การดำเนินธุรกิจในเส้นทางแห่งความยั่งยืนและการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ (Doing Business Base on Business Sustainability and a Start Up in New Business)


การดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งมีหมายความนอกจากประเด็นในทางด้านเศรษฐกิจขององค์กรที่มีผลประกอบการที่ดีแล้ว ก็ต้องใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม และในประเด็นต่างๆ ทางด้านสังคมด้วย และไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมคุณธรรม ถูกต้องตามกฎข้อบังคับในรูปแบบการประเมินการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของ DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) มีการประเมินสามด้านที่เรียกว่า ESG ได้แก่ การรักษาสิ่งแวดล้อม(Environment) การดูแลสังคม(Social) และการมีธรรมาภิบาลทางธุรกิจ (Governance) และจากการพัฒนา (Development) สู่ความยั่งยืน (Sustainability) ขององค์การสหประชาชาติ เป็นการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติที่การดำเนินการด้านธุรกิจเริ่มมีข้อเรียกร้องแรงกดดันต่อองค์กรธุรกิจให้คำนึงถึงปัญหาสังคมและปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมีคำที่ใช้เรียกกัน คือ “Responsible Corporate Citizenship” หรือ “Corporate Social Responsibility” CSR หรือ บรรษัทบริบาล นั้นแสดงให้เห็นภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดีที่สะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจที่ดีจากภายในและผลการดำเนินการที่ดีอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินธุรกิจในเส้นทางแห่งความยั่งยืนและการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ (Doing Business Base on Business Sustainability and a Start Up in New Business)

แต่คำว่าการดำเนินธุรกิจที่ดี ให้มีความเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งนั้นต้องเกิดจากแก่นแท้ของการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้าง “นวัตกรรมใหม่” ที่ตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าและมีความแตกต่าง ซึ่งกลายเป็นปัจจัยหลักแห่งความอยู่รอดและความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ การลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนาหรือ R&D (Research & Development: R&D) เพื่อค้นหา “นวัตกรรมใหม่” จึงเป็นสิ่งจำเป็นสู่มูลค่าเพิ่มที่แตกต่างในสินค้าและบริการ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทใหญ่ การทำสร้างชื่อเสียงที่ดีด้วยการสร้างแบรนด์และความน่าเชื่อในระดับสากลผ่านการประเมิน DJSI หรือการดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาล การทำ CSR ในการดำเนินธุรกิจ ตลอดถึงการทำ R&D เพื่อการสรรหานวัตกรรมใหม่ เพื่อให้มีสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการและเพื่อให้ผลประกอบการทางธุรกิจมีความเจริญรุ่งเรืองและยั่งยืน (Business Growth and Business Sustainability) อย่างต่อเนื่อง การลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนาหรือ R&D (Research & Development: R&D) จึงมีส่วนช่วยพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีกว่าคู่แข่งทางการค้า

แต่ในส่วนของธุรกิจขนาดเล็กและเพิ่งเริ่มต้นการทำธุรกิจใหม่การทำ R&D นั้นเป็นเรื่องต้องใช้เวลาและการลงทุนจำนวนมาก การไล่ตามคู่แข่งขันทางการค้าให้ทันหรือใกล้เคียงทั้งในด้านรูปแบบและคุณภาพที่มีราคาที่ต่ำกว่าจึงต้องใช้กลยุทธ์ทางการค้าด้วยการทำลอกเลียนแบบ C&D (Copy and Duplication: C&D) แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางการค้าและไม่ผิดกฎหมายธุรกิจ การติดตามผลงานหรือผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน การลอกไอเดีย (Copy Idea) ของคู่แข่งขัน ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติในเชิงของฟังก์ชั่น (Function) การใช้งานของผลิตอกไปติดตามคู่แข่งขัน การศึกษาจุดเด่นจุดด้อยของผลิตถัณฑ์ และบริการของคู่แข่งขัน บนพื้นฐานของการเรียนรู้ ตราบใดก็ตามที่การกระทำมิใช้เป็นการลอกเลียนแบบ (Copy) จนเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่จะการลอกและเลียนแบบ (Copy & Duplication Development) แล้วนำไปพัฒนาด้วยความพยายามจะทำให้ดีกว่า ปรับปรุงจุดด้อยของคนที่ทำก่อน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่ดีกว่า ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า มีเงื่อนไข และข้อจำกัดในการใช้งานที่น้อยกว่า สื่อสารให้กับลูกค้าทราบถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านั้นให้โดดเด่นกว่า เป็นต้น สินค้าและบริการในวงการธุรกิจที่เหมือนกัน จะมีความเหมือนกันในส่วนของฟังก์ชั่นการทำงานการใช้งานเพราะเป็นสินค้าและบริการในเรื่องเฉพาะ รูปแบบสินค้าก็จะต้องเป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งการลอกและเลียนแบบที่ดีคือการทำข้อที่แตกต่าง (Differentiation) ตามความต้องการและงานออกแบบที่ก้าวนำสมัย และท่สำคัญอย่างยิ่งคือราคาและคุณภาพ

การดำเนินธุรกิจในเส้นทางแห่งความยั่งยืนด้วยการทำการวิจัยและพัฒนา ( Research and Development: R&D) เพื่อการสร้างฐานธุรกิจด้วยความมั่นคงและยั่งยืน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการต่อยอดทางธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมทางสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ที่ทำให้คู่แข่งกลายเป็นผู้ตาม และสร้างความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ใหม่ รูปแบบใหม่ ฟังก์ชั่นการทำงานใหม่ จะเห็นว่าการแข่งขันทางธุรกิจโทรศัพท์มือถือในค่ายของ แอปเปิล (Apple) และค่ายของซัมซุง (Samsung) ครองความเป็นผู้นำทางการตลาดได้ด้วยการมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Idea) ในนวัตกรรมใหม่ (New Innovation) รวมทั้งทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อพิสูจน์ในแนวความคิดผลิตภัณฑ์จนได้แบบอย่างผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจนเกิดความมั่นใจในการเข้าสู่ขบวนการผลิตและการตลาด หากงานวิจัยและการพัฒนาเกิดความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย อาจทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมหาศาลต่อชื่อเสียงและบริษัทได้

ส่วนการเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ด้วยการทำการลอกและเลียนแบบพร้อมการพัฒนา (Copy and Duplication +Development: C&D+D) ก็มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงระยะแรก ในการก้าวเดินตามคู่แข่งในธุรกิจนั้นๆ การต้องเดินแซงไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าวคือการต้องดูผู้อื่นและมีการลอกและเลียนแบบพร้อมการพัฒนาให้มีความโดดเด่นที่มากกว่า เพื่อการเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ความสามารถของผู้ประกอบการขนาดเล็กที่จะทำ R&D ได้ด้วยตนเองนั้นไม่สามารถทำได้เลยทันทีเพราะต้องใช้เงินทุน ทีมงานและเวลาและต้องทำแผนธุรกิจอย่างเป็นเรื่องเป็นราว การก้าวจากจุดเล็กๆด้วยสินค้าที่เหมือนกันในตลาดที่สามารถผลิตได้เองในกำลังการผลิตที่สามารถลงทุนได้ และสามารถมีตลาดในสินค้าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีบริษัทขนาดใหญ่ในวงการธุรกิจที่ก้าวจากการการลอกและเลียนแบบผลิตภัณฑ์การบริการ จนสามารถมีทุนมีหนทางทางการตลาดที่มั่นคงและก้าวเข้าสู่แผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาตนเอง ในผลิตภัณฑ์ของตนเองได้อย่างมั่งคงต่อมา

การลงทุนทางด้านงานวิจัยและการพัฒนาหรือ Research & Development: R&D กับมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กล่าวถึง “การวิจัยและพัฒนา (อังกฤษ: Research and Development, R&D, R+D, หรือ R’n’D) หมายถึงกิจกรรมนวัตกรรมที่บริษัทหรือรัฐบาลดำเนินการเพื่อพัฒนาบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือปรับปรุงบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม การวิจัยและพัฒนาเป็นขั้นแรกของการพัฒนาบริการหรือกระบวนการการผลิตใหม่

กิจกรรมวิจัยและพัฒนาแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน โดยมีแบบจำลองแผนกวิจัยและพัฒนาหลักสองแบบ คือ มีวิศวกรเป็นคณะทำงานและได้รับมอบหมายให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยตรง หรือมีนักวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นคณะทำงานและได้รับมอบหมายการวิจัยประยุกต์ในสาขาวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี ซึ่งอาจอำนวยต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคต การวิจัยและพัฒนาแตกต่างจากกิจกรรมส่วนใหญ่ของบริษัทซึ่งไม่ตั้งใจให้ได้กำไรทันที และโดยทั่วไปมีความเสี่ยงสูงกว่าและให้ผลตอบแทนการลงทุนไม่แน่นอน แต่การวิจัยและพัฒนาสำคัยต่อการได้มาซึ่งสักส่วนในตลาดมากขึ้นผ่านการตีตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่”

ดังนั้นการทำงานวิจัยและการพัฒนา R&D (Research & Development) มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จทางธุรกิจ ยิ่งในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงไปคู่แข่งในตลาดมีมากขึ้น การหากลยุทธ์ขึ้นมาแข่งในรูปแบบที่หลากหลาย การเตรียมความพร้อมด้วยการให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา แทบทุกกิจการที่รอดพ้นวิกฤตมาได้ ส่วนหนึ่งเพราะให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา ที่นำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จอื่นๆอีกมากมาย

การวิจัยและการพัฒนา สามารถให้แนวทางก่อนการลงมือทำจริง (Platform) เพื่อให้ได้ผลสรุปในความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ที่กลั่นกรองจากการทดลองลงมือทำจริงในแนวทางการวิจัย และก่อให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ตามความต้องการที่ได้พิสูจณ์แล้วว่าเป็นจริง ผลงานจากการทำงานวิจัยและพัฒนา จึงเป็นเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในองค์กร นวัตกรรมที่ล้ำสมัยเกิดขึ้นจากความพยายามอย่างหนักในการวิจัยและพัฒนา ความพยายามอย่างทุ่มเทในงานวิจัย ความล้มเหลวทุกครั้งในการวิจัยและการพัฒนา ช่วยเพิ่มแรงกดดันในการปฏิบัติงานและสร้างความมั่นใจในการนำผลงานวิจัยมาลงปฏิบัติจริงในการดำเนินธุรกิจ

โดยมีผลสรุปจาก Krungsri GURU SME ถึงผลดีกับการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัท ในมุมต่างๆ ดังนี้

  1. การวิจัยและการพัฒนาทำให้รู้ถึงเทรนด์ตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศในกรณีที่บริษัทได้ขยายฐานการตลาดออกสู่ต่างประเทศ ที่สำคัญอีกประการคือ ผลของการวิจัยและพัฒนายังเปรียบเสมือนเป็นใบรับรองคุณภาพที่เกี่ยวข้องตามกฎระเบียบหรือข้อกำหนดของคู่ค้าระหว่างประเทศ
  2. การวิจัยและการพัฒนานำไปสู่การพัฒนาโปรดักส์ที่ดีมีคุณภาพ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งอาจทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ช่วยประหยัดต้นทุน
  3. การวิจัยและการพัฒนานำไปสู่การบริการที่ดีของทีมงานที่พร้อมตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
  4. การวิจัยและการพัฒนานำไปสู่การแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ในอนาคต ซึ่งนั่นเท่ากับว่าเป็นการขยายฐานตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภคใหม่
  5. การวิจัยและการพัฒนาทำให้สามารถลดแรงกดดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้กล่าวคือ ในการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินสามารถที่จะอ้างอิงถึงผลงานการวิจัยและพัฒนาได้
  6. การวิจัยและการพัฒนานำไปสู่ความเข้มแข็งที่ยั่งยืนที่อาจนำธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอันเป็นฐานที่สำคัญซึ่งนำไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ต่อไป

นั่นเป็นผลสรุปที่ได้จากการลงทุนงานวิจัยและการพัฒนา ซึ่งอาจไม่ใช่เครื่องการันตีความสำเร็จหรือความมั่งคั่งในการทำธุรกิจได้ทั้งหมด เพราะยังต้องคำนึงถึงประสิทธิผลของการทำวิจัยและพัฒนาด้วยว่าจะนำไปสู่การทำการตลาดและเกิดการตอบรับจากตลาดผู้บริโภคได้หรือไม่ และการลงทุนด้านการพัฒนาและวิจัยเป็นลักษณะการลงทุนระยะยาวไม่สามารถหวังผลได้ทันที พอที่จะคาดการณ์อนาคตได้ว่าแนวโน้มใดจะเกิดขึ้น และควรลงทุนไปในด้านใดจึงจะเหมาะสมด้วย การลงทุนงานวิจัยและการพัฒนาจึงสะท้อนวิสัยทัศน์ของผู้บริหารถึงแผนงานระยะยาวว่าทิศทางธุรกิจจะเดินทางไปในเส้นไหน และการลงทุนด้านงานวิจัยและการพัฒนา สิ่งที่สำคัญยิ่งคือความลับของหน่วยงานอย่างยิ่งยวด เพราะเป้าหมายหรือผลงานวิจัยที่ลงทุนไป หากคู่แข่งสามารถล่วงรู้ความลับเราก่อนในแผนงานวิจัย อาจนำแนวคิดไปทำการวิจัยต่อไปข้างหน้าและมีการพัฒนาให้ได้ผลงานออกมาก่อนหรือมีความเหนือกว่า และให้สำเร็จผลออกมาก่อน สิ่งที่ลงทุนกับงานวิจัยไปแล้วกลับอาจมีแต่ผลเสียหายต่อธุรกิจอย่างมหาศาลถึงขั้นล้มละลายได้ด้วยเช่นกัน

ซึ่งโดยความหมายของการวิจัยและพัฒนาก็คือ การศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด (เช่นผลิตภัณฑ์ วิธีการ กระบวนการ กลุ่มคน องค์ความรู้) เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งดังกล่าวเป็นอย่างดี และนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาใช้ให้เกิดการปรับปรุงหรือพัฒนาในสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ (Innovation) ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้านนวัตกรรมใหม่ๆ หรือเป็นด้านที่ทำเพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น จะเห็นว่าต่างก็มีคุณค่าด้วยกันทั้งสองด้านขึ้นอยู่กับวาระและโอกาส จากเหตุการณ์การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในอดีตของนักวิทยาศาสตร์ จะเห็นว่า เมื่อทำการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้ดีขึ้น เราก็อาจค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างไม่คาดคิด

การลอกและการเลียนแบบ หรือ Copy and Duplication: C&D เป็นก้าวแรกของการทำธุรกิจได้จริงหรือ

บทความในตอนเรื่องการลอกและการเลียนแบบเพื่อการพัฒนา หรือ Copy and Duplication +Development: C&D+D ในที่นี้มิใช้หมายถึงการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์สินค้าไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ Hardware หรือ Software จากผู้ผลิต และไม่ใช่การสนับสนุนการลอกเลียนแบบหรือการละเมิดลิขสิทธิ์จากผู้อื่นแต่อย่างไร แต่เป็นการนำเสนอแนวทางการริเริ่มทำธุรกิจ (Business Start Up) ที่ตนเองถนัดและมีความสามารถแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากจุดใหน ถ้าคิดจะผลิตสินค้าใดหรือการบริการใด การศึกษาผู้นำในตลาดซึ่งเป็นผู้ที่สามารถครองใจลูกค้าและมีการวิจัยและการพัฒนามาอย่างดีและทวนสอบความนิยมของลูกค้าในความพึงพอใจ การ Copy & Duplication มันไม่ได้แย่เสมอไป ถ้าเรารู้จักลอกและเลียนแบบ (Copy & Duplication) และการพัฒนา (Development) ในรูปแบบ C&D+D จะเป็นจุดที่เริ่มต้นดีได้กว่าไหมหากเราจะก้าวเดินในการทำธุรกิจในช่วงแรก ไม่มีอะไรผิดหรือไม่ใช่เป็นเรื่องน่าอายถ้าประสบความสำเร็จ ในความเป็นจริงเราต้องทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน หากทำเองไม่ได้ต้องเปลี่ยน R&D เป็น C&D+D และเมื่อความสำเร็จในธุรกิจ ก้าวต่อมาเราจึงเริ่มมาทำ R&D ได้ด้วยตัวเอง

หากศึกษาพื้นฐานยักษ์ใหญ่ในโลกเศรษฐกิจโซนเอเชีย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นประสบความเสียหายอย่างยับเยินในฐานะเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม นอกเหนือจากระเบิดปรมาณูที่ทำลายเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิแล้ว เมืองและเขตอุตสาหกรรมสำคัญยังถูกทิ้งระเบิดแบบปูพรมทางอากาศอย่างหนักหน่วง กำลังการผลิตที่สำคัญถูกทำลายเสียหายจนญี่ปุ่นอยู่ในสภาพพังพินาศหลังสงคราม แต่ญี่ปุ่นก็ได้วางเป้าหมายในการฟื้นฟูเศรษกิจเป็นประเด็นสำคัญอันดับ 1 และในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษญี่ปุ่นก็สามารถสร้างความเป็นมหาอำนาจ ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ปรากฏอย่างรวดเร็วการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (ค.ศ. 1953-1965) ผลที่เกิดขึ้นในช่วงขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ค.ศ. 1953-1965 ในปี ค.ศ.1968 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา

ต่อมาญี่ปุ่นก็ทำการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอยู่ตลอด อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมการต่อเรือ อุตสาหกรรมใยสังเคราะห์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทุกอย่างที่ประชากรโลกต้องการ ญี่ปุ่นก็จะผลิตให้ได้ตามความต้องการโดยเน้นที่ราคาถูกมากกว่า และทำ Copy and Duplication +Development: C&D+D อย่างเป็นระบบ โดยนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักมาถอดชิ้นส่วนทุกชิ้น แยกศึกษาหลักการทำงานของทุกชิ้นส่วน ด้วยความมีระเบียบวินัยในการศึกษาลอกเลียน ความใส่ใจในรายละเอียดตามอุปนิสัยของชาวญี่ปุ่น ความขยันขันแข็ง เป็นผลให้แนวทางการดังกล่าวสามารถผลิตสินค้าอุตสาหกรรมได้เช่นเดียวกันกับตัวแบบสินค้าเพื่อการใช้งานและการสร้างงาน หลังการเปิดประเทศของญี่ปุ่นในปีค.ศ.1868 แล้ววิ่งไล่ตามพัฒนาการของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของยุโรปด้วยการนำเข้าวิทยาการ และ ผู้มีความรู้ และ ส่งคนของตนออกไปเรียนรู้ความรู้ทุกแขนง จนเกิดอุตสาหกรรมขนาดใหญ่น้อย โรงงานเหล็ก และอื่น ๆอีกมากมายจนกระทั่งมีความรู้ความสามารถในการ สร้างเรือรบ และ เครื่องบินของตัวเอง จะสังเกตว่าก่อเกิดจากการทำ C&D+D เป็นผลให้อีกหลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชีย สามารถพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเฉกเช่นญี่ปุ่นคือประเทศไต้หวันและประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งการก้าวพ้นช่วงดังกล่าว อุตสาหกรรมในประเทศเหล่านี้ก็เริ่มมาทำ R&D เต็มรูปแบบและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าจากการวิจัยและการพัฒนา จนสามารถกล่าวได้ว่าก้าวเป็นผู้นำทางการค้าในหลายผลิตภัณฑ์

อีกกรณีศึกษาแนวทางการลอกเลียนแบบสินค้าจากประเทศจีนในช่วงสิบกว่าปีก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการลอกเลียนแบบโดยการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าอย่างชัดเจน เป็นสินค้าลอกเลียนแบบที่มีราคาถูกแต่คุณภาพต่ำ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการใช้แนวทาง C&D+D แต่จากการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลักโดยพาะสินค้าเทคโนโลยีจากประเทศในกลุ่มยุโรปและอเมริกาเข้าสู่ประเทศจีนด้วยปัจจัยค่าจ้างแรงงานต่ำ คนจีนมีความขยันขันแข็งรวมทั้งสามารถเลือกใช้แรงงานคุณภาพด้วยเพราะมีประชากรจำนวนมากให้คัดเลือก การเป็นฐานการผลิตเป็นส่วนที่สามารถทำให้อุตสาหกรรมจีนเจริญรุ่งเรือง และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทดังกล่าว มีผลให้ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศจีน สามารถก้าวเข้าสู่สินค้าคุณภาพที่ราคาเหมาะในแบรนด์สินค้าจีนที่สามารถยอมรับได้ซึ่งมาตรฐานที่ดี

การลอกและเลียนแบบ มีทั้งในแง่มุมอันเป็นที่ยอมรับ และไม่เป็นที่ยอมรับ สามารถเป็นได้ทั้งสิ่งที่ดีงามในกรณีที่เราพบเห็นสิ่งอันดีงามและถูกต้อง การลอกเลียนแบบโดยCopy แบบตรงๆเป็นการก็ย่อมเป็นสิ่งที่มิชอบและไม่สมควรกระทำ แต่ถ้าเรา Copy เพียงแนวคิดพื้นฐานและ Duplication ในระบบการทำงาน และดูผลตอบรับจากลูกค้าที่เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าเป็นที่ต้องการของตลาด แล้วเราก็ทุ่มสรรพกำลังทำในสิ่งที่มันเหนือกว่า มีความลงตัวที่แตกต่าง (Differentiation) ที่สามารถตอบสนองในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ดีกว่า ด้วยราคาและต้นทุนที่ต่ำกว่า การกระทำแบบนี้มัน คือ Copy & Duplication พร้อมทั้งการ Development มันเป็นเรื่องของความสามารถในสร้างธุรกิจในการแข่งขันได้ คู่แข่งขันที่เก่งจะไม่ใช่แค่ Copy & Duplication ธรรมดา แต่จะลอกและเลียนแบบเพื่อการพัฒนา คือจะศึกษาข้อดีข้อเสียผลิตภัณฑ์ และบริการของคู่แข่งขัน นำในสิ่งที่มาทำให้เสมอหรือดีกว่า อันเป็นที่ต้องการของตลาด การปรับปรุงจุดด้อยของผู้ที่ทำก่อน และนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีกว่า มีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า มีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการใช้งานที่น้อยกว่า สื่อสารให้กับลูกค้าทราบถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านั้นให้โดดเด่นกว่าและมีราคาที่ถูกกว่าได้ด้วยก็ยิ่งสร้างและเสริมแรง เป็นต้น

สัจธรรมของการทำธุรกิจในยุคปัจจุบันคือเราไม่สามารถหลีกหนีการลอกและการเลียนแบบผลิตภัณฑ์สินค้าหรือการบริการได้เลย วงการแข่งขันทางธุรกิจพอถึงจุดหนึ่งแล้วรูปแบบสินค้าก็จะมีลักษณะตามความนิยมคล้ายๆกัน แต่จะมีความแตกต่างกันบ้างก็เป็นการเลือกถึงฟังก์ชั่นการทำงานของสินค้า รูปแบบที่แตกต่างและดูดี มีสีสันเข้ากับรสนิยม ที่เป็นความชอบส่วนบุคคลมาประกอบด้วย ดังนั้นการทำงานด้านการตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการจึงต้องแข่งขันที่ในเรื่องนวัตกรรมที่เป็นเลิศและถูกใจ จึงต้องมีการทำงานด้านวิจัยและพัฒนามาช่วยปรัปรุงแก้ไข เพื่อการตอบสนองความต้องการ ให้มีทั้งความแตกต่าง ความรวดเร็ว ราคาที่เหมาะสมและคุณภาพที่ดี การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องรู้จักการรักษาจังหวะทางการตลาด ซึ่งมีทั้งช่วง หนัก-เบา รุก-รับ รวมทั้งการลอกให้ถูกที่ การเลียนให้ถูกทาง ของวงการธุรกิจ นักธุรกิจผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ มักเป็นผู้ที่มองการตลาดและความต้องการของลูกค้าได้ตรงและถูกใจ สามารถสร้างมูลค่าสินค้า จนสามารถสร้างแบรนด์สินค้าหรือบริการเป็นของตนเอง โดยเริ่มต้นจากก้าวแรกด้วยการลอกและการเลียนแบบ และก้าวสู่การมีแนวคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ในตนเองด้านผลิตภัณฑ์ มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ล้ำหน้าคู่แข่งผ่านการวิจัยและการพัฒนาอย่างเป็นระบบ การลอก และการเลียนแบบในเบื้องต้นคือบทเรียนเพื่อการพัฒนาในก้าวแรกของธุรกิจ การสร้างผลงานจากตนเองด้วยการทำวิจัยและการพัฒนาจึงป็นก้าวต่อๆมาเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างมั่งคงและยั่งยืนในอนาคตต่อๆไป


บรรณานุกรม: เอกสารเผยแพร่ www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/add-investment-sme-easy.htm โดย Krungsri GURU SME


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save