ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน นำนวัตกรรมและโซลูชันใหม่สุดล้ำสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 เช่น Lexium™ MC12 Multi Carrier ระบบการลำเลียงในสายการผลิตรุ่นใหม่ CMR (Collaborative Mobile Robot) หุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรม Health Care Proface ST6000 มอนิเตอร์สำหรับอุตสาหกรรมรุ่นล่าสุด โซลูชันซอฟต์แวร์แบบ end to end จาก AVEVA เสริมความมั่นใจด้วย Next Generation Automation ซึ่งเป็นนวัตกรรมผ่านเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ช่วยให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมก้าวข้ามขีดจำกัดในการดำเนินงาน เปลี่ยนการงานแบบเดิมซ้ำๆ สู่ระบบงานแบบอัตโนมัติ และเพิ่มศักยภาพผลผลิต มาจัดแสดงในงาน “Assembly and Automation Technology 2022” ระหว่างวันที่ 22-25 มิถุนายน พ.ศ.2565 ณ ฮอลล์ 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
คาริม แลมรับไทน์ รองประธานกลุ่ม Industrial Automation และผู้เชี่ยวชาญจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำนวัตกรรมและโซลูชัน ที่ช่วยให้ธุรกิจของกลุ่มลูกค้าภาคอุตสาหกรรมขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดแก่อุตสาหกรรมทุกๆประเภท ช่วยให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการติดตั้งและไม่ต้องเสียเวลาปรับปรุงระบบในภายหลัง โดยสามารถสร้างการจำลองสถานการณ์การใช้งานจริง ก่อนที่จะดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรต่างๆ จริง ทำให้สามารถวางแผนได้ตามนโยบายทางธุรกิจ และเร่งการผลิตสินค้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งให้ความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน มาจัดแสดงในงาน “Assembly and Automation Technology 2022” ระหว่างวันที่ 22-25 มิถุนายน พ.ศ.2565 ณ ฮอลล์ 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค นางนา
สำหรับสุดยอดนวัตกรรมและโซลูชันที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำมาจัดแสดงภายในงาน ประกอบไปด้วย
1.Lexium™ MC12 Multi Carrier ระบบการลำเลียงในสายการผลิตรุ่นใหม่ เป็นนวัตกรรมและโซลูชันที่มุ่งแก้ Pain Point สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต มีจุดเด่นด้านการติดตั้งและการออกแบบได้อย่างรวดเร็ว ด้วยอุปกรณ์การติดตั้งและการประกอบแบบโมดูล มาพร้อมซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้สามารถออกแบบและจำลองกระบวนการได้ล่วงหน้า ช่วยให้สามารถออกแบบสายการผลิตได้หลากหลายตามความต้องการ ให้พลังการขับเคลื่อนสูง ด้วยอัตราเร่งสูง ทนต่อสภาพแวดล้อมแบบ IP65 รับการมาตรฐานฟู้ดเกรด ที่สำคัญ Lexium™ MC12 Multi Carrier ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เกิดความคุ้มค่าในเรื่องราคา ทำให้สามารถลดต้นทุนการติดตั้งและการดูแลรักษา พร้อมมอบความสามารถครบครันที่ตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคอุตสาหกรรม 4.0 สามารถผสานรวมระหว่าง OT และ IT ด้วย EcoStruxure ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถมองเห็นประสิทธิภาพทั้งระบบและวิเคราะห์การทำงาน เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ต่อไปอีกด้วย
2.CMR (Collaborative Mobile Robot) หุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรม Health Care ที่ให้ความสามารถในการจดจำภาพสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามตั้งโปรแกรมในการทำงานได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังนำไปติดตั้งโปรแกรมทำงานอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น การป้อนชิ้นงาน การวัดวิเคราะห์ การควบคุมคุณภาพ การทำงานกับชิ้นส่วนขนาดใหญ่หรือบรรจุภัณฑ์ การขัด การขันสกรู และการเจาะ ที่อาศัยการทำซ้ำ ๆ และสม่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการประหยัดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงการทำงาน ช่วยลดโหลดและลดเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.Proface ST6000 มอนิเตอร์สำหรับอุตสาหกรรมรุ่นล่าสุด Basic HMI ซึ่งมาพร้อมซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด BLUE ให้ภาพสวย คมชัดแบบสามมิติ มีหน้าจอให้เลือกหลายขนาด โปรโตคอลที่ใช้งานง่ายยังช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถดูการทำงานได้แบบเรียลไทม์ตลอดเวลา เมื่อเกิดเหตุในขณะทำงาน ระบบจะมีการแจ้งเตือนที่เด่นชัดจากหน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ลดการสูญเสีย นอกจากนี้โรงงานที่ใช้ระบบซอฟต์แวร์ปฏิบัติการ GP-Pro EX อยู่ก่อน Pro-face ST6000 ยังสามารถรองรับการใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องเริ่มเขียนกราฟิกต่างๆ ใหม่ ทำให้ติดตั้งใช้งานได้ง่าย
4.โซลูชันซอฟต์แวร์แบบ end to end จาก AVEVA ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรม ที่พร้อมเปลี่ยนโรงงานธรรมดาให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะ ด้วยระบบ Engineering Information Management ที่ช่วยเรื่องการดูข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม พร้อม Operations Information Management เพื่อติดตามเรื่องการใช้พลังงาน และการผลิต โดย AVEVA มีซอฟต์แวร์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่การสร้างแบบจำลองสถานการณ์ เช่น หากต้องการผลิตตามแบบกระบวนการที่ต้องการ จะได้ผลลัพธ์อย่างไร จึงช่วยให้สามารถสร้างกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไปจนถึงกระบวนการผลิต (Operation) และการมอนิเตอร์กระบวนการต่างๆ รวมไปถึงซอฟต์แวร์สำหรับการควบคุมประสิทธิภาพการผลิต นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ Visualization สำหรับการสร้างแดชบอร์ดสำหรับผู้บริหารองค์กร ทำให้สามารถดู KPI (Key Performance Indicator) หรือดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงานตามเป้าหมาย ทั้ง KPI ด้านการผลิต ในแง่ของธุรกิจ ตลอดจนการบำรุงรักษา และการดำเนินงาน เป็นต้น รวมทั้งซอฟต์แวร์อัจฉริยะต่างๆ อีกมากมาย
คาริม แลมรับไทน์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมาทำให้การจัดงาน “Assembly and Automation Technology ในประเทศไทยหยุดไปประมาณ 2 ปีกว่า และกลับมาจัดอีกครั้งในปี พ.ศ.2565 นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีกลุ่มลูกค้าภาคอุตสาหกรรมจากประเทศไทยและต่างชาติที่เข้ามาร่วมงานให้ความสนใจนวัตกรรมและโซลูชันใหม่ ๆจากชไนเดอร์ อิเล็คทริคมากขึ้นทั้งจากกลุ่มลูกค้ารายเดิม เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมพลังงานที่มีอยู่ รวมทั้งกลุ่มลูกค้ารายใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ปรับแต่ง เปลี่ยนแปลงในโรงงาน ในกระบวนการผลิตเพื่อช่วยให้ก้าวไปสู่การผลิตที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น