กระทรวง อว.ระดมหน่วยงานและสตาร์ทอัพพัฒนาระบบติดตาม และ AI รับมือโควิด –19 เผยหากเข้าสู่ระยะ 3 อาจเลื่อนเปิดเทอม


กระทรวง อว.ระดมหน่วยงานและสตาร์ทอัพพัฒนาระบบติดตาม และ AI รับมือโควิด –19 เผยหากเข้าสู่ระยะ 3 อาจเลื่อนเปิดเทอม

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ดึงสตาร์ทอัพร่วมถกรับมือสถานการณ์โควิด – 19 ในภาวะฉุนเฉินภายใน 2 สัปดาห์ ตั้งแต่พัฒนาระบบติดตาม ตรวจสอบคนเดินทางเข้าประเทศ คัดกรอง วินิจฉัยไปจนถึงแก้ปัญหาหน้ากากขาดแคลน เริ่มนำร่องในโรงพยาบาลสังกัด อว. เผยถ้าสถานการณ์ยืดเยื้ออาจเลื่อนเปิดเทอม ส่วนคนทำงานต้องทำงานที่บ้าน

กรุงเทพฯ : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ออกมาตรการรับมือสถานการณ์โควิด – 19 โดยได้มอบหมายให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เป็นหน่วยงานหลักในการจัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการรับมือสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน พร้อมเชิญกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพมาร่วมหารือ โดยได้ออกมาตรการดังนี้ 1.การพัฒนาระบบการติดตาม และการตรวจสอบผ่านแอพพลิเคชั่น 2.การใช้ระบบการแพทย์และสุขภาพทางไกล 3.การใช้ระบบแสดงตำแหน่งและจัดส่งสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ เพื่อให้ประชาชนทราบสถานที่จำหน่ายสินค้า และ 4.การร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อเพื่อปลดล็อคปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังเผยว่า หากประเทศไทยเข้าสู่ระยะ 3 หรือในกรณีที่สถานการณ์ที่ยืดเยื้อ อาจต้องเลื่อนเปิดภาคเรียน และต้องสนับสนุนให้คนทำงานจากที่บ้าน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด อว.รับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ในภาวะฉุกเฉิน โดยมอบให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เป็นแม่งานในการจัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการรับมือสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมเชิญกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพมาร่วมหารือด้วย โดยในที่ประชุมแบ่งการรับมือออกเป็น 2 สถานการณ์ คือ การรับมือในสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน และการรับมือที่จำเป็นแต่ไม่เร่งด่วนและยังได้แบ่งมาตรการออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่

  1. การพัฒนาระบบการติดตาม และการตรวจสอบ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการเร่งด่วน เพื่อติดตามคนที่เดินทางเข้าประเทศทั้งหมดตั้งแต่ผ่าน ตม. ด้วยการให้ผู้ที่เดินทางทั้งหมดติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพื่อให้สามารถทราบตำแหน่ง และรายงานผลแบบทันทีบนแผนที่ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จะสนับสนุนระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (mega data) ร่วมกับสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (TTSA) และกรมควบคุมโรค
  2. การใช้ระบบการแพทย์และสุขภาพทางไกล ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อช่วยในคัดกรอง วินิจฉัยเบื้องต้น และตอบคำถามผ่านทางระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และ ระบบตอบการสนทนาอัตโนมัติแก่ประชาชนในกรณีที่เกิดความกลัวและความกังวล ตลอดจนการดูแลตัวเองเบื้องต้น นอกจากนี้ ระบบการแพทย์และสุขภาพทางไกล อาจจะช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังในการลดการมาโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยตั้งเป้าหมายการลดการมา 20% โดยมอบให้สมาคม health tech startup ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบ
  3. ระบบแสดงตำแหน่งและจัดส่งสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นเร่งด่วน การพัฒนาแผนที่แสดงตำแหน่งที่จำหน่ายหน้ากากเพื่อให้ประชาชนทราบและสามารถซื้อได้ และแผนที่แสดงตำแหน่งของห้องน้ำที่มีความปลอดภัย รวมถึงวิธีการกระจายหน้ากากอนามัย และการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ มอบให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคม health tech startup รับผิดชอบ
  4. การบริหารจัดการด้านวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ และการกระจายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้านการผลิต เช่น หน้ากาก แอลกอฮอล์ เจล ชุดตรวจ โดยการจัดหาวิธีเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการควบคุมโรค ด้วยการสรรหาความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI กรมสรรพสามิต และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อปลดล็อคหรือแก้ปัญหาของอุตสาหกรรม ซึ่งมาตรการนี้ได้มอบให้ สวทช. และ สภาอุตสาหกรรมกลุ่มผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบ

“ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายใน 2 สัปดาห์จากนี้ เนื่องจากบางระบบเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ได้ทันที ซึ่งในแต่ละกลุ่มย่อยจะมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแล หารือ ประสานงานและติดตามงานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยจะนำร่องใช้ประโยชน์ผ่านเครือข่ายย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี สวนดอก และโรงพยาบาลภายใต้สังกัด อว. ก่อนขยายต่อไปยังเครือข่ายอื่นทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียน และวัยทำงาน เพราะหากประเทศไทยเข้าสู่ระยะ 3 หรือในสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ อาจส่งผลให้ต้องเลื่อนการเปิดเทอมของนักเรียน หรือต้องสนับสนุนให้การทำงานจากที่บ้านในกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาด้านระบบการศึกษา เป็นอีกสิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญ และเริ่มมองหาลู่ทางที่ตอบโจทย์ในอนาคต” ดร.สุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save