มจธ.มอบรางวัล 12 นักวิจัยดาวรุ่ง ประจำปี 2562 – 2564


โฉมหน้านักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. รุ่นที่ 10  ประจำปี 2564
โฉมหน้านักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. รุ่นที่ 10 ประจำปี 2564

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดกิจกรรมมอบรางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 8-10 (ประจำปี 2562-2564) ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่รักงานวิจัย มีการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน หลังไม่ได้จัดมากว่า 3 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีผู้ที่ได้รับมอบรางวัลนักวิจัยดาวรุ่งทั้งสิ้น จำนวน 12 คน ประกอบด้วย นักวิจัยดาวรุ่งด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ จำนวน 9 คน นักวิจัยดาวรุ่งด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางเศรษฐกิจ จำนวน 2 คน และนักวิจัยดาวรุ่งด้านวิชาการ เน้นคุณค่าเชิงนโยบาย 1 คน ตามลำดับ โดยมี รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์  มจธ.

ศ.ดร.สำเริง จักรใจ ประธานคณะทำงานส่งเสริมชื่อเสียงด้านวิชาการ กล่าวว่า รางวัลนักวิจัยดาวรุ่งเป็นรางวัลแรกๆ ของมจธ.ที่คณะทำงานส่งเสริมชื่อเสียงด้านวิชาการได้ริเริ่มจัดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อมอบเป็นรางวัลให้กับอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการวิจัย เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่อาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ในการทุ่มเทเวลาและมีการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพออกมาอย่างเต็มที่ต่อเนื่อง  และอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คณาจารย์และบุคลากรอื่นๆ 

โดยรางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. มี 4 ประเภท ได้แก่  1.รางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ 2.รางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง เน้นคุณค่าทางด้านสังคมและชุมชน 3.รางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง เน้นคุณค่าทางเศรษฐกิจ และ4.รางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง เน้นคุณค่าเชิงนโยบาย ซึ่งปกติจะมีการจัดพิธีมอบรางวัลและเชิดชูเกียรติเป็นประจำทุกปี แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19 ที่ระบาดตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 เป็นต้นมา ทำให้ไม่มีการจัดงานดังกล่าว

นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 8 ประจำปี 2562
นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 8 ประจำปี 2562

สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. (ครั้งที่ 8 -10) ประจำปี 2562-2564 ทั้ง 12 คน แบ่งตามรุ่น ดังนี้ นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 8 ประจำปี 2562 มี 4 ท่าน ได้แก่ 1. รศ.ดร.ภวธน เขมะวิชานุรัตน์ จากภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ 2. ผศ.ดร.สมพิศ วันวงษ์จากสายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ 3. ดร.กานต์ธิดา กุศลมโน จากหลักสูตรชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ และ 4. ผศ.ดร.สุวลักษณ์ อัศวสันติ จากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีอาหารและวิศวกรรมอาหาร สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางเศรษฐกิจ

 

นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 9 ประจำปี 2563
นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 9 ประจำปี 2563

ส่วนนักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 9 ประจำปี 2563  มี 4 ท่าน ได้แก่  1. รศ.ดร.ภาติญา เขมาชีวะกุล จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่  2. ดร.พร้อมพงษ์ ปานดี จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ 3. ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ จากสถาบันการเรียนรู้ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ และ 4. ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ จันทร์ใหม่มูล สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าเชิงนโยบาย

 

นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 10 ประจำปี 2564  มี 4 ท่าน ได้แก่ 1. ผศ.ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่  2. ผศ.ดร.นฤมล ตันติพิษณุ จากกลุ่มวิจัยนิเวศวิทยาการอนุรักษ์ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ 3. ผศ.ดร.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง จากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางความรู้ใหม่ และ 4. ผศ.ดร.พร พันธุ์จงหาญ จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่าทางเศรษฐกิจ

 

สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับรางวัล ด้านตัวบุคคล คือ จะต้องเป็นอาจารย์ของ มจธ. มีอายุไม่เกิน 38 ปีบริบูรณ์ มีตำแหน่งวิชาการไม่เกินผู้ช่วยศาสตราจารย์ และไม่เคยได้รับรางวัลในระดับชาติหรือระดับนานาชาติจากองค์กรใดมาก่อน โดยผลงานที่จะได้รับการพิจารณาให้รับรางวัล จะต้องเป็นผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการ พิจารณาจากผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ จำนวนครั้งการอ้างอิง และการอ้างอิง ค่า H-Index ร่วมด้วย 

 

นอกจากนี้จะต้องเป็นผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรม โดยพิจารณาจากมีการประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น หรือมีหนังสือรับรองผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม หรือเป็นผลงานเชิงบริการวิชาการที่มีผลกระทบสูง และเป็นผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงนโยบายและทางสังคม รวมถึงงานสร้างสรรค์ทางวิชาการเชิงนโยบายและสังคมที่มีคุณภาพ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save