คณะวิศวฯ มธ. เปิดตัว “Tham-Robot” หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ลดโอกาสเสี่ยงภัย COVID-19 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์


Tham-Robot” หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์

กรุงเทพฯ 31 มีนาคม 2563 – คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) เปิดตัวนวัตกรรม “Tham-Robot” หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์” รถเข็นอัจฉริยะเพื่อจัดส่งยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ตัวแรก ที่จำเป็นต่อการรักษาถึงมือผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ลดความเสี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย COVID-19 โดยตรงของบุคลากรทางการแพทย์ ภายใต้หลักการ Social Distancing ด้วยการกำหนดทิศทางรถเข็นด้วยรีโมทคอนโทรลจากห้องทำงาน โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังห้องพักของผู้ป่วย ทั้งนี้ เร่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการในการใช้งาน และขยายผลไปยังโรงพยาบาลอื่นที่ประสงค์ใช้งานภายในโรงพยาบาลในอนาคต

วัชระ อมศิริ

วัชระ อมศิริ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า ภายหลังที่มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อรองรับผู้ป่วย COVID-19 ซึ่งส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อทำการรักษา โดยกระบวนการรักษานั้น มีความเสี่ยงในการสัมผัสผู้ป่วย คณะทำงานซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จึงร่วมกันพัฒนา “Tham-Robot : หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์” รถเข็นอัจฉริยะเพื่อการจัดส่งยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ตัวแรก ที่จำเป็นต่อการรักษาถึงมือผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งเบาภาระความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ หรือเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนา 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่การก่อตั้งโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงโดยเร็วที่สุด

Tham-Robot

สำหรับ Tham-Robot ทำงานโดยใช้อุปกรณ์พิเศษติดตั้งที่บริเวณใต้รถเข็น เพื่อกำหนดทิศทางในการเคลื่อนที่ สำหรับการควบคุมการทำงานนั้น สามารถใช้รีโมทคอนโทรล (Remote Control) แบบไร้สาย ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ สามารถควบคุมในห้องทำงานได้ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังห้องพักของผู้ป่วย ทำให้ลดโอกาสการติดเชื้อมากยิ่งขึ้น สำหรับกิจกรรมที่คาดว่าสามารถใช้งาน Tham-Robot ได้แทนการเดินทางไปยังห้องพักผู้ป่วย อาทิ การบริการส่งยาระหว่างวัน การบริการส่งอาหาร รวมทั้งการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและอุจจาระ โดยสามารถควบตุมให้ Tham-Robot ปฏิบัติงานในส่วนนี้แทนบุคลากรทางการแพทย์ได้ นอกจากการทำงานภายในอาคารแล้ว จากการทดลองยังพบว่า Tham-Robot สามารถทำงานได้บนพื้นผิวถนนภายนอกอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Tham-Robot : หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์” ตัวต้นแบบแรกนี้ ได้นำไปใช้จริง ณ โรงพยาบาลสนาม ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เรียบร้อยแล้ว พร้อมเร่งผลิตเพิ่มเติมเพื่อรองรับความต้องการในการใช้งาน และขยายผลไปยังโรงพยาบาลอื่นที่ประสงค์ใช้งานภายในโรงพยาบาลอีกด้วย” วัชระ กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save