สปสช. จับมือ สวทช. ศึกษา วิจัยพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรมให้บริการด้านสุขภาพของภาครัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อดำเนินการศึกษา การวิจัยพัฒนา และการประยุกต์ใช้นวัตกรรม เพื่อการให้บริการด้านสุขภาพของภาครัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยความร่วมมือนี้ เบื้องต้นดำเนินการร่วมกันใน 5 ประเด็นภายในระยะเวลา 2 ปี ประกอบด้วย 1.การส่งข้อมูลสำหรับเบิกจ่ายอิเล็กทรอนิกส์ 2.การรับเรื่องร้องเรียนระดับเขต และระดับจังหวัด และจับคู่ความต้องการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาล 3.การให้ปรึกษาด้านการออกแบบคลาวด์ 4.การใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมากและปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้ง Dashboard สำหรับการบริหารจัดการ และ 5.การพัฒนา Roadmap สำหรับการวิจัยพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์และอวัยวะเทียมในรายการสิทธิ

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช. ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง 30 บาท ซึ่งการลงนามความร่วมมือกับสวทช. ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพ มีข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์การให้บริการในการดำเนินงานของ สปสช. เกิดประโยชน์กับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประชาชนผู้ใช้สิทธิบัตรทองทั่วประเทศ เนื่องจาก สวทช. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและมีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีบุคลากรองค์ความรู้ สามารถประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีก่อให้เกิดประโยชน์ใน 5 ประเด็นในการทำงานร่วมกันใน 2 ปีที่ได้กำหนดกรอบความร่วมมือร่วมกัน ประกอบด้วย 1.การส่งข้อมูลสำหรับเบิกจ่ายอิเล็กทรอนิกส์ 2.การรับเรื่องร้องเรียนระดับเขต และระดับจังหวัด และจับคู่ความต้องการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไป ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและของเอกชน รวมทั้งหน่วยบริการด้านสาธารณสุขปฐมภูมิ 3.การให้ปรึกษาด้านการออกแบบคลาวน์ที่ทันสมัยขึ้นภายใต้มาตรฐานที่มีความปลอดภัยสูง ข้อมูลของประชาชนไม่รั่วไหล มีระบบการยืนยันตัวตนและพิสูจน์ตัวจน 4.การใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมากและปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้ง Dashboard สำหรับการบริหารจัดการ และ 5.การพัฒนา Roadmap สำหรับการวิจัยพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์และอวัยวะเทียมในรายการสิทธิ

“การบริการใน 5 ประเด็นที่ทำงานร่วมกันนี้จะนำมาให้บริการประชาชนฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึง มีความสะดวก รวดเร็วและมีช่องทางร้องเรียนในการบริการเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าของ สปสช. อย่างมีประสิทธิภาพ”  นพ.จเด็จ กล่าว

.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า สวทช. พร้อมนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) และบุคลากรทำงานร่วมกับ สปสช เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่ให้ประชาชนเข้าถึง ใช้งานสะดวก รวดเร็วและมีความปลอดภัย ซึ่งที่ผ่านมา สวทช. ได้นำผลงานวิจัยและพัฒนามาสนับสนุนการทำงานของ สปสช. ได้แก่ แอปพลิเคชัน ทราฟฟี่ฟองดูว์ (Traffy Fondue) : Dashboard สปสช. เพิ่มช่องทางรับข้อเสนอแนะสิทธิบัตรทอง ในการรับแจ้งเรื่องร้องเรียนและปัญหาการใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ระหว่าง สปสช. กับประชาชนให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเรื่องที่ร้องเรียน 766 เรื่อง แบ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิบัตรทอง 470 เรื่อง (61.36%) ซึ่งดำเนินการแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว 463 เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการ 7 เรื่อง ไม่เกี่ยวข้องและส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 296 เรื่อง (38.64%) เช่น แจ้งเรื่องฝุ่น จราจร และคนทิ้งขยะ เป็นต้น และในปัจจุบัน สปสช. กำลัง เปิดให้ ไลน์ทราฟฟี่ ฟองดูว์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางใหม่ที่เพิ่มความสะดวกให้ประชาชนในการให้ความคิดเห็นต่อ “กองทุนบัตรทอง” ปี พ.ศ. 2566 อีกด้วย เพื่อให้ผู้บริหารได้ติดตามการแก้ปัญหาการให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเชิงพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ มีข้อมูลเมืองเชิงพื้นที่ เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ บริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นระบบ ตรวจสอบได้ทุกที่ทุกเวลา ที่สำคัญมีการเก็บสถิติเชิงลึกเพื่อนำไปใช้บริหารจัดการการอย่างเป็นระบบก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้ออย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ สวทช. ยังได้ร่วมกับ สปสช. ในการขยายการทำงานร่วมกันจากแพลตฟอร์ม A-MED Telehealth ไปสู่การออกแบบและพัฒนาระบบ e-Claim Gateway ร่วมกัน ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญภายใต้ความร่วมมือนี้ โดยมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ความรวดเร็ว และความถูกต้องในการเบิกเคลมของโรงพยาบาลกับ สปสช.

.ดร.ชูกิจ กล่าวว่า ในส่วนของการต่อยอดแพลตฟอร์ม A-MED Telehealth ไปสู่ A-MED Care ระบบบริการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยทั่วไป (Common Illnesses) ใน 16 อาการ สำหรับผู้ถือสิทธิบัตรทอง สามารถขอรับยาได้ทันที ปัจจุบันให้บริการมากกว่า 900 ร้านยาคุณภาพ ให้บริการสะสมแล้วมากกว่า 1 แสนครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2566 ตั้งเป้าหมายขยายผลการให้บริการครอบคลุมร้านยาคุณภาพ 1,500 ร้านยา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือนี้จะช่วยให้ประชาชนได้รับการให้บริการด้านสุขภาพจากทาง สปสช. รวดเร็ว ไม่ติดขัดด้านการรับการบริการ รวมทั้งหากมีข้อเสนอแนะจากประชาชนที่มารับการบริการ ทาง สปสช.จะได้นำไปพัฒนาระบบการให้บริการและสิทธิการรับบริการของประชาชนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save