สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการ “ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าและการป้องกันระบบไฟฟ้าในระบบส่งจ่ายไฟฟ้า” ในระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2567 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ
Chapter I : เรื่อง “ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย: แรงดันเกิน การฉนวนไฟฟ้าแรงสูง การควบคุม และกรณีศึกษา”
ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า (Electrical Transients) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าทางไฟฟ้า แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าอย่างกะทันหัน และรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์อย่างทันทีทันใดในวงจร เช่น การเปิดหรือปิดสวิตช์ หรือเกิดผิดพร่อง ขึ้นในระบบ ช่วงเวลาการเกิดทรานเซี้ยนต์จะมีช่วงสั้นมาก ซึ่งช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่นนั้น ในสถานะคงตัว (steady state) หรือ ทำางานปกติจะไม่มีความหมายหรือความสำาคัญเลย แต่ในช่วงเวลาของการเกิดทรานเซี้ยนต์จะมีความสำาคัญยิ่งยวด เพราะใน ช่วงเวลาสั้นๆ ดังกล่าวนั้น องค์ประกอบต่างๆ ของวงจรจะได้รับความเครียด (Stress) ทั้งทางไฟฟ้าและทางกลสูงมาก อันเป็นผล จากแรงดันหรือกระแสที่มีค่าสูงมากเกินปกติ เรียกว่า แรงดันเกิน (Overvoltage) หรือกระแสเกิน (Overcurrent) ในกรณีที่ เกิดแรงดันเกินหรือกระแสเกินมากไปย่อมทำาให้เกิดความเสียหายแก่ระบบไฟฟ้าได้มากมายดังกล่าวข้างต้น จึงต้องทำาความ เข้าใจให้ชัดแจ้งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาของการเกิดทรานเซี้ยนต์ เมื่อก่อนเรื่องทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่อง คลุมเครือสำาหรับวิศวกร หรือวิศวกรจะมีความคิดที่ไม่ชัดเจนว่าอะไรเกิดขึ้นในวงจร เป็นสิ่งลึกลับสุดวิสัย แต่ปัจจุบันเราสามารถ ทำาความเข้าใจถึงพฤติกรรมของทรานเซี้ยนต์ได้ คำานวณได้ และในบางกรณียังสามารถป้องกันได้ หรืออย่างน้อยสามารถควบคุม ได้ ไม่ทำาให้เกิดอันตรายต่อวงจรและระบบส่งจ่าย
ในระบบส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าจะมีทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นต้นเหตุที่นำาไปสู่การเกิดความผิดพร่อง (Fault) ขึ้นในระบบได้ และเกิดการหยุดชะงักของการส่งจ่ายกำาลังไฟฟ้า หรือไฟฟ้าดับ จะทำาให้เกิดความเสียหาย ทำาให้ระบบส่งจ่าย ขาดเสถียรภาพ ความเชื่อถือได้ลดลง ดังนั้นวิศวกรหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทำางานของระบบส่งจ่ายต้องมีความรู้ ความ เข้าใจในเรื่องทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า
Chapter II: เรื่อง “การป้องกันระบบไฟฟ้า: ทฤษฎี และกรณีศึกษา”
งานการป้องกันระบบไฟฟ้า นับเป็นหัวใจสำาคัญของการจ่ายไฟฟ้า เป็นตัวกำาหนดความปลอดภัย ความมั่นคงและความ เชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำาคัญอย่างยิ่งที่สนับสนุนกิจการในทุกๆ ด้านความผิดปกติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความสูญเสียและความเสียหายอันเนื่องมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำารุดเสียหาย หรืออุปกรณ์ป้องกันทำางานผิดพลาด ล้วนเป็นอุปสรรค ต่อการจ่ายไฟฟ้า และทำาให้เกิดการสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาลต่อผู้ประกอบการและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
การไฟฟ้าหรือผู้ผลิตแต่ละรายมีปรัชญาการป้องกันระบบไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคของตนเองที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ล้วนมีวัตถุประสงค์ให้การป้องกันระบบไฟฟ้ามีการประสานการทำางานเหมือนกัน นั่นคือการจำากัดบริเวณและเวลาของฟอลต์ ในการสร้างความปลอดภัย มั่นคงของการจ่ายไฟ ในปัจจุบันการควบคุมป้องกันและการสั่งการของระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ที่มีการ ใช้พลังงานหมุนเวียนสูงจะต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อของระบบไฟฟ้า ข้อจำากัดในการช่วย จ่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ความแปรปรวนของพลังงานหมุนเวียนและความหลากหลายในลักษณะของระบบใหม่ จึงจำาเป็นจะต้องมีแนวทางใหม่ๆ ในการป้องกันระบบไฟฟ้าเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้
วัตถุประสงค์การจัดสัมมนา
- สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่วิศวกรไฟฟ้า และช่างไฟฟ้า เกี่ยวกับทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าและการ ป้องกันระบบไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย
- สร้างความรู้ด้านการวิเคราะห์ปัญหาทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า และการป้องกันระบบไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย และตัวอย่างกรณีศึกษา
- สร้างความรู้ด้านการป้องกันและควบคุมปัญหาทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า และการป้องกันระบบไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย และตัวอย่างกรณีศึกษา
- เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาแรงดันเกิน และการฉนวน ไฟฟ้าแรงสูง และการป้องกันระบบไฟฟ้า
- รับทราบแนวทางเทคนิค การป้องกัน การควบคุม แรงดันเกิน และการป้องกันระบบไฟฟ้า และปัญหาต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
กลุ่มเป้าหมาย
- วิศวกรและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานการไฟฟ้าฯ ผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชน ทำงานเกี่ยวกับระบบส่งจ่ายไฟฟ้า
- วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติงาน ทำงานเกี่ยวกับระบบส่งจ่ายไฟฟ้า
- ที่ปรึกษา ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา ที่ปฏิบัติงาน ทำงานเกี่ยวกับระบบส่งจ่ายไฟฟ้า
- อาจารย์มหาวิทยาลัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียน Online สำรองที่นั่งได้ที่ www.greennetworkseminar.com/transient/
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร:0-2354-5333 Ext. 500/503
หรือที่ e-mail : seminar@greennetworkseminar.com