กรุงเทพฯ -23 มีนาคมพ.ศ. 2563 : คณะนักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งได้ติดตามปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 มาด้วยความเป็นห่วง มีความเห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยอาจเข้าสู่ขั้นวิกฤต เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วต่อไปอีก จนอาจจะเกินกว่าขีดที่ระบบสาธารณสุขของประเทศจะสามารถรองรับได้ซึ่งจะทาให้มีผู้เสียชีวิตจานวนหลายพันหรือมากกว่าในอีกไม่นานดังที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ
เพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยของประชาชนตลอดจนลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประชาชนจากภาวะการว่างงานที่เกิดขึ้น จากทั้งการแพร่ระบาดของโรคและมาตรการของรัฐเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาเช่นปัญหาความยากจนหรือปัญหาอาชญากรรมในวงกว้าง จึงเสนอขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายสูงสุดในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยจัดสรรทรัพยากรให้อย่างเพียงพอไม่ว่าจะเป็นการกลั่นกรองติดตามและคัดแยกผู้ติดเชื้อซึ่งกำลังกระจายตัวไปในวงกว้างทั่วประเทศและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงให้มียารักษาโรคและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเพียงพอตลอดจนให้เบี้ยเลี้ยงพิเศษและประกันชีวิตและประกันสุขภาพให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องโดยไม่ต้องห่วงฐานะการคลังและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้นเพราะสุขภาพของประชาชนย่อมมีความสำคัญกว่า
2. รัฐบาลควรมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยและตกงานอย่างไม่ตกหล่นและรวดเร็วพอที่จะสามารถแก้ความเดือนร้อนเฉพาะหน้าได้
ทั้งนี้กองทุนประกันสังคมจะขยายความคุ้มครองแก่ผู้ประกันตนในส่วนของการประกันการว่างงานให้ครอบคลุมถึงการเกิดโรคระบาดทั้งกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงานและกรณีภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราวมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่ตรงจุดในการช่วยเหลือคนว่างงานแต่ยังไม่ครอบคลุมแรงงานที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดเพราะมีแรงงานที่ยังไม่ได้เข้าสู่การประกันการว่างงานในระบบประกันสังคม (ซึ่งรวมถึงผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 และแรงงานที่มีรายได้รายวันอาทิคนขับแท็กซี่) ถึงร้อยละ 70 ของแรงงานทั้งหมด
ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเพิ่มการให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ยังไม่ได้เข้าสู่การประกันการว่างงานในระบบประกันสังคมตามขั้นตอนดังนี้
1) ให้ประชาชนไทยทุกครอบครัวอยู่ในข่ายเบื้องต้นที่จะได้รับการเงินช่วยเหลือตามจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเช่นสมาชิกในครัวเรือน1-2คนได้เงินช่วยเหลือ1,500บาทต่อเดือน, 3-4คนได้2,500บาทต่อเดือนจากนั้นให้เพิ่มอีกคนละ500บาทต่อสมาชิกแต่ละคนที่มากกว่า4คนขั้นต้นเป็นเวลา3เดือน
2) กระทรวงการคลังตรวจสอบทุกคนในแต่ละครัวเรือนโดยเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล26ฐานที่ใช้ทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อตัดครัวเรือนที่ไม่ควรได้รับความช่วยเหลือออกไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเช่นครัวเรือนที่มีบ้านหรือที่ดินเป็นของตนเองมูลค่าประเมินเกินกว่า3ล้านบาทมีเงินฝากรวมกันเกิน100,000บาทหรือมีเงินเดือนเฉลี่ยต่อคนเกินกว่า15,000บาทอาจจะทำให้เหลือครัวเรือนที่อยู่ในข่ายรับความช่วยเหลือประมาณ6-7ล้านครัวเรือน
3) ตัดลดเงินช่วยเหลือตาม1) ลงตามจำนวนสมาชิกของครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือในส่วนการประกันการว่างงานจากกองทุนประกันสังคมแล้ว
เหตุที่ไม่ได้เสนอให้ใช้ฐานข้อมูลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นหลักตั้งแต่แรกเนื่องจากฐานข้อมูลดังกล่าวยังต้องพัฒนาให้ครอบคลุมมากขึ้นดังผลการศึกษาที่พบว่ามีผู้มีรายได้น้อยที่ตกหล่นจากฐานข้อมูลดังกล่าวถึงร้อยละ 64 หรือกว่า 4-5 ล้านคน
การให้ความช่วยเหลือตามข้อเสนอของเราอาจทำให้มีผู้ได้รับความช่วยเหลือโดยไม่สมควรไปบ้างแต่ความผิดพลาดดังกล่าวน่าจะมีต้นทุนทางสังคมต่ำกว่าการไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สมควรได้รับความช่วยเหลือหากยึดตามบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้งนี้รัฐและสังคมควรสื่อสารให้ผู้ที่ไม่เดือดร้อนไม่ใช้สิทธิในการรับความช่วยเหลือดังกล่าวในช่วงวิกฤติเช่นนี้
3.รัฐบาลควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพื่อป้องกันการเลิกจ้างงานโดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจขนาดเล็กเป็นหลักเนื่องจากเป็นแหล่งจ้างแรงงานในกลุ่มเสี่ยงจานวนมากโดยอุดหนุนค่าเช่าสถานที่และค่าจ้างแรงงานบางส่วน
4.รัฐบาลควรยกเลิกมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ตรงจุดหรือซ้ำซ้อนเมื่อได้ให้ความช่วยเหลือตามข้อเสนอข้างต้นแล้วอาทิการลดค่าสาธารณูปโภคเช่นค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาทั้งผู้ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเดือดร้อนแบบหว่านแหในปัจจุบัน
5.รัฐบาลควรดาเนินมาตการในช่วงวิกฤตการณ์นี้โดยไม่ประมาทไม่ตายใจหากตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ในบางวันลดลงโดยดำเนินการอย่างความเชื่อถือจากประชาชนและทำให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับมาตรการของรัฐเป็นระบบในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่บริหารราชการแผ่นดินเหมือนในสภาวะปรกติเช่นควรพร้อมประชุมครม. แม้กระทั่งในวันหยุดหรือนอกเวลาราชการและควรสื่อสารกับประชาชนอย่างครบถ้วนชัดเจนและตรงไปตรงมาเพื่อฟื้นฟูความเชื่อถือจากประชาชนซึ่งจะทำให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับมาตรการของรัฐ