สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ชี้ไทยนิยมอาหารทะเลต่อเนื่อง คาดดันยอดขายในไทยเติบโต 16% ในปี 2573


อิมแพค – 27 พฤษภาคม 2568 :ในปี 2568 นอร์เวย์ประสบความสำเร็จในการก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยปริมาณการส่งออกอาหารทะเลระดับพรีเมียมกว่า 2.8 ล้านตัน ไปยัง 150 ตลาดทั่วโลก หรือเทียบเท่ามื้ออาหารกว่า 38 ล้านมื้อต่อวัน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 5.60 แสนล้านบาท (1.75 แสนล้านโครนนอร์เวย์) ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่ในประวัติศาสตร์การส่งออกอาหารทะเลของนอร์เวย์

สำหรับประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นตลาดอันดับหนึ่งของนอร์เวย์ในภูมิภาคนี้ โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 13% ที่หนึ่งหมื่นล้านบาท (3.06 พันล้านโครนนอร์เวย์) และมีปริมาณเพิ่มขึ้น 8% คิดเป็น 42,500 ตัน โดยในจำนวนนี้ 91% เป็นปลาในตระกูลแซลมอนสด (แซลมอนและฟยอร์ดเทราต์รวมกัน) สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่ออาหารทะเลสดคุณภาพสูง และจุดยืนของแบรนด์ ‘Seafood from Norway’ ที่แข็งแกร่งในประเทศไทย

ภายในงาน THAIFEX – Anuga Asia 2025 ผู้ส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์จำนวน 21 ราย ได้ร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์อาหารทะเลระดับพรีเมียมหลากหลายชนิด ในระหว่างวันที่ 27 – 31 พฤษภาคม ณ Seafood from Norway Pavilion อาคารชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 ประตูทางเข้า 1 หมายเลขบูธ K29 – L29 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

คริสเตียน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เปิดเผยว่า ปี 2567 ที่ผ่านมาเป็นปีที่ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการผลิตแซลมอนเป็นอย่างมาก รวมถึงความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์ยังสามารถส่งออกทะเลกว่า 60 สายพันธุ์ ไปมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก และมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลของนอร์เวย์ก็เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยในช่วงปี 2563 ถึง 2567 เพียงระยะเวลา 5 ปี มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นราว 2.25 แสนล้านบาท (เจ็ดหมื่นล้านโครนนอร์เวย์) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในตลาดโลกได้เป็นอย่างดี

นอร์เวย์อยู่ในสภาพแวดล้อมทางการค้าที่เอื้ออำนวยสำหรับการทำการตลาดในประเทศไทย อันเป็นผลมาจากความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่เพิ่งลงนามร่วมกันภายใต้กรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ในปัจจุบัน อาหารทะเลมีสัดส่วนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมดจากนอร์เวย์มายังประเทศไทย ความตกลงนี้คาดว่าจะช่วยลดอุปสรรคทางการค้า กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า และลดภาษีนำเข้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในช่วงอีกหลายปีข้างหน้า โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดประเทศไทยจะเติบโตขึ้นถึง 16% ภายในปี 2573

โอซฮิลด์ นัคเค่น ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เปิดเผยว่าตลาดประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับอาหารทะเลจากนอร์เวย์ แซลมอนครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 70% และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย ขณะที่ฟยอร์ดเทราต์ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และนอร์วีเจียนซาบะก็เป็นเมนูที่พบได้บ่อยในร้านอาหารญี่ปุ่น ในประเทศไทยมีร้านอาหารญี่ปุ่นกว่า 5,700 แห่ง และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการบริโภคอาหารทะเลจากนอร์เวย์

ตารางข้อมูลการนำเข้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์มายังประเทศไทยในปี 2567

ประเภทปลา ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (บาท) มูลค่า (พันล้าน)
แซลมอน 19,000 6 พันล้าน 1.9 พันล้าน
ฟยอร์ดเทราต์ 8,000 2.31 พันล้าน 722 ล้าน
นอร์วีเจียนซาบะ 11,500

 

ในปี 2567 ประเทศไทยนำเข้าปลาแซลมอนจำนวนทั้งสิ้น 19,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าหกพันล้านบาท (1.9 พันล้านโครนนอร์เวย์)ฟยอร์ดเทราต์จำนวน 8,000 ตัน มูลค่า 2.31 พันล้านบาท (722 ล้านโครนนอร์เวย์)และนอร์วีเจียนซาบะจำนวน 11,500 ตัน มูลค่า 940 ล้านบาท (293 ล้านโครนนอร์เวย์)

“ปี 2568 เป็นอีกหนึ่งปีที่น่าตื่นเต้น เพราะยังเป็นโอกาสครบรอบ 120 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและนอร์เวย์อีกด้วย เราเตรียมกิจกรรมการตลาดไว้มากมาย อาทิ แคมเปญ ‘Salmon Saturday เสาร์สุดฟิน ชวนกินแซลมอน’ ที่เชิญชวนให้ผู้บริโภคเลือกกินหรือทำเมนูแซลมอนในวันเสาร์ โดยร่วมมือกับร้านอาหารและร้านค้าพาร์ทเนอร์ทั่วประเทศ, แคมเปญ ‘From Sea to Sky: 120 Years of Friendship จากท้องทะเลสู่น่านฟ้า 120 ปีแห่งมิตรภาพไทย-นอร์เวย์’ ร่วมกับการบินไทย, เทศกาล Seafood from Norway ซึ่งมุ่งสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในวงกว้าง ตลอดจนกิจกรรมอีกมากมายตลอดทั้งปี“ โอซฮิลด์ นัคเค่น กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save