วว. ได้รับการรับรองเป็นหน่วยทดสอบทางพิษวิทยาจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามหลักการ OECD GLP สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  เผยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. ได้รับการรับรองเป็นหน่วยทดสอบตามหลักการ  OECD  GLP  สำหรับการทดสอบทางพิษวิทยา จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเป็นหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการตามหลักห้องปฏิบัติการที่ดี (GLP) ในประเทศไทย ย้ำพร้อมให้บริการภาครัฐ/เอกชน  สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เสริมแกร่งเศรษฐกิจของประเทศ

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการ วว.  กล่าวว่า  มี วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Expert  Center of  Innoactive  Herbal  Products : InnoHerb) ได้รับการรับรองเป็นหน่วยทดสอบ ตามหลักการ OECD GLP (Organization for Economic Co-operation  and  Development   Good  Laboratory  Practices) สำหรับการทดสอบทางพิษวิทยา (Toxicity Testing) จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  โดย สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  เรียบร้อยแล้ว

ภายใต้กรอบการรับรองดังกล่าว  ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. พร้อมให้บริการทดสอบทางพิษวิทยา  อย่างครบวงจรในผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  Food  Additive,  Feed Additive  สารชีวภัณฑ์  และเครื่องมือแพทย์  โดยผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการของ วว. ผู้ประกอบการสามารถนำไปขึ้นทะเบียน อย. และส่งออกได้

“การที่ วว. ได้รับการรับรองเป็นหน่วยทดสอบฯ ดังกล่าว และด้วยศักยภาพของห้องปฏิบัติการที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ตามมาตรฐานสากล  จะช่วยให้ผู้ประกอบการที่มาขอรับบริการทดสอบสามารถขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น นับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค  สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการและเสริมแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม  การได้รับการรับรองมาตรฐานหน่วยทดสอบตามหลักการ OECD GLP จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ช่วยสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในประเทศ สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานการทดสอบเท่าเทียมต่างประเทศ และลดการกีดกันทางการค้า  อีกทั้งยังเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยจากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากลอีกด้วย” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ด้านนายแพทย์ศุภกิจ  ศิริลักษณ์   อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์   กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า  สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ในฐานะหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ รับผิดชอบกำกับดูแลการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการตามหลักปฏิบัติที่ดีของห้องปฏิบัติการ (Good Laboratory Practice : GLP) ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) หรือที่เรียกว่า OECD GLP เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่ทดสอบ ศึกษา พัฒนา ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ยา ยาปราบศัตรูพืช สารเคมี เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ให้มีการพัฒนาคุณภาพของการทดสอบที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในสากล เพื่อให้เหมาะสมทันกับสถานการณ์ของประเทศและของโลกในการปกป้องคุ้มครองสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภค

“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอแสดงความชื่นชมและยินดีอย่างยิ่ง ในโอกาสที่ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเป็นหน่วยทดสอบ (Test facility) ที่ดำเนินการสอดคล้องตามหลักการ OECD GLP ในด้านการทดสอบความเป็นพิษ (Toxicity study) ตามระบบของสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของประเทศที่มีห้องปฏิบัติการที่สามารถรองรับผู้ประกอบการภาคเอกชนที่จะผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆออกมา อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. พร้อมให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้านเภสัชวิทยาและพิษวิทยา โดยมีห้องปฏิบัติการที่ดำเนินงานวิจัยและทดสอบด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลองและในเซลล์เพาะเลี้ยง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ ดังนี้

  1. มาตรฐานคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบัน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  2. มาตรฐาน AAALAC International  แบบ Full Accreditation ประเทศสหรัฐอเมริกา
  3. มาตรฐานการทดสอบ ISO/IEC 17025 : 2017 ในขอบข่ายการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง

ล่าสุดได้การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการตามหลักการ OECD GLP จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564  โดยให้บริการทดสอบประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตามขอบข่าย ดังนี้  เภสัชภัณฑ์   ผลิตภัณฑ์ยาสำหรับสัตว์   วัตถุเจือปนอาหาร    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  สารปรุงแต่อาหาร   เครื่องมือแพทย์   ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และสารชีวภัณฑ์

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save