การระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงปีแรก ส่งผลให้หลายบริษัททะยานสู่การใช้งานระบบคลาวด์ เพื่อเป็นช่องทางที่จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปต่อได้อย่างราบรื่นและมั่นคง เพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น ทีมไอทีของบริษัทต่าง ๆ ได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับการทำงานทางไกล ผ่านการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในระบบการจัดซื้อ การขาย การบริการ และอื่น ๆ
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าสถิติการใช้จ่ายของการทำงานบนระบบคลาวน์สาธารณะของประเทศไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 17.7% เป็น 18.3 พันล้านบาทในปีพ.ศ. 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 25.2% เป็น 22.9 พันล้านบาทในปีนี้[1]
เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ยังอยู่ในภาวะเปราะบาง ดังนั้นธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องดำเนินการทางการเงินอย่างรอบคอบ ในขณะที่ระบบคลาวด์เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อปัญหาและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม การนำระบบคลาวด์มาใช้ก็อาจทำให้บริษัทเผชิญปัญหาที่เราไม่รู้หรือไม่สามารถควบคุมได้ในระยะยาว
ตอนนี้ ถึงเวลาแล้วที่บริษัทต่าง ๆ ควรลองทบทวนการตัดสินใจในอดีต และพิจารณาว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการนำระบบคลาวด์ไปใช้ในจุดใดได้บ้าง ที่จะเป็นการไม่ลดทอนการพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
ใช้งานระบบคลาวด์มากเกินความจำเป็น
การใช้งานระบบคลาวด์ภายในบริษัทสามารถเปรียบได้กับรูปแบบการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งจะมีตัวให้บริการที่ทำงานเสมือนตัวจ่ายพลังงานออกไป บริษัทสามารถพึ่งพาผู้ให้บริการระบบคลาวด์ในการควบคุมดูแลศูนย์ให้ข้อมูลจากภายนอก ในขณะเดียวกันบริษัทก็ได้ประโยชน์จากความสามารถภายในของระบบคลาวด์ อาทิ ความพร้อมในการใช้งานที่มีในระดับสูง ขนาดพื้นที่ให้บริการที่ยืดหยุ่น และโครงสร้างของระบบที่ปลอดภัย ทั้งนี้สามารถเปรียบได้กับความสะดวกในการเข้าถึงพลังงานไฟฟ้า โดยการทำงานของระบบคลาวด์นั้นถูกสร้างให้เหมาะสมกับการเข้าถึงทางไกลและดำเนินการตามรูปแบบการจ่ายที่ยืดหยุ่นตามการบริโภค แต่หากเผลอปล่อยทิ้งไว้อย่างสิ้นเปลืองโดยไม่ได้ใช้งานก็อาจส่งผลให้ต้องจ่ายบิลค่าไฟในราคาที่สูงเกินคาดคิดได้ ซึ่งการใช้งานระบบคลาวด์ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน
หลังจากริเริ่มการเปลี่ยนการดำเนินทุกอย่างให้อยู่ในระบบคลาวด์ บริษัทอาจกำลังเผชิญปัญหาด้านการควบคุมดูแลและการจัดการการใช้งานคลาวด์จากผู้ใช้งานที่หลากหลายและมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า การแผ่กิ่งก้านสาขาของคลาวด์ (Cloud Sprawl) หรือการแพร่กระจายการใช้งานคลาวด์อย่างไม่สามารถควบคุมได้ ปัญหานี้ทำให้สูญเสีย 30% ของพื้นที่คลาวด์ไปอย่างสิ้นเปลือง[2]
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการสิ้นเปลืองคลาวด์โดยเปล่าประโยชน์ อุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้จ่ายบนระบบคลาวด์ ที่จะช่วยให้เราเห็นข้อมูลพื้นที่การใช้งานของโครงสร้างไอทีแบบไฮบริดได้อย่างละเอียดและทันท่วงที จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการควบคุมและจัดการสถานการณ์ที่อาจเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายบนระบบคลาวด์
จาก ‘ยก-และ-ย้าย’ เป็น ‘ยก-และ-ยอมเปลี่ยน’
หลายบริษัทที่ยกระดับการใช้งานระบบคลาวด์ภายในองค์กรในระหว่างการปิดประเทศ มักจะใช้วิธี “ยก-และ-ย้าย (lift-and-shift)” หรือวิธีการที่ข้อมูลหรืองานต่าง ๆ ของบริษัทจะถูกคัดลอกไปวางบนระบบคลาวด์ทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการทำให้มั่นใจว่าบริการธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท ยังสามารถเปิดใช้เข้าถึงได้สำหรับพนักงานที่ต้องย้ายที่ทำงานกระทันหันหรือสำหรับผู้ใช้ภายนอกก็ตาม
เมื่อไม่นานมานี้ เน็ตแอพได้เข้าไปช่วยบริษัทการตลาดทางอีเมลต่างชาติบริษัทหนึ่ง ในการ ยก-และ-ย้าย ข้อมูลนับล้านไฟล์ไปสู่ระบบคลาวด์ เพื่อให้บริษัทสามารถขยายขนาดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย ได้ใช้บริการของเน็ตแอพในการจัดการข้อมูลที่กำลังถูกย้ายไปบนแพลตฟอร์มคลาวด์ของ Amazon Web Services (AWS) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการรวบรวมข้อมูลให้แก่เหล่านักเรียนและผู้ค้นคว้าวิจัย ในขณะเดียวกัน ยังช่วยให้มหาวิทยาลัยโมนาชสามารถลดค่าใช้จ่ายเงินทุนและปรับขนาดพื้นที่ความจุบนคลาวด์ให้มากขึ้นหรือน้อยลงได้ตามต้องการ
ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อาจกระตุ้นให้ธุรกิจต่าง ๆ ทำการยกย้ายข้อมูลไปบนระบบคลาวด์ได้อย่างไม่ยากนัก แต่ในความจริงแล้วไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด จริงอยู่ ที่ในทางเทคนิคแล้วเราสามารถทำงานหรือธุรกิจต่าง ๆ ได้บนคลาวด์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การทำงาน และแอปพลิเคชันที่ใช้ภายในองค์กร ในสถานะและรูปแบบอย่างในปัจจุบันจะได้รับการปรับให้เหมาะสมกับการทำงานบนคลาวด์เสมอไป บริษัทต่าง ๆ อาจต้องเผชิญปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของเครื่องมือ เช่น รหัสเดิมบนแอปพลิเคชันถูกใช้งานบนซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัยไปแล้ว เป็นต้น อีกทั้งค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ อาจเกิดจากการถ่ายโอนข้อมูลผ่านสถานที่ต่าง ๆ ก็เป็นได้เช่นกัน
ดังนั้น บริษัทควรพิจารณาว่าแอปพลิเคชันอะไรบ้างที่ควรย้ายกลับเข้าไปใช้แค่ภายในองค์กร รวมถึงปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เข้ากันได้กับโครงสร้างระบบคลาวด์แบบใหม่ หรือ วางแผนออกแบบโครงสร้างและจำทำใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สามารถใช้งานบนระบบคลาวด์ได้ทุกสภาวะ
ความหวังที่ซ่อนอยู่ของการย้ายสู่ระบบคลาวด์
เนื่องจากหลายธุรกิจจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งหลังหมดโรคระบาด ดังนั้นการใช้จ่ายของการทำงานบนระบบคลาวด์ในประเทศไทย ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 22.9 พันล้านบาท[3] ในปีพ.ศ. 2564 นั้น บริษัทควรพิจารณาการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น ตอนนี้ยังไม่สายเกินไปหากจะลองเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อการย้ายสู่คลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หนึ่งในวิธีการคือการทำให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชันที่รองรับข้อมูลบริษัทจะหยุดชะงักบนระบบคลาวด์น้อยครั้งที่สุด และยังสอดคล้องกับงบประมาณด้านไอทีของบริษัทอีกด้วย
การเลือกพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับการทำงานบนระบบคลาวด์และข้อมูลที่ดีที่สุด และยังคงไว้ซึ่งคุณค่าที่คู่ควรนั้น เป็นกุญแจสำคัญสำหรับบริษัทที่ต้องการความยืดหยุ่น และพร้อมก้าวไปสู่ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
[1] https://www.bangkokpost.com/business/1958627/public-cloud-services-expenditure-expected-to-surge-17-7-
[2] Flexera. Cloud Computing Trends: 2021 State of the Cloud Report. March 2021.
[3] https://www.bangkokpost.com/business/1958627/public-cloud-services-expenditure-expected-to-surge-17-7-
โดย: วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย