พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยทิศทางภัยไซเบอร์ปี 2568 พร้อมปรับกลยุทธ์สู่แพลตฟอร์มรวมศูนย์


AI

พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ (Palo Alto Networks) ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เผยว่า AI กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่องค์กรต่างเร่งนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ทั้งในกระบวนการธุรกิจและการปกป้องระบบจากภัยคุกคามไซเบอร์

อย่างไรก็ตาม รายงานจาก PwC ระบุว่าผู้นำองค์กรกว่า 40% ยังขาดความเข้าใจในความเสี่ยงจากเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น Generative AI โดยในปี 2568 AI จะกลายเป็นหัวใจหลักของระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ โดยองค์กรจะต้องใช้ AI เพื่อจัดการความเสี่ยงเชิงรุก และเน้นการป้องกันภัยคุกคามที่ซับซ้อนมากขึ้น พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับโมเดล AI ที่องค์กรพัฒนาขึ้นเอง แม้ AI จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับการป้องกันภัยไซเบอร์ แต่การขาดความเข้าใจในอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีนี้ ถือเป็นช่องโหว่สำคัญที่ผู้นำองค์กรต้องเร่งแก้ไข เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายของยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ไซมอน กรีน ประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นของ Palo Alto Networks เปิดเผยว่าในปี 2568 ภูมิภาคจะเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในด้านความซับซ้อนและผลกระทบที่รุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้มาตรการรักษาความปลอดภัยแบบแยกส่วนไม่เพียงพออีกต่อไป องค์กรจำเป็นต้องปรับตัวสู่ แพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่โปร่งใสและน่าเชื่อถือ เพื่อรับมือกับยุทธวิธีโจมตีรูปแบบใหม่ เช่น การใช้ควอนตัมและ Deepfake หากธุรกิจไม่สามารถรับมือได้ อาจเผชิญทั้งปัญหาข้อมูลรั่วไหล ความเสียหายต่อชื่อเสียง และความล้มเหลวที่แก้ไขไม่ได้ ทางเลือกจึงมีเพียงปรับตัวให้ทัน หรือเสี่ยงต่อการถูกโจมตีและสูญเสียอย่างมหาศาล

ปิยะ จิตต์นิมิตร

ด้านปิยะ จิตต์นิมิตร ผู้จัดการประจำประเทศไทยของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชันในประเทศไทยทำให้ภาครัฐและองค์กรต้องหันมาทบทวนการป้องกันตนเองใหม่ เพราะวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วอย่าง AI และควอนตัมคอมพิวติ้งทำให้สถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์เข้มข้นยิ่งขึ้นทั้งในเรื่องความซับซ้อนและความร้ายแรง การผสานรวม AI ตั้งแต่ระดับโค้ดโปรแกรมจนถึงคลาวด์ทำให้เกิดช่องโหว่ใหม่ที่สร้างปัญหาข้อมูลรั่วไหล จึงควรมีการยกระดับนโยบายและเทคโนโลยีให้มีความพร้อมยิ่งขึ้น อีกทั้งยังควรเน้นย้ำถึงแนวทางปฏิบัติด้าน AI อันมีจริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ทั้งการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีความรับผิดชอบ การทำงานเป็นแพลตฟอร์มจะมีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคตอันใกล้นี้ และการรวมระบบไอทีและเครื่องมือรักษาความปลอดภัยไว้ในแพลตฟอร์มเดียวจะทำให้กระบวนการทุกอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ประเด็นด้านการโจมตีทางไซเบอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และการผสานรวมควอนตัม AI เพื่อโซลูชันที่ประหยัดพลังงานได้ดีกว่าเดิม แนวโน้มคาดการณ์เหล่านี้จะช่วยวางแนวทางแก่องค์กรในการปรับกลยุทธ์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ปิยะ กล่าวอีกว่า ในปี 2568 องค์กรจะเผชิญความซับซ้อนด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น จนต้องลดจำนวนเครื่องมือที่ใช้งาน และหันมาใช้แพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ที่ให้การควบคุมและมุมมองที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น การขาดแคลนบุคลากรด้านไซเบอร์ยิ่งเร่งให้แนวโน้มนี้เกิดขึ้นเร็วขึ้น เนื่องจากแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ช่วยเพิ่มการมองเห็นและบริบทเชิงสถานการณ์ในทุกส่วน ตั้งแต่คลาวด์ไปจนถึงศูนย์ SOC การรวมระบบรักษาความปลอดภัยทุกระดับไว้ในแพลตฟอร์มเดียวช่วยให้องค์กรมองเห็นภาพรวมชัดเจนผ่านแดชบอร์ดไม่กี่จุด ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงการทำงาน และสร้างภูมิคุ้มกันที่ยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

“แม้ว่าอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยังคงเผชิญปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ แต่แนวโน้มที่น่าสนับสนุนคือมหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในสาขานี้มากขึ้น หลายสถาบันได้เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับ Cyber Security ในหลักสูตรต่างๆ โดยบางแห่งได้ยกระดับเป็นการจัดตั้งคณะหรือภาควิชาเฉพาะทาง เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความรู้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม” ปิยะ กล่าว

กระแส Deepfake ภัยคุกคามที่ต้องเฝ้าระวัง

นอกจากนี้ ในปี 2568 Deepfake จะกลายเป็นเครื่องมือที่ถูกนำไปใช้ในการโจมตีมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาชญากรที่มีความชำนาญจะคอยปรับปรุงเทคโนโลยี Generative AI ที่ใช้งานให้สามารถโจมตีเป้าหมายด้วย Deepfake ที่ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้ Deepfake ประเภทเสียงในการหลอกลวงมากขึ้น อันเป็นผลจากเทคโนโลยีการโคลนเสียงที่เหมือนจริงยิ่งกว่าเดิมในปัจจุบัน

ขณะที่การขยายตัวของโครงการควอนตัมคอมพิวเตอร์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำไปสู่ความเสี่ยงจากกลุ่มผู้โจมตีที่มีรัฐหนุนหลัง ซึ่งใช้กลยุทธ์ “รวบรวมไว้ก่อน ถอดรหัสทีหลัง” โดยเล็งเป้าหมายไปที่ข้อมูลลับที่อาจถูกถอดรหัสด้วยเทคโนโลยีควอนตัมในอนาคต ภัยนี้กระทบต่อการสื่อสารระดับพลเรือนและการทหาร โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ และธุรกรรมการเงินออนไลน์ อีกทั้งองค์กรพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังเสี่ยงถูกโจมตีเชิงจารกรรม องค์กรจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการต้านทานควอนตัม เช่น การเข้ารหัสที่ทนทานต่อภัยควอนตัม (Quantum-Resistant Encryption) ไลบรารีการเข้ารหัสที่หลากหลาย และเทคโนโลยีเข้ารหัสที่ล้ำสมัย เพื่อเสริมความปลอดภัย ขณะที่การเข้ารหัสมาตรฐานระดับทางการทหารยังคงปลอดภัย

ด้าน AI ในปี 2568 ฝ่ายนิติบัญญัติในเอเชียแปซิฟิกจะให้ความสำคัญกับจริยธรรม ความโปร่งใส และการปกป้องข้อมูล การสื่อสารเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล การเทรนโมเดล และกระบวนการตัดสินใจ จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความไว้วางใจใน AI องค์กรจะมุ่งเน้นความมั่นคงในซัพพลายเชน โดยประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงข้อสัญญาประกันภัยเพื่อรับมือสถานการณ์หยุดชะงัก ขณะที่ความเสี่ยงจากระบบคลาวด์ที่ซับซ้อนจะทำให้การตรวจสอบและติดตามแบบเรียลไทม์กลายเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรักษาประสิทธิภาพของโครงสร้างระบบและแอปพลิเคชันในยุคที่ภัยคุกคามเพิ่มขึ้น

ปิยะ จิตต์นิมิตร

Precision AI ก้าวล้ำสู่อนาคตแห่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน Palo Alto Networks กำลังพัฒนา Precision AI โดยผสานจาก Machine Learning, Deep Learning ที่วิเคราะห์ในเชิงพฤติกรรม และ Generative AI ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีสำคัญในอนาคตสำหรับการยกระดับระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ Precision AI จะถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่างๆ ของบริษัท เพื่อสร้างเครือข่ายการป้องกันที่เชื่อมโยงและมีประสิทธิภาพสูงสุด

เทคโนโลยี Precision AI จะถูกฝังไว้ในทุกโซลูชันของ Palo Alto Networks เช่น โซลูชันด้านเครือข่าย (Network Security), ความปลอดภัยของผู้ใช้งานปลายทาง (Endpoint Security), ระบบบนคอมพิวเตอร์ และการรักษาความปลอดภัยในคลาวด์ (Cloud Security) ความโดดเด่นของ Precision AI คือความสามารถในการรวบรวมและแชร์ข้อมูลระหว่างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในระบบ ทำให้เกิดมุมมองแบบองค์รวม (Holistic View) ต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น หากมีภัยคุกคามที่เริ่มจากอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint) Precision AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและเชื่อมโยงไปยังการป้องกันในระบบเครือข่ายหรือคลาวด์ได้ทันที โดยการมองข้อมูลข้ามส่วนต่างๆ เช่น เครือข่าย อุปกรณ์ผู้ใช้งาน และแพลตฟอร์มคลาวด์ Precision AI จะช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามได้แบบเรียลไทม์ (Real-Time) และลดความซับซ้อนของกระบวนการตรวจจับและป้องกัน Palo Alto Networks จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรทั่วโลกสามารถรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงปลอดภัยในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save