กรุงเทพฯ – 15 มกราคม 2563 : เช็ค พอยท์ รีเสิร์ท (Check Point Research) ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านข้อมูลภัยคุกคามของ บริษัท เช็คพอยท์® ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด ผู้ให้บริการโซลูชันชั้นนำด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกได้เผยแพร่รายงานสรุปความปลอดภัยทางไซเบอร์ปีพ.ศ.2563 (2020 Cyber Security Report) โดยมุ่งเน้นยุทธวิธีหลักๆ ที่อาชญากรคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อโจมตีองค์กรทั่วโลกในอุตสาหกรรมต่างๆ และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เพื่อปกป้ององค์กรของตนจากการโจมตีและภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5
รายงานสรุปความปลอดภัยทางไซเบอร์ ปี พ.ศ.2563 เปิดเผยข้อมูลและเทคนิคการโจมตีที่สำคัญๆ ที่นักวิจัยของเช็คพอยท์ตรวจพบได้ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ (Cryptominer) ยังคงยึดหัวหาดการโจมตีของมัลแวร์ แม้ว่าการขุดบิตคอยน์ (Cryptomining) จะลดลงในช่วงปีพ.ศ. 2562 ซึ่งเชื่อมโยงกับมูลค่าที่ลดลงของสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) และการปิดตัวลงของ คอยน์ไฮฟ์ (Coinhive) ในเดือนมีนาคม โดยพบว่า 38% ของบริษัททั่วโลกได้รับผลกระทบจากซอฟต์แวร์ขุดบิตคอยน์ในปีพ.ศ. 2562 เพิ่มขึ้นจาก 37% ของปีพ.ศ. 2561 เนื่องจากการใช้ซอฟต์แวร์ขุดเงินดิจิทัลยังคงเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนสูงสำหรับอาชญากร
- กองทัพบ็อตเน็ตมีขนาดใหญ่ขึ้น 28% ขององค์กรทั่วโลกได้รับผลกระทบจากกิจกรรมบ็อตเน็ต ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับปีพ.ศ.2561 โดย Emotet เป็นมัลแวร์ประเภทบ็อตที่มีการนำไปใช้กันมากที่สุด ด้วยความสามารถที่หลากหลายโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการกระจายมัลแวร์และสแปม นอกจากนี้ บ็อตเน็ตยังมีอีกหลายวีรกรรม อาทิ กิจกรรมอีเมล์หลอกลวงในรูปแบบ Sextortion (การแบล็คเมลล์ทางเพศออนไลน์) และการโจมตี DDoS ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีพ.ศ.2562 ด้วยเช่นกัน
- แรนซัมแวร์แบบมีเป้าหมายโจมตีหนักมาก แม้ว่าจะมีองค์กรที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างต่ำ แต่ความรุนแรงของการโจมตีนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการโจมตีที่สร้างความเสียหายต่อการบริหารงานเมืองของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2562 โดยอาชญากรกำลังเลือกเป้าหมายในการใช้แรนซัมแวร์อย่างระมัดระวัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้จากการเรียกค่าไถ่ให้ได้สูงสุด
- การโจมตีอุปกรณ์เคลื่อนที่ลดลง 27% ขององค์กรทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ในปีพ.ศ.2562 ซึ่งลดลงจาก 33% เมื่อเทียบกับปีพ.ศ.2561 ยจะเห็นได้ว่าในขณะที่ภัยคุกคามของอุปกรณ์เคลื่อนที่กำลังเติบโตอย่างเต็มที่ องค์กรต่างๆ ก็ได้เพิ่มความตระหนักมากขึ้นต่อภัยคุกคามดังกล่าว พร้อมทั้งมีการปรับใช้ระบบป้องกันบนอุปกรณ์เคลื่อนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
• ปีแห่งการโจมตีของ Magecart ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว การโจมตีดังกล่าวเป็นการนำรหัสที่เป็นอันตรายเข้าไปใส่ไว้ในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเพื่อขโมยข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าจากหลายร้อยเว็บไซต์ในปี พ.ศ.2562 ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เครือโรงแรมขนาดใหญ่ ยักษ์ใหญ่ด้านการค้า ไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางและย่อมในทุกแพลตฟอร์ม - การโจมตีระบบคลาวด์เพิ่มจำนวนขึ้น ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ มากกว่า 90% ล้วนใช้บริการคลาวด์ แต่มีเพียง 67% ของทีมรักษาความปลอดภัยที่ให้ข้อมูลว่าพวกเขายังขาดความสามารถในการมองเห็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรักษาความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์ ขนาดของการโจมตีและการรั่วไหลของข้อมูลในระบบคลาวด์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีพ.ศ. 2562 การกำหนดรูปแบบทรัพยากรเพื่อการใช้งานบนระบบคลาวด์ที่ผิดพลาดยังคงเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ก่อให้เกิดการโจมตีระบบคลาวด์ และในตอนนี้ยังเห็นการโจมตีที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งพุ่งเป้าไปที่ผู้ให้บริการคลาวด์โดยตรงด้วย
อีแวน ดูมาส ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวว่า ในปีพ.ศ.2562 แสดงให้เห็นภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ส่งผลให้องค์กรระดับชาติ องค์กรด้านอาชญากรรมไซเบอร์ และภาคเอกชนได้ผนึกกำลังร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อกรกับกองทัพไซเบอร์ด้วยการยกระดับขีดความสามารถของกันและกันในระดับที่คาดไม่ถึง และจะยังคงดำเนินต่อไปเช่นนี้ในปี 2563
“แม้ว่าองค์กรจะมีผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมและทันสมัยที่สุด แต่ความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลนั้นไม่สามารถกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ นอกเหนือจากการตรวจจับและการแก้ไขแล้ว องค์กรจะต้องนำแผนเชิงรุกมาใช้เพื่อป้องกันและอยู่นำหน้าการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ให้ได้ ความสามารถในการตรวจจับและการบล็อกการโจมตีโดยอัตโนมัติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ รายงานสรุปความปลอดภัยในปี 2020 ของเช็คพอยท์ได้นำเสนอข้อมูลที่องค์กรต้องระวังและวิธีที่พวกเขาสามารถชนะสงครามจากการโจมตีทางไซเบอร์ผ่านแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด” ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เช็ค พอยท์ กล่าว
รายงานสรุปความปลอดภัย พ.ศ. 2020 ของบริษัท เช็คพอยท์ อาศัยข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองเทรตคลาวด์ (ThreatCloud) ของบริษัท เช็ค พอยท์ ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามและแนวโน้มของการโจมตีจากเครือข่ายเฝ้าระวังทั่วโลก นอกจากนี้ยังอาศัยข้อมูลจากการสืบสวนของทีมวิจัยบริษัท เช็ค พอยท์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาด้วย และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ไอทีและผู้บริหารระดับสูงที่ประเมินความพร้อมของตนต่อภัยคุกคามในปัจจุบัน ในรายงานได้สำรวจภัยคุกคามใหม่ล่าสุดในธุรกิจต่าง ๆ และให้ภาพรวมที่ครอบคลุมของแนวโน้มที่สังเกตจากการแพร่กระจายของมัลแวร์ จุดที่ข้อมูลรั่วไหล และจากการโจมตีระดับชาติ นอกจากนี้ยังมีบทวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญระดับนักคิดชั้นนำของบริษัท เช็คพอยท์ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจแก่องค์กรให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนในวันนี้และวันข้างหน้า