การ์ทเนอร์เผย 3 แนวคิดเทคโนโลยีหลักในวงจรเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ในปี 2564


เมื่อต้นปีบริษัทรับจัดประมูลชั้นนำอย่าง “คริสตีส์” ได้เปิดประมูลผลงานชิ้นเอก 2 ชิ้น ซึ่งการประมูลครั้งนี้เปิดรับสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ด้วย พร้อมยังเสนอขายงานศิลปะที่สร้างสรรค์ด้วยดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยี nonfungible token (NFT)

ผลงานของศิลปินดิจิทัล “บีเพิล (Beeple)” สามารถขายได้สูงกว่า 69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 2,300 ล้านบาท) ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการสร้างรายได้แบบใหม่ และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นระบบนิเวศดิจิทัลใหม่ทั้งหมด

NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลบนบล็อกเชนที่มีความเฉพาะตัวและเชื่อมโยงกับทรัพย์สินในโลกความเป็นจริง เช่น ศิลปะดิจิทัลหรือดนตรีดิจิทัล รวมถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่จับต้องได้และแปลงเป็นเหรียญโทเคน อาทิ บ้านหรือรถยนต์ ในกรณีของผลงานศิลปะ เทคโนโลยี NFT จะตรวจสอบที่มา ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึง ซึ่ง NFTs จะใช้บล็อกเชนสาธารณะที่ไม่สามารถแก้ไขหรือดัดแปลงได้ ในเดือนที่ผ่านมาตลาดนี้มีมูลค่าสูงมากกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 1 หมื่นล้านบาท)

NFTs ยังเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในวงจรการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดใหม่ของการท์เนอร์ในปี 2564 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีเทคโนโลยีสุดล้ำถึง 25 รายการที่จะส่งผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ต่อการทำธุรกิจและสังคมในช่วงสองถึงสิบปีข้างหน้านี้

ไบรอัน เบิร์ค รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์กล่าวว่า มีเทคโนโลยีล้ำหน้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นความท้าทายแม้กระทั่งองค์กรที่เน้นนวัตกรรมเป็นหลัก ซึ่งการที่องค์กรต่าง ๆ มุ่งเน้นเรื่องการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ดิจิทัลหมายความว่าจะต้องเร่งสปีดในการเปลี่ยนแปลงและก้าวข้ามผ่านเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงเหล่านี้ด้วย

เทคโนโลยีต่าง ๆ ในปีนี้ ได้รับการคัดเลือกโดยพิจารณาถึงศักยภาพในการสร้างประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง ภายใต้ 3 แกนหลัก ดังนี้ 1.ความน่าเชื่อถือทางวิศวกรรม (Engineering Trust) 2.การเติบโตอย่างเร่งด่วน (Accelerating Growth)  และ 3.การเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปร่าง (Sculpting Change)

  1. ความน่าเชื่อถือทางวิศวกรรม

ทีมไอทีในฐานะผู้นำการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ดิจิทัล พวกเขาจะต้องออกแบบและพัฒนาแกนหลักของธุรกิจให้เป็นที่มั่นใจให้ได้ ซึ่งต้องมีทั้งความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ และต้องสร้างขึ้นโดยยึดแนวทางปฏิบัติในด้านการทำงานที่สามารถทำซ้ำ พิสูจน์ ปรับขนาดได้ และมุ่งเน้นนวัตกรรม โดยแนวทางปฏิบัติเหล่านี้จะสร้างแกนหลักและรากฐานธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นสำหรับไอทีเพื่อส่งมอบคุณค่าทางธุรกิจต่อไป

ตัวอย่างเช่น ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แบบเรียลไทม์เป็นบริการหนึ่งที่ช่วยให้รับทราบสถานการณ์เกี่ยวกับองค์กรโดยรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยทั่วไปแล้ว องค์กรด้านความปลอดภัยแบบสาธารณะจะมีวิธีการเก็บรวบรวมฐานข้อมูล เซ็นเซอร์ วิดีโอ และมีระบบสื่อสารของตนสำหรับสร้างเป็นศูนย์บัญชาการฉุกเฉิน

อย่างไรก็ตาม บริการนี้ยังช่วยลดความซับซ้อนของฟังก์ชันเรียลไทม์ของศูนย์บัญชาการ โดยเริ่มต้นมาจากการสร้างศูนย์เรียลไทม์ยุคใหม่เพื่อลดปัญหาด้านอาชญากรรม อย่างไรก็ดีมีรูปแบบการนำไปใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ นำไปใช้ในการจัดการไฟป่า ภัยธรรมชาติ กิจกรรมหรืองานพิเศษต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งรับมือกับการแพร่ระบาด

ความท้าทายสำคัญของเทคโนโลยีนี้คือความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลทั้งหมด อาทิ ข้อมูลพื้นฐาน วิทยุ IoT การแจ้งเตือนจำนวนมาก เครื่องอ่านป้ายทะเบียน และการติดตามตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ มักเป็นของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ถึงอย่างไรศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แบบเรียลไทม์ที่เป็นบริการนี้ยังสามารถปรับปรุงและพัฒนาเพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้

เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่อยู่ในแนวคิด “ความน่าเชื่อถือทางวิศวกรรม” ได้แก่ Sovereign Cloud, Homomorphic Encryption และ Data Fabric.

 

2.การเติบโตอย่างเร่งด่วน (Accelerating growth)

หากแกนหลักธุรกิจมีความน่าเชื่อถือแล้ว ผู้นำไอทีและซีไอโอต้องมุ่งเน้นที่ความคิดริเริ่มใหม่ ๆ สำหรับใช้ขับเคลื่อนการเติบโตให้กับองค์กร นั่นคือการสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงทางเทคโนโลยีกับความเสี่ยงทางธุรกิจ และต้องสร้างความมั่นใจได้ว่าเป้าหมายการเติบโตขององค์กรยังคงเป็นไปได้และจะบรรลุผลสำเร็จตามแผน

ลองพิจารณาถึง มนุษย์ดิจิทัล (Digital Humans) ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้คนในแบบดิจิทัล โดยเทคโนโลยีนี้มอบโอกาสให้กับบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตและเปิดช่องทางหารายได้ใหม่ ๆ พวกเขาสามารถเป็นอวาตาร์ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรืออินเทอร์เฟซผู้ใช้ในกระดานการสนทนา อาทิ แชทบ็อตหรือลำโพงอัจฉริยะ ซึ่งการโต้ตอบในลักษณะนี้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI โดยมีพฤติกรรมแบบเดียวกับมนุษย์ ซึ่งพัฒนามาจากเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึง UI การสนทนา CGI และแอนิเมชั่น 3 มิติแบบเรียลไทม์อัตโนมัติ

มีรูปแบบการใช้งานเกิดขึ้นมากมายสำหรับเทคโนโลยีฮิวแมนนอยด์ในการฝึกอบรมของฝ่ายบุคคล การสื่อสาร การดูแลทางการแพทย์ และการบริการลูกค้า โควิด-19 ผลักดันศักยภาพของเทคโนโลยีและเปิดประสบการณ์ไร้สัมผัส เพื่อต่อสู้กับความโดดเดี่ยวทางด้านสังคมและการดูแลผู้สูงอายุ มนุษย์ดิจิทัลได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์สารคดี แสดงในงานประชุม และทำหน้าที่เป็นผู้มีอิทธิพลต่อแบรนด์ นอกเหนือจากเทคโนโลยีที่ยังพัฒนาไปไม่สุดแล้ว ยังมีอุปสรรคทางสังคมและความกังวลด้านจริยธรรมที่ฉุดรั้งและสร้างความท้าทายให้กับมนุษย์ดิจิทัล แต่ศักยภาพในการสร้างผลกระทบและความแตกต่างทางธุรกิจกำลังผลักดันให้บางองค์กรไล่ตามเทคโนโลยีนี้

เทคโนโลยีเกิดใหม่อื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้แนวคิด “การเติบโตอย่างเร่งด่วน” ได้แก่ Multi-experience, Industry Cloud และ Quantum ML

 

  1. การเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปร่าง (Sculpting Change)

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ กุญแจสำคัญคือเราต้องตระหนักถึงการหยุดชะงักและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับแต่งและจัดการกับสิ่งใดก็ตามที่อาจก่อให้เกิดความปั่นป่วน โดยต้องคาดการณ์และปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดความเสี่ยง

ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี Physics-Informed AI (PIAI) คือ AI ที่ใช้สร้างแบบจำลองทางกายภาพและทางวิทยาศาสตร์ได้ โดย PIAI ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในฐานะตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสำหรับการสร้างแบบจำลองในระบบที่มีความซับซ้อน เช่น ปัญหาด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งยากต่อการสร้างแบบจำลองเมื่อพิจารณาจากรายละเอียด

โมเดล AI ดิจิทัลแบบดั้งเดิมมีความสามารถในการปรับตัวที่จำกัด เนื่องจากไม่สามารถสรุปข้อมูลทั่วไปได้นอกเหนือจากข้อมูลที่ถูกป้อนและสอนมา PIAI สร้างรูปแบบการนำเสนอในบริบทของผลิตภัณฑ์ทางกายภาพที่เชื่อถือได้มากขึ้น COVID-19 ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของโมเดลธุรกิจที่เปราะบาง แต่ PIAI สร้างรูปแบบการนำเสนอในบริบทและนำเงื่อนไขต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อช่วยให้ระบบทำงานได้ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างระบบจำลองการทำธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งและปรับแต่งได้ โดยมีความน่าเชื่อถือสำหรับสถานการณ์ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีเกิดใหม่อื่น ๆ ในแนวคิดนี้ ประกอบด้วย Composable Applications, Composable Networks และ Influence Engineering

บทความโดย ไบรอัน เบิร์ค รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์
บทความโดย ไบรอัน เบิร์ค รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save