มจธ.จับมือมช. ร่วมคิดค้นการเรียนวิชาปฏิบัติการที่บ้าน (Lab at home) วิชาเคมีสำหรับนศ.รองรับ New Normal


ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ภายใต้โครงการทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือDPG 6080002 เพื่อพัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีแนวใหม่ (Modern Chemical Analysis) ในรูปแบบของการทำการทดลองที่บ้าน ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) อันเนื่องมากจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ภายใต้หัวข้อปฏิบัติการเรื่อง “การหาปริมาณเหล็กด้วยการวิเคราะห์ทางเคมีสะอาดแนวใหม่ โดยใช้รีเอเจนต์ธรรมชาติ และใช้โทรศัพท์มือถือ (Determination of iron by modern green chemical analysis employing a natural reagent and with a smartphone)” การทดลองนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา CHM 267 วิชาปฏิบัติการทางเคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry and Instrumental Analysis Laboratory 2) สำหรับนักศึกษาภาควิชาเคมีชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผศ. ดร. มนภัทร วงษ์บุตร หัวหน้าโครงการ และอาจารย์ประจำสาขาเคมีวิเคราะห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) ร่วมกับคณะทำงานได้แก่ ดร.กนกวรรณ คิวฝอ ปิยะณัฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา  ชนม์นิภา ยี่รัมย์  และกุลภณ เกสรกาญจน์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาปฏิบัติการทางเคมีวิเคราะห์ ซึ่งในเวลาปกตินักศึกษาจะต้องเดินทางมาเรียนวิชานี้ที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น เนื่องจากเป็นวิชาปฏิบัติการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ และมีผู้ควบคุม แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ทำให้การเรียนการสอนดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เพราะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ  ของนักศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเรียนวิชาปฏิบัติการที่บ้าน (Lab at home) เป็นทางออกเดียวที่จะทำให้การเรียนของนักศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในรายวิชานี้จำเป็นต้องใช้สารเคมีปริมาณค่อนข้างมาก อันตราย และต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ที่ต้องมีผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด ทำให้แนวคิดนี้เป็นไปได้ยากในช่วงแรก และรายวิชานี้ไม่เหมือนกับวิชาทฤษฎีที่นักศึกษาสามารถเรียนผ่านสื่อออนไลน์ หรือตามแพลตฟอร์มอื่นๆได้ง่าย

จากความร่วมมือของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ภายใต้โครงการทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (DPG 6080002) โดยมี ศ.เกียรติคุณ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาในโครงการนี้ เกิดเป็นแนวคิดการนำสารสกัดธรรมชาติจากใบฝรั่งมาใช้สำหรับการหาปริมาณเหล็ก และใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต สำหรับบันทึกผลการทดลอง  โดยการทดลองนี้ใช้สารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย เป็นสาร polyphenol ที่สกัดได้จากใบฝรั่ง ซึ่งจะทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กที่มีสี  จึงสามารถนำคุณสมบัติทางสีมาใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีได้

นอกจากนี้ยังใช้สารปริมาณน้อยมากๆในระดับไมโครสเกล ทำให้ปลอดภัยต่อนักศึกษาและคนรอบข้าง สามารถทำการทดลองได้ในที่พัก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลต่างๆที่นักศึกษาได้จากการปฏิบัติ การวิจารณ์ผลการทดลอง รวมไปถึงการสอบวัดผลหลังทำการทดลองจะดำเนินผ่านทางออนไลน์ทั้งหมด จึงเรียกได้ว่าเป็นวิชาปฏิบัติการที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) อย่างแท้จริง


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save