำ ขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกันไม่น้อยกว่า 8,000 คน เกิดไอเดียธุรกิจและการพัฒนาแผนงานธุรกิจ มากกว่า 400 ไอเดีย และสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นในอนาคต โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทางรัฐบาลตั้งเป้าให้ประเทศไทยขับเคลื่อนสู่ระดับสากล ที่สำคัญ นิสิตนักศึกษาจะได้เม็ดเงินจากการคิดไอเดียนี้ในขณะที่กำลังเรียนหนังสือ และเมื่อจบออกมาจะได้ประกอบธุรกิจของตนเองต่อไป

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA ได้รับมอบหมายจาก อว. ให้เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนระบบนิเวศสตาร์ทอัพของไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559  เพื่อพัฒนาผู้นำนวัตกรรมรุ่นใหม่ ผ่านแพลตฟอร์ม STEAM4Innovator ภายใต้สถาบันวิชาการนวัตกรรม หรือ NIA Academy  ตลอด ระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ รวม 60,800 คน ผ่านการอบรมในกิจกรรม Coaching Camp รวมทั้งมีการประกวดแข่งขันไอเดียแผนงานธุรกิจสตาร์ทอัพของนิสิต นักศึกษา รวม 2,740 ทีม (ไอเดีย) และจัดกิจกรรม Hackathon ที่รวมยอดนักคิด นักพัฒนานวัตกรรมเพื่อเฟ้นหาแนวคิดหรือนวัตกรรมที่นำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้จริงที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในงานสตาร์ทอัพ ไทยแลนด์และแข่งขันในหัวข้อเฉพาะต่าง ๆ ตลอดมา

สำหรับโครงการสตาร์ทอัพ ไทยแลนด์ ลีก ประจำปีพ.ศ. 2564  จัดขึ้นภายใต้แนวคิดเมกกะแฮกกาธอน เพื่อตอบโจทย์ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สอดรับนโยบาย “โครงการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ของ รมว.อว. โดยร่วมกับ 40 มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ จัดกิจกรรมอบรมบ่มเพาะ Coaching Camp และกิจกรรมประกวดแข่งขัน Pitching STARTUP THAILAND LEAGUE ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนนี้

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมจัดแสดงผลงานต้นแบบ จาก “IDEA สู่ Prototype” ของนิสิต นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกและสนับสนุนงบประมาณ  ถือเป็นโอกาสสำคัญในการนำเสนอและแสดงผลงานต่อกลุ่มนักลงทุน และผู้ที่สนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพ ในช่วงเดือนสิงหาคมอีกด้วย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save