หอการค้าไทย-จีนเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยQ4 ปรับดีขึ้น แต่ยังคงระวัง5ปัจจัยหลักฉุดการเติบโต


หอการค้าไทย-จีนเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยQ4 ปรับดีขึ้น  แต่ยังคงระวัง5ปัจจัยหลักฉุดการเติบโต

ผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าไทยจีน มองเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2565 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี2565 ส่วนใหญ่มองว่าปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะจากการขับเคลื่อนของธุรกิจท่องเที่ยว ออนไลน์ สินค้าเกษตรแปรรูป บริการสุขภาพ  อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคใหญ่ในเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอย เงินเฟ้อ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ หนี้ครัวเรือนที่สูง รวมถึงความขัดแย้งของมหาอำนาจ  ชี้จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกของไทยที่พึ่งพาได้ โดยเฉพาะสินค้าการเกษตร มีโฺอกาสไปได้ดี เนื่องจากค่าระวางเรือมีแนวโน้มลดลง และมีความต้องการบริโภคอาหารในจีน

ณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน

ณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทยจีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทย-จีน และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 จากความเห็นของคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร กรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทยจีนรวม 305 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นเจ้าของธุรกิจเมื่อวันที่ 16-18 สิงหาคม ที่ผ่านมาพบว่า ไตรมาส 4 ปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 พบว่า 40.3% คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ขณะที่ 30.8% คาดว่า จะเติบโตแบบคงที่และ 26.2% จะชะลอตัวลง

” ธุรกิจที่ยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ได้คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว ออนไลน์ บริการสุขภาพ พืชผลการเกษตร โลจิสติกส์และสินค้าเกษตรแปรรูป และส่วนของธุรกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว พืชผลการเกษตร พลังงานและสาธารณูปโภค อสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมการผลิต  ในส่วนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยที่จะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หากได้รับการแก้ไขอุปสรรคอย่างรวดเร็ว” ณรงค์ศักดิ์ กล่าว

สำหรับความมั่นใจต่อข่าวที่สื่อต่างๆนำเสนอว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำและในปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 3.3% ซึ่งความเห็นส่วนใหญ่ 56.7% มองว่าเป็นไปได้น้อย ขณะที่ 39.7% มองว่ามีความเป็นไปได้มาก และที่เหลือมองว่าเป็นไปไม่ได้ โดยเห็นว่าอุปสรรคสำคัญคือ การถดถอยเศรษฐกิจโลก แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ เสถียรภาพการเมืองในประเทศ หนี้ครัวเรือนที่สูง

ณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจโลกก่อนสิ้นปี 2565 พบว่า 33.1% คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยเล็กน้อยจากปัจจุบัน 25.2 % คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยอย่างมาก และ 12.5% คิดว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะวิกฤต ในขณะที 19.8% เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว ขณะที่ปัจจัยทางด้านการเงิน 65.4 % คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยน่าจะมีการปรับขึ้นอีกก่อนสิ้นปี 2565 และจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างไม่ราบรื่น

สำหรับความกังวลต่อความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากผลสำรวจ 41.6 % คิดว่ามีผลต่อเศรษฐกิจไทย20.7% และ 9.2% มีความเห็นว่ามีผลกระทบมากถึงมากที่สุด และส่วนที่เหลือไม่มีความกังวลเพราะเป็นเรื่องปกติที่ชาติมหาอำนาจขัดแย้งกัน อีกทั้งบางส่วนเห็นโอกาสเนื่องจากไทยไม่อยู่ในความขัดแย้งใดๆ

หอการค้าไทย-จีนเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยQ4 ปรับดีขึ้น  แต่ยังคงระวัง5ปัจจัยหลักฉุดการเติบโต

เมื่อพิจารณาถึงโอกาสในการส่งออกไปจีนในสถานการณ์ปัจจุบัน 54.4% ยังคงมีความมั่นใจ และ31.5% มีความมั่นใจมากที่สุดว่าจีนยังเป็นตลาดส่งออกที่ไทยพึ่งพาได้ ส่วนด้านการท่องเที่ยวจากจีนพบว่า 80.3% คิดว่านักท่องเที่ยวจีนจะลดลงจากที่คาดหวังไว้ล่วงหน้า ด้วยสถานการณ์ของประเทศจีนเอง อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงประมาณกลางเดือนกันยายนนี้ จีนน่าจะผ่อนคลายและเพิ่มจำนวนเที่ยวบินจากเดิมเดือนละ 10 เที่ยว เป็น 20-30 เที่ยวต่อเดือน

อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและไทย จากการสำรวจพบว่า40.7% คาดว่าเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนโดยรวมของจีนในไตรมาสที่ 4 จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ขณะที่ 25.2% คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตแบบคงที่ และ 31.5% มีความเห็นว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตช้าลง ซึ่งผลการประเมินดังกล่าวได้สะท้อนถึงการคาดคะเนการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 พบว่า 43.6% คาดว่าการส่งออกของไทยไปยังจีนจะเพิ่มขึ้น

ส่วนด้านการลงทุนของจีนในไทยพบว่า 42% ของผู้ให้ข้อมูลคิดว่าการลงทุนจากจีนในไทยในไตรมาสที่ 4 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 จะเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 30.8% คาดว่าการลงทุนจะไม่เปลี่ยนแปลง ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในเดือนมกราคม-มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่าการลงทุนจีนในไทย อยู่ในอันดับ 3 คิดเป็น 17%  รองจากไต้หวันที่มีการลงทุนในไทยสูงสุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วน 29% ตามด้วยญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วน 29%   โดยมีโครงการของจีนที่ผ่านการอนุมัติจาก  BOI  จำนวน 48 โครงการ  ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมีโครงการในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  คิดเป็นมูลค่า 24,620 ล้านบาท

ณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า  ส่วนการคาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ยังไม่ได้รับข้อสรุปที่ชัดเจนเนื่องจากผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ส่วนแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาส 4 นั้น เสียงส่วนใหญ่ 34.4 % คาดว่าเงินบาทจะมีค่าแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และ36.1% คิดว่าถ้าเงินบาทจะทรงตัวในช่วง 35.59 ถึง 36.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

“ทั้งนี้ต้องดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจจีน รวมทั้งความขัดแย้งของมหาอำนาจและเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ซึ่งหอการค้าไทย-จีนยังมองการเมืองไทยในแง่บวก โดยคาดหวังว่าให้งาน APEC 2022 Thailandที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้  ซึ่งเหลือเวลาไม่ถึง 2 เดือน ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เพราะจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ” ณรงค์ศักดิ์ กล่าวสรุปทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save