นูทานิคซ์เผยภาคการผลิตตบเท้าขึ้นเป็นผู้นำการปรับระบบ IT ให้ทันสมัย รับความท้าทายที่เกิดขึ้น


อุตสาหกรรมการผลิต เป็นภาคส่วนที่มีความซับซ้อน และมักเข้าใจกันว่าเป็นเพียงสายพานลำเลียงที่ไหลไปตามสายการผลิต และมีพนักงานทำงานอยู่ด้านหลังเครื่องจักรขนาดใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว ภาคการผลิตเป็นตัวกำหนดรูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาเป็นเวลานานแล้ว อย่างไรก็ตามระบบซัพพลายเชนต่าง ๆ ที่สนับสนุนการทำงานของภาคการผลิตกำลังถูกกดดันอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19 ปัจจุบันไอทีมีบทบาทสำคัญในการนำความทันสมัยมาสู่อุตสาหกรรมนี้ และช่วยให้ปรับตัวได้ทันความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

รายงานดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กรของนูทานิคซ์ ซึ่งทำการสำรวจบริษัททั่วโลกเป็นปีที่สาม (ECI Report) พบว่า สามในสี่ (75 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตกล่าวว่า COVID-19 ทำให้ไอทีได้รับการพิจารณาในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น และยังทำให้องค์กรเพิ่มการลงทุนกับระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว

สำหรับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ที่มีเป้าหมายภายในปีพ.ศ.2579 ให้ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ย
ไม่ต่ำกว่า 4.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี มีผลิตภาพการผลิตของปัจจัยการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และมีการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐและเอกชนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10 และ 7.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีตามลำดับ

 

COVID19  เร่งให้นำไฮบริดและมัลติคลาวด์มาใช้เร็วขึ้น

รายงาน ECI ระบุว่า 87% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในภาคการผลิตส่วนใหญ่เชื่อว่า โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดและมัลติคลาวด์เป็นรูปแบบการทำงานด้านไอทีที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้อุตสาหกรรมการผลิตเป็นภาคส่วนที่ใช้ไฮบริดคลาวด์มากกว่าอุตสาหกรรมอื่นในปัจจุบัน (ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์)

ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตยังได้รายงานว่ามีแผนเพิ่มการใช้งานไฮบริดคลาวด์ขึ้นอีกมากกว่าสองเท่าภายในสามปี และจะเพิ่มการใช้งานเป็นประมาณ 52 เปอร์เซ็นต์ภายในห้าปี การก้าวกระโดดสู่ความทันสมัยนี้จะพลิกโฉมแนวทางการทำงานแบบเดิม ๆ ของภาคการผลิต และเร่งการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้เร็วขึ้นในทุกบริบทของภาคอุตสาหกรรม แต่การเดินทางสู่ความสำเร็จนี้จะต้องใช้ความพยายามอย่างมากจากผู้นำด้านไอทีในอุตสาหกรรมนี้

เมื่อเกิดการระบาดของ COVID -19 ผู้นำในอุตสาหกรรมต่างมีภารกิจสำคัญในการพิจารณากระบวนการทางธุรกิจที่เป็นมาตรฐานต่าง ๆ เสียใหม่ โดยเฉพาะจะทำอย่างไรให้ปกป้องพนักงานจากโรคระบาดด้วยการต้องเว้นระห่างทางสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยังคงรักษาผลการปฏิบัติงานและผลผลิตไว้ให้ได้ด้วย

รายงาน ECI ทำให้เห็นได้ว่าผู้ผลิตต่างเชื่อมั่นว่า ไฮบริดและมัลติคลาวด์จะช่วยการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ได้ และผู้ตอบแบบสำรวจ กำลังใช้โมเดลนี้ด้วยเหตุผลเพื่อการตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจได้ดีขึ้น (62 เปอร์เซ็นต์) เพื่อสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรไอทีได้ดีขึ้น (60 เปอร์เซ็นต์) และเพื่อให้บริการต่อความจำเป็นต่าง ๆ ทางธุรกิจได้เร็วขึ้น (53 เปอร์เซ็นต์) เราอยู่ในยุคที่อุตสาหกรรรม 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่สี่กำลังดำเนินไป และการเปลี่ยนไปใช้ไฮบริดคลาวด์จะช่วยทำให้การทำงานหลังบ้านต่าง ๆ ในปัจจุบันเป็นอัตโนมัติ ทำให้ใช้ทรัพยากรไอทีต่าง ๆ น้อยลง และสามารถลงทุนในเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ทันสมัยอื่น ๆ ได้

โตโย ไซกัน (ประเทศไทย) เป็นบริษัทในเครือของบริษัท โตโย ไซกัน กรุ๊ป โฮลดิ้ง ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วไป, ขวด PET สำหรับเครื่องดื่ม, ออกแบบและดำเนินงานด้าน
บรรจุภัณฑ์ และให้การสนับสนุนด้านเทคนิค รวมถึงบริการด้านการจัดการแก่กลุ่มบริษัทต่าง ๆ โตโย ไซกันได้เลือกใช้คลาวด์แพลตฟอร์มของนูทานิคซ์ทดแทนโครงสร้างพื้นฐานเดิม เพื่อสนับสนุนการก้าวสู่การผลิตอัจฉริยะ โซลูชันของนูทานิคซ์ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลและแอปพลิเคชันจากระยะไกลได้จากทุกอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสำรองข้อมูล และคงความต่อเนื่องทางธุรกิจในช่วงของการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทั้งยังช่วยเสริมความปลอดภัย และมอบระบบบริหารจัดการแบบอัตโนมัติในภาพรวม โตโย ไซกัน (ประเทศไทย) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพไอทีได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถกู้คืนไฟล์ได้ในเวลาน้อยกว่า 10 นาทีจากเดิมใช้เวลาครึ่งชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารายปีลดลง 40 เปอร์เซ็นต์ และยังสามารถนำ IoT มาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

 

เร่งเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและเดินหน้าสู่ความสำเร็จ

แม้จะมีการเร่งผลักดันให้เปลี่ยนไปใช้สถาปัตยกรรมไฮบริดคลาวด์ แต่ธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตยังคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งไว้ ตัวเลขจากผลสำรวจ ECI ระบุว่า 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ผลิตทั่วโลกยังคงทำงานอยู่บนดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมที่ไม่ได้อยู่บนระบบคลาวด์

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการผลิตจะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าธุรกิจในภาคส่วนนี้จะปรับวิธีการผลิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การประกอบชิ้นส่วน และการให้บริการหรือส่งมอบผลิตภัณฑ์นั้นให้ถึงมือผู้บริโภค ไฮบริด มัลติคลาวด์มีฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าไปช่วยกระบวนการดำเนินงานทั้งหมดได้ ตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงระบบซัพพลายเชน การนำกระบวนการอัตโนมัติและเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น การนำหุ่นยนต์มาใช้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและเพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งเป็นการช่วยให้พนักงานมุ่งเน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพอื่น ๆ มากกว่าที่จะต้องมาคอยดูเรื่องปริมาณหรือจำนวนของที่ผลิตได้ การผลิตอัจฉริยะที่มีสถาปัตยกรรมดิจิทัลอยู่เบื้องหลังยังไม่สมบูรณ์แบบมากนัก เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่ใช้เพียงเครื่องมือในการผลิตที่เป็นดิจิทัลเท่านั้น ผู้ตอบแบบสำรวจจากอุตสาหกรรมนี้จะดำเนินการทุกอย่าง และขจัดการติดตั้งใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมออกไป เพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้ประสบความสำเร็จ โดยผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้ไฮบริดและมัลติคลาวด์มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ภายในห้าปีข้างหน้า

ข้อมูลจากโครงการศึกษาแนวทางการยกระดับผลิตภาพและสร้างมูลค่าของภาคเศรษฐกิจไทยด้วยหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล ระบุว่า เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล เป็นปัจจัยความสำเร็จหลักต่อการพัฒนา ทั้งนี้ข้อมูลจากการจัดลำดับปริมาณการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมของ International Federation of Robotic (IFR) สำหรับปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใหม่จำนวน 2,883 ยูนิต

นอกจากนี้สถาบันวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีผลการศึกษาการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิตจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,260
สถานประกอบการ โดย พบว่ามีผู้ประกอบการเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดและเชื่อมโยงการผลิตตลอดซัพพลายเชนผ่านระบบไอที ในขณะที่ 45 เปอร์เซ็นต์ มีการนำมาใช้บางจุดของกระบวนการผลิตแต่ยังไม่มีการเชื่อมต่อข้อมูล และ 31 เปอร์เซ็นต์ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาใช้ในการผลิต

การที่ธุรกิจในภาคการผลิตยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุถึงขีดความสามารถของอุตสาหกรรม 4.0 ธุรกิจต้องปรับปรุงระบบไอทีให้ทันสมัย ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และพลังงานที่จะใช้ในการ
อัปเกรดเครื่องมือทางกายภาพต่าง ๆ ของภาคการผลิต ปัจจุบันมีตัวอย่างหลากหลายที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไฮบริดและมัลติคลาวด์คือกลไกดิจิทัลที่ส่งเสริมให้ความพยายามนี้รุดหน้า

โดยทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save