นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงอาคารถล่มจากพายุฤดูร้อน


จากเหตุการณ์พายุพัดถล่มทำให้หลังคาโรงเอนกประสงค์ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร พังถล่มเมื่อเย็นวันที่ 22 พ.ค.2566 ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้น ศ.ดร.อมร พิมานมาศ ศาสตราจารย์

สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยได้วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการพังถล่มของอาคาร โดยแบ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแรงพายุ และความแข็งแรงของโครงสร้าง โดยสามารถสรุปได้ 5 ปัจจัย ดังนี้

  1. ความแรงของพายุฤดูร้อน สำหรับประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูจากฤดูร้อนไปสู่ฤดูฝน ประมาณช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม ของทุกปี จะได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนรุนแรงโดยเฉพาะจังหวัดทางภาคเหนือและภาคอีสาน เนื่องจากมีกระแสลมที่แปรปรวนเกิดขึ้น พายุฤดูร้อนมีความรุนแรงมากกว่าลมปกติทั่วไป 2-3 เท่า แม้จะเกิดในบริเวณแคบๆ ในระยะเวลาสั้น แต่ด้วยความแรงที่สูง ก็สามารถทำให้โครงสร้างพังถล่มได้ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตแล้วหลายครั้ง
  2. ลักษณะทางกายภาพของโครงสร้างที่มีพื้นที่ปะทะลมมาก เช่น โครงหลังคา หรือ ป้ายโฆษณา ซึ่งแรงลมที่ปะทะเข้ามาก็จะเพิ่มขึ้นตามพื้นที่รับลม ดังนั้นโครงสร้างหลังคาที่มีช่วงยาวมาก ก็ย่อมมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
  3. การออกแบบโครงสร้างไม่ได้คำนึงถึงพายุฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างที่ก่อสร้างมาก่อนปี 2550 ซึ่งมาตรฐานหรือกฎกระทรวงกำหนดที่กำหนดค่าแรงลมสำหรับการออกแบบโครงสร้างในสมัยก่อน ไม่ได้คำนึงถึงแรงลมจากพายุฤดูร้อน จึงทำให้ค่าแรงลมที่ใช้ในการออกแบบต่ำกว่าความเป็นจริง 2-3 เท่า
  4. การก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน สังเกตจากรูปอาคารที่ถล่มพบว่า เสาคอนกรีตหักโค่นลงมา แล้วทำให้หลังคาพังถล่มตามมา ซึ่งบ่งชี้ว่ากำลังรับน้ำหนักของเสาไม่เพียงพอ ประกอบการโครงหลังคาค่อนข้างสูง ความชะลูดของเสาทำให้กำลังรับน้ำหนักลดลงไปมาก ดังนั้นเมื่อมีแรงลมมาปะทะ ทำให้เสาเกิดการโย้ตัว และด้วยน้ำหนักที่มากของโครงหลังคาทำให้เสาหัก โครงหลังคาจึงตกลงมากระแทกพื้นดิน
  5. คุณภาพของวัสดุและการก่อสร้างอาจไม่ได้มาตรฐาน สังเกตได้จากคอนกรีตที่แตกหักเป็นชิ้นๆ แสดงว่าคอนกรีตที่ใช้อาจมีกำลังอัดที่ต่ำ ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้รับน้ำหนักไม่ได้เช่นกัน

ทั้ง 5 ปัจจัยนี้ เป็นเพียงการวิเคราะห์ในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าสาเหตุที่ทำให้โครงหลังคาถล่มอาจเกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกัน หรืออาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องรอผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์โดยละเอียด และต้องได้ข้อมูลจากสถานที่จริง แบบก่อสร้าง คุณภาพวัสดุ เศษซากปรักหักพังของคอนกรีตและเหล็กเสริม เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงต่อไป

ศ.ดร.อมร กล่าวต่อว่าพายุฤดูร้อนเป็นภัยร้ายแรงที่ประมาทไม่ได้ และยังมีความเสี่ยงในช่วงนี้อยู่มาก เพราะยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู คาดว่ายังมีอาคารอีกหลายหลังที่เข้าข่ายความเสี่ยงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่ใช้แบบมาตรฐานที่ก่อสร้างคล้ายๆกัน ตลอดจนยังมีโครงสร้างประเภทอื่นที่มีความเสี่ยง เช่น ป้ายโฆษณา เป็นต้น ซึ่งข้อแนะนำเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัย คือไม่ควรเข้าไปอยู่ในพื้นที่โครงหลังคาเมื่อเกิดพายุ แต่ควรหลบอยู่ในอาคารที่แข็งแรง เช่น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ภายหลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรเร่งตรวจสอบความแข็งแรงของโครงหลังคาที่ก่อสร้างไปแล้ว และต้องทำการเสริมกำลังให้กับโครงสร้างอาคารตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save