ครม.มีมติรับทราบและเห็นชอบผลการดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ


การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่  18 กรกฎาคม  ..2566 ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดย ครม.มีมติรับทราบและเห็นชอบผลการดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ทั้ง 2 ข้อตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้

1.รับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ (ผลการดำเนินการฯ) รอบ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม  พ.ศ.2565 และเดือนมิถุนายน-สิงหาคม พ.ศ.2565

2.เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบ เมื่อวัน22 มีนาคม พ.ศ. 2565ที่ผ่านมา โดยกำหนดเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 20 พร้อมทั้งให้รายงานผลการดำเนินการฯ ในเว็บไซต์ www.e-report.energy.go.thเป็นประจำทุกเดือน แล้วให้ พน. โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทำหน้าที่กำกับดูแลและรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมเสนอนายกรัฐมนตรี โดยปรับรอบการรายงานผลการดำเนินการฯ จากเดิมรายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาสเป็นรายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุก 6 เดือน (เดือนตุลาคม-มีนาคมและเดือนเมษายน-กันยายนของทุกปี)

ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

      สาระสำคัญของเรื่อง

พน. รายงานว่า

1.ผลการดำเนินงานตามมาตรการลดใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ สนพ. ได้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของการประเมินผลการประหยัดพลังงาน โดยอ้างอิงแนวทางการประเมินตัวชี้วัดการลดใช้พลังงานของหน่วยงานราชการที่สำนักงาน ก.พ.ร. และ สนพ. ได้ดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 มีหน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 9,104 หน่วยงาน แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) ส่วนราชการ (2) จังหวัด (3) ที่ทำการปกครองอำเภอ (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (5) สถาบันอุดมศึกษา และ (6) รัฐวิสาหกิจ และแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ด้าน คือ การลดใช้ไฟฟ้าและการลดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีเป้าหมายการลดใช้พลังงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เทียบกับมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำมันของแต่ละหน่วยงาน ซึ่ง สนพ. ได้กำหนดแนวทางการคำนวณมาตรฐานการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำมันของแต่ละหน่วยงานจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการใช้พลังงานของหน่วยงาน เช่น จำนวนบุคลากร พื้นที่ใช้สอยของอาคาร ชั่วโมงการทำงานในแต่ละเดือน และพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน โดยมีผลการดำเนินงานรอบ 3 เดือน จำนวน 2 รอบ สรุปได้ ดังนี้

      รอบที่ 1 ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2565เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2564 พบว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 16.33 ล้านหน่วย และปริมาณการใช้น้ำมันลดลง 0.16 ล้านลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ทั้งสิ้น 71.9 ล้านบาท

      รอบที่ 2 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม พ.ศ.2565เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2564 พบว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 0.095 ล้านหน่วย และปริมาณการใช้น้ำมันลดลง 4.28 ล้านลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ทั้งสิ้น 171.85 ล้านบาท

  1. การดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ

2.1 สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐตามที่ พน. เสนอ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา  โดยกำหนดเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 20 (รวมไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง) และกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ นั้น สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่า ไม่ควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดของส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ เนื่องจากไม่ต้องการสร้างภาระให้กับส่วนราชการเกินควร ประกอบกับ พน. สามารถใช้กลไกของมติคณะรัฐมนตรี (22 มีนาคม 2565) เรื่อง มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยให้ส่วนราชการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ และรายงานผลผ่านระบบการรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อติดตามการดำเนินงานและรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง

2.2 พน. เห็นว่า เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก รวมถึงสงครามสหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ส่งผลให้ราคาพลังงานยังคงมีความผันผวนและทำให้ราคาค่าไฟฟ้าภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนทั่วประเทศในปี พ.ศ.2566 ทำให้ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงเห็นควรให้หน่วยงานราชการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 20 อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและให้หน่วยงานราชการเป็นตัวอย่างให้แก่ภาคประชาชนในการลดการใช้พลังงาน ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 เรื่อง มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ อย่างไรก็ตาม พน. เห็นว่า ควรปรับรอบการรายการผลการดำเนินการฯ จาก รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส เป็นรายงานเสนอนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุก 6 เดือน(เดือนตุลาคม-มีนาคม และเดือนเมษายน-กันยายนของทุกปี) เพื่อลดภาระการรายงานผลการดำเนินการฯ และให้สอดคล้องกับรอบการประเมินผลของส่วนราชการ ตามที่เคยดำเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2561-2564


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save