หอการค้าไทยจีนเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น Q2/2568 ชี้สงครามการค้าระหว่าง USA และจีน กระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทย  แนะสร้างภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยในประเทศ


ณรงค์ศักดิ์  พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน  เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยจีนประจำไตรมาสที่สองปี 2568ซึ่งได้มีการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 27 กุมภาพันธ์ 2568 โดยผู้ให้ข้อมูลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นประกอบด้วย 1) ประธานคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการหอการค้าไทยจีน 2) ประธานและกรรมการสมาชิกสมาคมต่างๆของสหพันธ์หอการค้าไทยจีน และ (3) กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ของหอการค้าไทยจีน รวมทั้งสิ้น  459 คน

การสำรวจครั้งนี้เพื่อรับทราบความคิดเห็นว่าสงครามการค้าของชาติมหาอำนาจจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2568 อย่างไรและผลกระทบที่จีนได้ดำเนินมาตรการตอบโต้ทางการค้าต่อสหรัฐอเมริกา ต่อแนวโน้มที่จีนส่งออกสินค้ามายังประเทศไทย โดยอาศัยแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเข้มแข็งของจีน อีกทั้งยังสำรวจผลกระทบทางลบของสงครามการค้าต่อสินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนท่ามกลางความร้อนระอุของสงครามการค้า

ผลของการสำรวจพบว่า ร้อยละ 69 ของผู้ตอบแบบสำรวจ ให้ความเห็นว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนจะมีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกในปี 2568 มีผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 15.5  คิดว่าผลกระทบดังกล่าวเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้นเพราะจะมีการเจรจาลดความขัดแย้งตามมา ขณะที่ส่วนน้อยให้ความเห็นว่าผลกระทบนั้นอยู่ในระดับวิกฤต ส่วนความเห็นต่อสงครามการค้าที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ มีร้อยละ 30.5 เห็นว่าผลกระทบนั้นเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่ก็ยังมีร้อยละ 51.5 ให้ความเห็นว่าจะมีผลกระทบเป็นอย่างมาก สรุปได้ว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนนั้นมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เป็นเรื่องพึงระวัง ที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และซึ่งยังไม่มีมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น

ที่ผ่านมาจีนมีมาตรการตอบโต้ทางการค้าต่อนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา และการตอบโต้ดังกล่าวของสองประเทศอาจจะมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการค้าระหว่างไทยและจีน ร้อยละ 51 ของผู้ตอบแบบสำรวจลงความเห็นว่าอาจจะมีผลกระทบต่อไทยบ้าง ในขณะที่ร้อยละ 24.3คาดว่าจะทำให้นักธุรกิจจีนมาลงทุนและค้าขายกับไทยมากขึ้น เพราะจีนเองนั้นก็ต้องหาแหล่งผลิตใหม่และส่งสินค้าออกมายังตลาดที่นิยมสินค้าจีนอยู่แล้ว ส่วนแนวโน้มที่จีนส่งสินค้าออกมายังไทยโดยอาศัยแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเข้มแข็งของจีนนั้น ร้อยละ 52.4 คาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะที่ ร้อยละ 33.7 ลงความเห็นว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

อาจกล่าวได้ว่าผลของมาตรการตอบโต้ของจีนต่อสงครามทางการค้ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยบ้าง แต่ในทางกลับกันจะทำให้นักธุรกิจจีนมาลงทุนในไทยและค้าขายกับไทยมากขึ้น โดยการค้าขายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็จะเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกันแต่อาจจะไม่มากนัก

ส่วนสินค้าส่งออกของไทยไปยังจีนนั้น พบว่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ใช้ทำยางล้อรถยนต์ชะลอตัวหรือหดตัวลงซึ่งเป็นผลมาจากสงครามการค้า ซึ่งสินค้าส่งออกเหล่านี้ เป็นสินค้าขั้นพื้นฐานชิ้นส่วนเพื่อนำไปประกอบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ที่จีนจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค

เพื่อบรรเทาผลกระทบของสงครามการค้า ทางออกหนึ่งคือประเทศไทยควรเจรจาเปิดเสรีการค้าให้ครอบคลุมประเภทสินค้าและบริการให้มากขึ้น โดยเฉพาะข้อตกลง RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างอาเซียนกับอีกหกประเทศในภูมิภาค จากการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 54 ให้ความเห็นว่าควรเร่งเจรจาเปิดเสรีโดยการลดภาษีให้ครอบคลุมรายการสินค้ามากขึ้นและเปิดภาคบริการให้มากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 42.3 ลงความเห็นว่าควรจะเจรจาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องเร่งรีบ

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568  แพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเยือนประธานาธิบดี สีจิ้น ผิงของจีน และทั้งสองประเทศได้วางแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศหลายด้าน การสำรวจได้ถามถึงมาตรการหรือโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศที่ควรจัดทำอย่างเร่งด่วน ผลการสำรวจความคิดเห็น พบว่า โครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีนและไทยได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ตามมาด้วยมาตรการการอำนวยความสะดวกทางด้านศุลกากรโดยเฉพาะสำหรับสินค้าเกษตร และมาตรการดึงดูดการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC 

ในหลายปีที่ผ่านมารถยนต์ไฟฟ้าของจีนได้รับความนิยมในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและพัฒนาการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จนในปัจจุบันบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ได้เข้ามาตั้งโรงงานในไทย และเริ่มสายการผลิตแล้ว จากการสอบถามความคิดเห็นถึงผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยได้คำตอบดังนี้ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนในประเทศไทยจะทำให้ เกิดการพัฒนาทักษะแรงงานและการจ้างงานมากขึ้นเป็นลำดับแรก ในลำดับที่สอง ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ  ตามมาด้วยการเปลี่ยนผ่านจากศูนย์กลางการผลิตรถยนต์สันดาปเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค และ การใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในไทยมากขึ้น ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าจีนสู่ผู้ประกอบการไทยนั้นยังเป็นข้อจำกัดอยู่ และสายการผลิตอาจจะใช้หุ่นยนต์มากขึ้น ซึ่งหมายความว่าการจ้างงานอาจจะไม่ได้สูงเท่ากับที่คาดการณ์ไว้

ในปี 2567 จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนที่มามายืนประเทศไทยมีจำนวน 6.7 ล้านคน ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 เป็นที่ทราบดีเพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศไทยสูงมากในแต่ละปี ในการสำรวจครั้งนี้ ได้สอบถามถึงปัจจัยท้าทายต่อการท่องเที่ยวของชาวจีนในปี 2568 ผู้ตอบแบบสำรวจ ให้ความเห็นว่าภาพลักษณ์ทางด้านความปลอดภัยและการหลอกลวงในประเทศไทยต้องรีบแก้ไขโดยเร็วที่สุด ประเด็นที่ตามมาคือสื่อออนไลน์ต่างประเทศที่ได้ประชาสัมพันธ์เชิงลบต่อการท่องเที่ยวในไทยต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วนตามมา เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวจีนมาเยือนเมืองไทยมากขึ้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save