รมว.อว. ตรวจติดตามการดำเนินงาน วว. พร้อมมอบนโยบาย วว. มุ่งตอบโจทย์- เสริมศักยภาพ เกษตรกรและผู้ประกอบการด้วย วทน.


รมว.อว. ตรวจติดตามการดำเนินงาน วว. พร้อมมอบนโยบาย วว. มุ่งตอบโจทย์-เสริมศักยภาพ เกษตรกรและผู้ประกอบการด้วย วทน.

ปทุมธานี : เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานพร้อมมอบนโยบายให้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อตอบโจทย์และเสริมศักยภาพเกษตรกรและ ผู้ประกอบการให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แข่งกันในทุกๆตลาดการค้าได้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า วว.มีงานวิจัยที่ดีมากมาย อักทั้งนังมีหลายศูนย์วิจัย ซึ่งนอกจากศูนย์ที่เทคโนธานีแล้ว ยังมีการทำงานกระจายอยู่ตามศูนย์ต่างๆของ วว. ซึ่งการทำงานมุ่งเน้นวิจัย พัฒนา ด้าน BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมใน 3 มิติ หลัก ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bio Economy), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) เพื่อช่วยตอบโจทย์พัฒนาประเทศ สังคมและเศรษฐกิจบูรณาการองค์รวม ที่สำคัญช่วยเสริมองค์ความรู้ เสริมศักยภาพและสร้างรายได้แบบยั่งยืนให้กับเกษตรกรของประเทศไทย และผู้ประกอบ สตาร์ทอัพใหม่ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย SME ให้มีความเข้มแข็งแข่งขันกับต่างประเทศได้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)

ที่สำคัญ วว.ได้เก็บฐานข้อมูลจุลินทรีย์ไว้ประมาณ 19,000 ชนิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา เกษตรและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีผลงานอื่นๆที่น่าสนใจที่วว.ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำแบตเตอรี่, พัฒนาระบบรางรองรับขนส่งมลชนของประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ อุตสาหกรรมทางการแพทย์และอาหารเสริมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่จะสร้างให้เกิดรายได้ใหม่ๆ อาชีพใหม่ทดแทนอาชีพดั้งเดิมที่เกษตรกรทำอยู่ เช่น การทำนาปลูกข้าว การทำสวนยางพาราและการทำสวนผลไม้

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า วว. ได้ดำเนินนโยบายสอดรับนโยบายรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันผลงานวิจัย และงานบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายไปใช้ในการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรและผู้ประกอบการทุกประเภทให้มีความสามารถในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งบูรณาการความร่วมมือระหว่างนักวิจัยสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในระดับภูมิภาค ในระดับพื้นที่ ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายของ วว. และชุมชนฐานรากร่วมถ่ายทอดานวิจัย เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สำหรับผลงานของ วว. เช่น

1. ฐานข้อมูลจุลินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับชุมชน และอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Functional Food) ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และเวชสำอางจากจุลินทรีย์

รมว.อว.เยี่ยมชม ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM)
รมว.อว.เยี่ยมชม ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM)

2. โพรไบโอติก มีการดำเนินงานวิจัยพัฒนาเพื่อนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม มุ่งเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ครบวงจร ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ทดสอบจุลินทรีย์โพรไบโอติกมาตรฐาน ISO/IEC 17025, คลังเก็บรักษาสายพันธุ์โพรไบโอติก (Probiotic Bank) ที่เป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาจุลินทรีย์โพรไบโอติกประจำถิ่นที่มีศักยภาพ, ห้องปฏิบัติการเฉพาะทางภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 2 (Biosafety Level 2) สำหรับงานวิจัยพัฒนาเพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีศักยภาพกับอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ และอาหารนม และระบบกระบวนการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) เพื่อการผลิตจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม

3. สารชีวภัณฑ์ ป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ใช้ในทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ผลิตปุ๋ยชีวภาพ และ ควบคุมแมลง-โรค ศัตรูพืช ช่วยในการลดการใช้สารเคมี สนับสนุนระบบเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

4. ห้องปฏิบัติการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ (BioD) เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบฯ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ระดับสากลทั้งในและต่างประเทศ เช่น เยอรมนีและสหรัฐอเมริกา เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

เห็ดเพื่อชุมชน

5. เห็ดเพื่อชุมชน มีการเพาะเห็ดมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเห็ดทั่วไปสามารถเพาะได้โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ขี้เลื่อนไม้ยางพารา ฟางข้าว เป็นต้น ซึ่งวิธีการเพาะจะต้องเตรียมก้อนเชื้อเห็ด วว.ได้มีโครงการ อว.สร้างงานโดยรับคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติจริงให้แก่บุคคลดังกล่าว เป็นการสร้างอาชีพในอนาคต

6. ลำตะคองโมเดล เมืองน่าอยู่ และฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ (PROSEA) นำเสนอฐานข้อมูลความหลากหลายทางด้านชีวภาพ โครงการสำรวจรวบรวมทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือโครงการ Prosea นำไปสู่การอนุรักษ์พืชประจำถิ่นในพื้นป่าสะแกราช การปลูกอนุรักษ์นอกถิ่นในพื้นที่สถานีวิจัยลำตะคอง สู่การต่อยอดงานวิจัยการพัฒนาพันธุ์พืชพื้นบ้าน เช่น มะขามเปรี้ยวยักษ์ มะขามป้อม มะเม่า ผักหวานป่า ผักกูดเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้

นอกจากนี้ ยังมีการนำแมลงมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยใช้ชันโรงช่วยในการผสมเกสรในสวนกาแฟ ทำให้ติดผลดีขึ้น และได้กาแฟที่มีรสชาติจำเพาะ และการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อใช้ในการย่อยเศษอาหารจากครัวเรือน ได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์

บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายผลไม้สดออนไลน์

7. บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายผลไม้สดออนไลน์ โดย ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.) ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา “นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลไม้สด ส่งเสริมการขายออนไลน์” ประกอบด้วย นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ “กล่องเก็บกลิ่นทุเรียน ล็อคกลิ่นได้ 100%” , บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายมะม่วงออนไลน์ และ 3บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะบ่งชี้ความปลอดภัยปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไย เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและขนส่ง ผลผลิตทางเกษตรที่มีคุณภาพสูงในประเทศจำนวนมากที่ไม่ได้เก็บเกี่ยวทันเวลา ส่งผลให้เกิดความสูญเสีย เนื่องจากไม่มีตลาดรองรับ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการจัดหาหรือเพิ่มช่องทางจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

8. เซรามิก ยางพารา และบล็อกประสาน โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับวัสดุสุขภาพและการแพทย์ การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับวัสดุพลังงานและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้บริการวิเคราะห์ทดสอบสมบัติของวัสดุเซรามิก, แร่, พลาสติก, พอลิเมอร์ และยางพารา ทั้งทางด้านกายภาพ ทางเคมีและทางกล

9. ไม้ดอก ไม้ประดับ วว. ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และพันธมิตร ร่วมดำเนินกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SMEs ปีพ.ศ. 2563 ให้แก่ผู้ประกอบการในจังหวัดเลย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดนครราชสีมา เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพไม้ดอกไม้ประดับให้แก่ผู้ประกอบการ ช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

นอกจากนี้ วว.ยังร่วมมือกับภาคเอกชนสนับสนุนการขับเคลื่อนคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ผลการดำเนินงานร่วมกันสามารถสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาและเชื่อมโยงในรูปแบบคลัสเตอร์ จำนวน 30 คลัสเตอร์ มีผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ 4,246 ราย และสามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจหรือมีการขยายตัวในทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 472.12 ล้านบาท เป็นต้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save