TDRI ประเมินมาตรการ “ใช้ไฟฟรี” พร้อมเสนอ 3 ทางเลือกปรับนโยบาย ปิดช่องสิทธิรั่วไหลไม่ถึงคนจน


งานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยมาตรการไฟฟ้าฟรีช่วยผู้มีรายได้น้อย ปีพ.ศ.2556 – 2558 เข้าถึงครัวเรือนรายได้น้อยได้ค่อนข้างดี แต่ยังมีกลุ่มตกหล่น และสิทธิรั่วไหลไปยังคนไม่จนจริง คาดเป็นกลุ่มคนมีบ้านหลังที่สองจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ พบบางส่วนลดการใช้ไฟเพื่อให้ได้รับสิทธิ ส่งผลกระทบสร้างภาระอุดหนุนเพิ่มหลายล้านบาทต่อปี แนะอุดช่องโหว่นโยบาย เก็บตกคนจนให้ทั่วถึง หนุนยกเลิกผูกสิทธิตามโควต้าการใช้ ปรับเป็นแบบเหมาจ่ายต่อเดือน

TDRI ประเมินมาตรการ “ใช้ไฟฟรี” พร้อมเสนอ 3 ทางเลือกปรับนโยบาย ปิดช่องสิทธิรั่วไหลไม่ถึงคนจน

ดร.วิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นำเสนอผลงานวิจัย โครงการประเมินนโยบายไฟฟ้าฟรีเพื่อผู้มีรายได้น้อย ในงาน TSRI FORUM “ทางเลือกนโยบาย…เพื่อความเป็นธรรมด้านพลังงาน” ซึ่งสนับสนุน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ว่า ตามที่รัฐมีเป้าหมายศึกษานโยบายอุดหนุน “ไฟฟ้าฟรี” ในช่วงรัฐบาล คสช. ปี พ.ศ. 2556 – 2558 ที่อุดหนุนไฟฟรีให้แก่ครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนในอดีต หรือ 50 หน่วย ต่อเดือนในปัจจุบัน เพื่อประเมินผลนโยบายใน 5 มิติ ได้แก่ 1) การเข้าถึงสิทธิไฟฟ้าฟรีเทียบพื้นที่ครัวเรือนรายได้น้อย 2) การรั่วไหลของนโยบายไฟฟ้าฟรี 3) ความพอเพียงและความเหมาะสมของสิทธิ 4) การบิดเบือนพฤติกรรมของการบริโภคไฟฟ้า 5) ภาระเงินอุดหนุน และเสนอ 3 ทางเลือกนโยบายในการปรับปรุงมาตรการ เพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านพลังงาน

วิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ
ดร.วิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ

ดร.วิชสิณี ได้เทียบเคียงสัดส่วนผู้ที่ได้รับสิทธิไฟฟ้าฟรี กับครัวเรือนรายได้น้อยในแต่ละจังหวัด พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 64 ซึ่งหมายความว่าจังหวัดที่มีสัดส่วนครัวเรือนรายได้น้อยมากจะมีสัดส่วนผู้ได้รับสิทธิไฟฟ้าฟรีมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนักวิจัยไม่สามารถเชื่อมข้อมูลผู้ได้รับสิทธิไฟฟ้าฟรี กับฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมได้ จึงไม่ทราบว่าผู้ได้รับสิทธิไฟฟ้าฟรีนั้นส่วนใหญ่คือครัวเรือนรายได้น้อยจริงหรือไม่ แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จึงทำให้ไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าว ราว 10,996 ครัวเรือน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก จ.นครนายก จ.น่าน และ จ.ลำพูน อีกทั้งครัวเรือนที่ไม่มีมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นของตัวเองก็ไม่ได้รับสิทธิ ได้แก่ กลุ่มผู้เช่าอยู่ และผู้อาศัยในเพิงพักพิงชั่วคราว ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด ปี พ.ศ. 2558 มีจำนวน 15,497 ครัวเรือน

สำหรับปริมาณไฟฟ้าที่ภาครัฐให้การอุดหนุนให้ใช้ฟรี ใน ปี พ.ศ. 2558 อยู่ที่ไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน พบว่ายังต่ำกว่าความต้องการไฟฟ้าพื้นฐานของครัวเรือนรายได้น้อย เนื่องจาก การสำรวจสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เมื่อปี พ.ศ. 2559 พบว่าความต้องการใช้ไฟของครัวเรือนที่มีสมาชิก 2.5 คน มีความจำเป็นใช้ไฟขั้นต่ำอยู่ที่ 60 หน่วยต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าที่รัฐอุดหนุน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยของประเทศไทยส่วนใหญ่มีจ่านวนสมาชิกโดยเฉลี่ย 3.3 -3.5 คนต่อครัวเรือน และครัวเรือนรายได้น้อยเกือบ 25 % มีจ่านวนสมาชิกมากกว่า 5 ดังนั้นการอุดหนุนจึงยังไม่เพียงพอและไม่เป็นธรรมสำหรับครัวเรือนที่มีขนาดใหญ่

งานวิจัย โครงการประเมินนโยบายไฟฟ้าฟรีเพื่อผู้มีรายได้น้อย

ขณะที่ผลศึกษาปัญหาการรั่วไหลของนโยบายไฟฟ้าฟรี พบว่า ยังมีการรั่วไหลไปนอกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งพิจารณาจากครัวเรือนที่ใช้ฟ้าน้อยกว่า 50 หน่วยต่อเดือนแต่ไม่สม่ำเสมอ สันนิษฐานว่าอาจเป็นบ้านหลังที่สอง ที่ไม่ควรได้รับสิทธิไฟฟ้าฟรี

“ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 25558 พบว่า เงินอุดหนุนที่รั่วไหลในเขตการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่อุดหนุนให้กับการรั่วไหลที่อาจไปยังบ้านหลังที่สอง มีมูลค่าสูงถึง 830 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ผลกระทบจากนโยบาย ยังทำให้เกิดกรณีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลดการใช้ไฟฟ้าลง 1-2 หน่วย เพื่อได้รับสิทธิไฟฟ้าฟรี ซึ่งเห็นได้จากข้อมูลการใช้ไฟของประเทศไทยในช่วงที่มีมาตรการไฟฟ้าฟรี กระจุกอยู่ที่ 50 หน่วยต่อเดือน เป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีแง่ดีในแง่การลดใช้พลังงาน แต่ก็ได้เพิ่มภาระในการอุดหนุนอย่างน้อย 18 – 23 ล้านบาทต่อปีด้วยเช่นกัน” ดร.วิชสิณี กล่าว

ด้วยนโยบายไฟฟ้าฟรี ใช้วิธีการอุดหนุนแบบไขว้ ดร.วิชสิณี จึงวิเคราะห์ว่าทำให้ทุนค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 โดยภาระเกือบทั้งหมดตกอยู่กับผู้ใช้ไฟประเภทกิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม การผลิตอาหาร โรงแรม ผลิตเครื่องจักร สิ่งทอ และเหล็ก ซึ่งถือเป็นภาระที่ไม่สูงมากนักเพื่อปรับปรุงนโยบายสร้างความเป็นธรรมด้านพลังงานในอนาคต ดร.วิชสิณีได้ เสนอแก้ปัญหาสำคัญ คือ สิทธิที่ยังรั่วไหลและเข้าไม่ถึงผู้มีรายได้น้อยจริง ด้วย 3 นโยบายทางเลือก รวมถึงทางแก้ไขการอุดหนุนที่ยังไม่เหมาะสมเพียงพอ ประกอบด้วย

นโยบายทางเลือก

ทางเลือกแรกคือ ใช้กลไกระบุตัวผู้ได้รับสิทธิ ผ่านการลงทะเบียนสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย ปี พ.ศ. 2560 โดยกระทรวงการคลัง

ทางเลือกที่สอง คือ การระบุผู้มีรายได้น้อยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลจากแผนที่ความยากจนของสำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อระบุพื้นที่ ควบคู่กับ ขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการระบุตัวคนรายได้น้อย

ทางเลือกที่สาม คือ การระบุผู้มีรายได้น้อยจากข้อมูลที่ขนาดใหญ่ (Big Data) เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลเพื่อการบริหาร (Administrative Data) เช่น บิลค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ การใช้โทรศัพท์มือถือ โดยทั้งสามทางเลือก เสนอใช้วิธีการอุดหนุนค่าไฟฟรีแบบเหมาจ่าย แทนการผูกสิทธิกับปริมาณใช้ไฟ ผ่านบัตร Smart Card เพื่อแก้ปัญหาการมีพฤติกรรมใช้ไฟบิดเบือน และเสนอใช้งบประมาณอุดหนุนที่มาจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐาน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save