วว. จัดประชุม “บทบาทการดำเนินงานของสถาบันฯ ในอนาคต” ระดมความเห็นเครือข่ายพันธมิตรกำหนดแนวทางนำ วทน. ขับเคลื่อนประเทศ


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จัดการประชุมระดมความคิด “บทบาทการดำเนินงานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในอนาคต” เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของ วว. ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้สามารถนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ประธานกรรมการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ได้มอบหมายให้ วว. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัด เป็นหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อนสร้างมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ชุมชนและประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้วว. มีบทบาทสร้างเยาวชนนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีความรู้ด้านธุรกิจควบคู่กันไป เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการพัฒนา BCG มูลค่าสูง การส่งเสริม SMEs ภาคอุตสาหกรรม การวิจัยพัฒนาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมุ่งสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ วว. มีคณะกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (กวท.) เป็นผู้กำกับทิศทางการดำเนินงาน โดยมีนโยบายของ กวท. ในช่วงปี พ.ศ. 2567-2568 ดังนี้ 1.วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพของประเทศ 2.วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 3.เร่งการพัฒนาบริการวิเคราะห์ทดสอบมูลค่าสูงที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อลดการส่งวิเคราะห์ทดสอบต่างประเทศของผู้ประกอบการ SMEs และ 4.ขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ (Intelligence Organization) ที่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดและคุ้มค่า สามารถปรับตัวเพื่อสร้างความสามารถที่มีเอกลักษณ์ในการแข่งขันและสร้างคุณค่า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

 

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า วว. มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ผลงาน ตอบโจทย์ ช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศและประชาชนมากว่า 60 ปี ด้วยองค์ความรู้ วทน. ส่งเสริมการนำผลการวิจัยและพัฒนาไปใช้ในทางปฏิบัติให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน  สถาบันการศึกษา ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  ส่งผลให้ วว. เป็นองค์กรแกนหลักที่สร้าง Impact ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ในบริบทการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ  พัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการ OTOP  SMEs   วิสาหกิจชุมชน  และเกษตรกร  ผ่านการดำเนินโครงการสำคัญต่างๆ เช่น

  1. โครงการ Quick win : Up-Skill Re-Skill พัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของ อว.  ซึ่งสามารถเพิ่มพูนทักษะ ความรู้  ให้กับผู้ประกอบการ SMEs บุคลากรภาครัฐและเอกชนในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค กว่า 1,100 คน รองรับอุตสาหกรรมและธุรกิจพื้นที่ ในสาขาที่ประเทศต้องการ  เช่น  การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและพัฒนา  ระบบบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9001 และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001  มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร  การสื่อสารการตลาด และเทคโนโลยี  IoT  (Internet  of Things) สำหรับเกษตรกรรม  เป็นต้น

2.โครงการการประเมินและพัฒนาศักยภาพผลผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่นำร่องจังหวัดยากจน  โดยการสนับสนุนทุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มุ่งเน้นให้เกิดอาชีพ  สร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนจนเป้าหมาย ให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยี และขยายไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน เช่น การดำเนินงานใน  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้  “ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส”   โดยประสบผลสำเร็จในการพัฒนารูปแบบโมเดลแก้จน คือ สร้างธุรกิจใหม่  Up Skill  และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น  นอกจากนี้มี การประเมินและการพัฒนาศักยภาพผลผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่นำร่องจังหวัดยากจน  ได้แก่  แม่ฮ่องสอน ลำปาง กาฬสินธุ์ สกลนคร นครราชสีมา ร้อยเอ็ด มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร และศรีสะเกษ และ การส่งเสริมให้ความรู้การขยายเชื้อชีวภัณฑ์ในถังหมักและการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม ที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน  จังหวัดเชียงราย  เป็นต้น

3.โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ (Area based) ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่  โดยลงพื้นที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ในพืชเศรษฐกิจใหม่ คือ สมุนไพรและพืชอัตลักษณ์ในพื้นที่  ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ตัวอย่างความสำเร็จ เช่น  พื้นที่จังหวัดน่าน เพิ่มมูลค่าสมุนไพรและมะม่วงหิมพานต์ เกิดมูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 93.79% รายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 62.22%  มีการพัฒนาผลผลิตไม้ดอกไม้ประดับตามแนวทางมาลัยวิทยสถาน  ที่จังหวัดเลย  นนทบุรี  เชียงใหม่  ลำปาง และพื้นที่อื่นๆ  สามารถรวมกลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 124 ราย ในรูปแบบเครือข่ายคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 90 ล้านบาทต่อปี

4.โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม  มุ่งเน้นให้การทำเกษตรกรรมของจังหวัดได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีความเข้มแข็งและมั่นคงในอาชีพ  กระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเกษตรระดับชุมชนท้องถิ่น ในพื้นที่ 8 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ จันทบุรี ชุมพร ปทุมธานี พังงา เพชรบูรณ์ สกลนคร สมุทรสงคราม และอุดรธานี สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรได้มากกว่า 5,500 คน  สร้างนวัตกรรมเป็นผลิตภัณฑ์กว่า 30 นวัตกรรม ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มากกว่า 48 ล้านบาท

5.โครงการตาลเดี่ยวโมเดลจัดการขยะสู่พลังงานและสร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนของชุมชน  วว. และพันธมิตรต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง  จัดสร้าง “ต้นแบบศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย” ที่อำเภอบ้านฉาง  จังหวัดระยอง แก้ปัญหาพลาสติกใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลในหลุมฝังกลบ เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกว่า 1,000 ตันต่อปี  พร้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  2,400  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  สร้างมูลค่าเพิ่มต่อการจัดการขยะ ยกระดับคุณภาพของวัตถุดิบรอบสองตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

สำหรับปัจจัยที่ทำให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานของ วว.ประสบความสำเร็จ. ดร.ชุติมา กล่าวว่า วว.ได้ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ ในรูปแบบการพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ “วว. JUMP” ที่ให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองรับการให้บริการแบบ One Stop Service ออนไลน์ 24 ชั่วโมง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการได้อย่างทันท่วงที มุ่งบริการด้านการวิจัยและพัฒนาแก่ผู้ประกอบการ ทั้งในระดับ SMEs   ผู้ผลิตสินค้า OTOP  วิสาหกิจชุมชน  ตลอดจนเกษตรกร ที่มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องการเพิ่มมูลค่า หรือมีความต้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอนการดำเนินงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ การรับฟังแนวความคิดของผู้ประกอบการ การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและแก้ไขปัญหา การบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ  การขยายขนาดการผลิตจากห้องทดลองสู่ระดับการผลิตจริงและพัฒนาระบบบริหารจัดการการผลิตสินค้าพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งการส่งเสริมด้านการตลาดและเชื่อมโยงด้านการเงิน เป็นต้น

ส่วนการดำเนินงานในอนาคตของ วว. ยังคงมุ่งเน้นการดำเนินงานผลิตผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงต่ออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย  โดยเฉพาะการวิจัยที่มี Technology Roadmap ขององค์กรเป็นตัวนำและทำต่อเนื่อง เป็นผลงานสร้างนวัตกรรมพร้อมใช้ 60% และฐานองค์ความรู้ 40% โดยมีแนวทางที่ชัดเจนว่างานวิจัยของ วว. ต้องมีผู้นำไปใช้เกิดขึ้นให้ได้ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม และเป็น market driven มากขึ้น นอกจากนี้ วว. ให้ความสำคัญในการมุ่งเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จ ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs   OTOP และประชาชน อย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก พร้อมสร้างเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการ โดยอยู่บนฐานของทรัพยากรชีวภาพ จะเป็นกลไกสำคัญที่ วว. จะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย สร้างประโยชน์อย่างครบวงจร พัฒนาเทคโนโลยีที่สนองตามบริบทของผู้ใช้ประโยชน์ และสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและประชาชนเชิงพื้นที่รอบด้าน

                        สำหรับผลการประชุมระดมความคิดในครั้งนี้ วว. จะนำแนวคิด ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมทุกภาคส่วนไปปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมแล้วนำมาใช้ขับเคลื่อน การดำเนินงาน ของ วว.และเครือข่ายสร้างองค์ความรู้ ทำแนวนโยบายการดำเนินงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save