คณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เยี่ยมชมการสอนแบบ Gifted Education และผลงานวิจัย พร้อมขยายความร่วมมืองานวิจัยสู่ผู้ใช้


คณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เยี่ยมชมการสอนแบบ Gifted Education และผลงานวิจัย พร้อมขยายความร่วมมืองานวิจัยสู่ผู้ใช้

เมื่อเร็วๆ นี้ รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากรมจธ. ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหาร คณะอาจารย์ และบุคลากรภายใต้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนแบบ Gifted Education สำหรับพัฒนาเด็กที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ฯ และเยี่ยมชมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการแพทย์และสุขภาพ ของ มจธ. เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการทำวิจัยและการประยุกต์เทคโนโลยีจนไปถึงผู้ใช้ที่เป็นทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย 

รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า การมาเยี่ยมชมงาน มจธ.ของคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้มแข็งทางการศึกษา ซึ่งอาจนำไปสู่โครงการความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อจะได้ช่วยกันฟูมฟักเยาวชนรุ่นใหม่ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศได้ โดยเฉพาะบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ

ในช่วงเช้า ศ. คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ฯ นำคณะฯ เข้าร่วมรับฟังแนวทางการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของ มจธ. ที่มีอยู่หลากหลายโปรแกรมทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับมหาวิทยาลัย อาทิ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย (โครงการ วมว.) ห้องเรียนวิศว์-วิทย์ และ โคเซ็น มจธ. (KOSEN KMUTT) ณ มจธ. บางขุนเทียน และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ เช่น การเตรียมความพร้อมบุคลากรครูสำหรับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่ มจธ. นำมาใช้  แนวทางการประเมินหรือวัดผลเพื่อรักษาคุณภาพของการศึกษา เป็นต้น 

คณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เยี่ยมชมการสอนแบบ Gifted Education และผลงานวิจัย พร้อมขยายความร่วมมืองานวิจัยสู่ผู้ใช้

นอกจากนี้ได้เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานของของนักเรียนโครงการเพิ่มประสบการณ์ของเด็กและเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโครงการ 2B-KMUTT

ต่อมาคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ฯ ได้เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ และห้องปฏิบัติการเฉพาะทางด้านการวิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติของยาชีววัตถุและวัคซีน (Biopharmaceutical Characterization Laboratory: BPCL) และรับฟังบรรยายเกี่ยวกับความก้าวหน้าโครงการศูนย์บริการผลิตเซลล์เชิงพาณิชย์ (Automated Tissue Kulture: ATK) จากนั้นเดินทางมา มจธ.บางมด เพื่อเยี่ยมชมงานวิจัยด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา ของสถาบันการเรียนรู้ และรับฟังบรรยายเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ณ สำนักงานการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (Gifted Education Office: GEO) 

คณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เยี่ยมชมการสอนแบบ Gifted Education และผลงานวิจัย พร้อมขยายความร่วมมืองานวิจัยสู่ผู้ใช้

ในช่วงบ่าย ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ฯ นำคณะฯ เข้าเยี่ยมชมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์และสุขภาพ ของศูนย์วิจัย Hospital Automation Research Center (HAC)  สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (Institute of Field Robotics (FIBO) อาทิ “CARVER” หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ ขนส่งอาหาร ยา และเวชภัณฑ์, “NEF” ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนการเคลื่อนไหวบนเตียงของผู้ป่วย/ผู้สูงอายุ, “Inspectra-CXR” ระบบ AI ช่วยตรวจจับความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกฯลฯ โดยมี ผศ. ดร.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ FIBO ให้การต้อนรับ และชมผลงานวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาทิ เครื่องฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยรังสี UVC  อุปกรณ์ถ่างขยายผนังหัวใจห้องบน ห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด (SMART LAB) และอุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติทางเลือกในอนาคตสำหรับผู้ป่วยที่ต้องปลูกถ่ายกระดูก โดยมีอาจารย์และคณะนักวิจัยให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัยดังกล่าว 

คณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เยี่ยมชมการสอนแบบ Gifted Education และผลงานวิจัย พร้อมขยายความร่วมมืองานวิจัยสู่ผู้ใช้

คณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล เยี่ยมชมการสอนแบบ Gifted Education และผลงานวิจัย พร้อมขยายความร่วมมืองานวิจัยสู่ผู้ใช้

ในโอกาสนี้ มจธ. ยังได้มอบเครื่องฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยรังสี UVC จำนวน 10 เครื่องซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ และทีมวิจัยที่ถ่ายทอดไปยังเอกชน ให้แก่ทางคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

การดูงานครั้งนี้เป็นการเชื่อมโยงความสามารถและความสนใจของสองสถาบันเข้าด้วยกัน และในอนาคตคาดว่าจะมีความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของงานวิจัยนั้น หากนำจุดแข็งของทั้งสองแห่งมาเสริมกันได้ ก็น่าจะทำให้เกิดงานวิจัยเชิงที่มีประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพที่มีโอกาสถึงมือผู้ใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save