NIAผนึกผู้นำภาครัฐร่วมถกแนวทางเร่งด่วนออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ เปิดเวทีเชิดชูเกียรติบุคคลผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย


สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIAโดยสถาบันวิทยาการนวัตกรรม หรือ NIA Academyภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมเปิดเวทีในงาน “Policy Innovation Recognition” ซึ่งเป็นเวทีเชิดชูเกียรติบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย ที่สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาการดำเนินงานทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศโดยภายในงานมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาเข้าร่วมงาน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางในการสร้างสรรค์นโยบายเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน พร้อมทั้งเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และนางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ Thai PBS ร่วมเสวนาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ”

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาที่มีความซับซ้อนหลายด้าน เช่น การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมความยากจน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นการออกแบบหรือพัฒนา นวัตกรรมเชิงนโยบายจึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถ แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน NIA จึงได้ริเริ่มและจัดอบรมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมสำหรับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ภาครัฐและเอกชน (Public and Private Chief Innovation Leadership) หรือ PPCIL มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยมุ่งเน้นสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่สามารถสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเน้นย้ำความสำคัญของหลักคิดเชิงกระบวนการของการพัฒนาออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติ

“ทั้งนี้ความสำคัญของการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายในการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนของประเทศไทย ต้องใช้ทักษะที่หลากหลายนอกเหนือจากองค์ความรู้ และเครื่องมือต่าง ๆ ยังจะต้องอาศัย หลักคิดที่สร้างสรรค์ ค้นหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหา กระตุ้นให้เกิดแนวคิดและวิธีการใหม่ สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม สร้างระบบคิดแบบบูรณาการ เศรษฐศาสตร์ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี อีกทั้งยังต้องอาศัยความยืดหยุ่นและการปรับตัว ตามสถานการณ์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เช่นปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการวิเคราะห์และคาดการณ์อนาคตเพื่อหาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัญหา และยังต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของการแก้ไขปัญหาที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบในระยะยาวรวมถึงการมุ่งเน้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพด้วย สำหรับงาน ‘Policy Innovation Recognition’ ถือเป็นการต่อยอดจากโครงการ PPCIL ที่มุ่งเน้นเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายและการบริหารจัดการระดับประเทศซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้รวมทั้งสิ้น 477 คน ครอบคลุม 5 ภาคส่วนหลักของประเทศ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการเมือง ภาคความมั่นคง ภาคสื่อและประชาสังคม โดยงานวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นการยกย่องความสำเร็จของผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย แต่ยังเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายทั้งระดับองค์กร สังคม และประเทศได้อย่างแท้จริง”

ดร.กริชผกา กล่าวเพิ่มเติมว่า เวที Policy Innovation Recognition ที่จัดขึ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและยกย่องบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตร PPCIL แล้วนำเอาองค์ความรู้ ความสามารถทางนวัตกรรมไปใช้ในการสร้างออกแบบและขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบายที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาสังคมทั้งระดับองค์กรและประเทศรวมถึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการขยายผลการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้จริงในวงกว้าง ซึ่งภายในงานมีการจัดเวทีเสวนาพิเศษ ภายใต้หัวข้อ “แนวทางการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงาน มาร่วมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้แนวคิดนวัตกรรมเชิงนโยบายในการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่มีความท้าทายในบริบทของประเทศไทย โดยการเสวนามุ่งเน้นนำเสนอแนวทาง การออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายที่สามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการคาดการณ์ การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

การถอดบทเรียนสำคัญจากสถานการณ์อุทกภัยดินโคลนถล่ม. เชียงราย เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาต่างๆ ที่ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และการได้รับการเยียวยาอย่างรวดเร็วเพื่อให้ประชาชนที่ประสบภัยสามารถกลับเข้าสู่ชีวิตประจำวันได้ปกติ ขณะที่ปัจจุบันทุกภาคส่วนก็มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่จะทำอย่างไรที่จะมีการบูรณาการร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับคนในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือโดยการขับเคลื่อนนโยบายในเชิง POLICY ทั้งนี้มองว่าหากมีการสร้างแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) ขึ้นมาโดยการนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์การเข้ามาช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติที่จังหวัดเชียงรายนั้น อาจจะเป็นพื้นที่ที่เราสามารถดำเนินการได้หลากหลาย อาทิ การวางผังเมือง การเตือนภัยก่อนการเกิดภัยพิบัติให้ได้ทราบล่วงหน้า การให้เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างถูกจุด อีกทั้งยังเชื่อว่าการสร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี AI เหล่านี้ หรือการสร้างนวัตกรรมเชิงนโยบาย ไม่เพียงแต่จะเป็นการนำร่องในพื้นที่ จ.เชียงรายเท่านั้น เพราะกรณีภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจจะเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ผลกระทบจากทั่วโลก ทั้งนี้หากมีการบูรณาการกับทุกภาคส่วนในด้านการสร้างนวัตกรรมเชิงนโยบาย จะสามารถเข้ามาตอบโจทย์และช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ยกตัวอย่างบนเวทีเสวนาเรื่องการนำร่อง เรื่องเรือกู้ภัยไฟฟ้าพลังานโซล่าเซลล์ โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดอุบลราชธานี ที่นำนวัตกรรมเทคโนโลยีโดยการร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคนครอุบลราชธานี พัฒนานวัตกรรมเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่มีขนาดมอเตอร์ขับเรือขนาด 1,200 วัตต์ สามารถบังคับเรือให้วิ่งเดินหน้า ถอยหลังได้ ระบบคันเร่งแบบบิดที่สามารถชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างต่อเนื่อง และวิ่งได้ในขณะที่ไม่มีแสงอาทิตย์บรรทุกผู้โดยสาน 1,000 กิโลกรัม หรือประมาณ 10 คน ใช้พลังงานแบตเตอรี่ คิดเป็นร้อยละ 12 หรือ (ประมาณ 8กิโลเมตรต่อการชาร์จ1ครั้ง) จะสามารถหนุนเสริมในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยและลดอัตราความเสียหายได้ ลดต้นทุนเชื้อเพลิง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนับเป็นนวัตกรรมที่ควรเร่งผลักดันไปสู่เชิงพาณิชย์จะสามารถเกิดประโยชน์เป็นวงกว้าง

NIAยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องภัยพิบัติ หากหน่วยงานหรือผู้ประกอบการใดมีข้อเสนอหรือ ไอเดียที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเชิงนโยบาย เชิญชวนนำเสนอผลงาน และโครงการเข้ามาได้ในปีนี้ 2567 นี้ อีกทั้งยังส่งเสริมประเภททุนการสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรม

ด้านเศรษฐกิจ ECONMY INNOVATION ในลักษณะธุรกิจ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และรัฐวิสาหกิจเริ่มต้น ในการมุ่งเน้นพัฒนาธุรกิจในอุสาหกรรมเป้าหมายที่สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจสามารถสร้างสินค้าและการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ขยายใหม่และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ

ด้านสังคม SOCIAL INNOVATION โดยลักษณะเป็นประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มุ้งเน้นการตอบสนองความต้องการของสังคม มีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

พร้อมกันนี้ยังมีโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชนในปี 2568 นวัตกรรมเพื่อชุมชนในยุคภาวะโลกเดือด อาทิ พลังงานทดแทนสำหรับชุมชน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทางทะเล และชายฝั่ง การบริหารจัดการขยะและมลพิษ การป้องกันและการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความเป็นกลางทางคาร์บอนในระดับภาคชุมชน

อีกทั้งยังเปิดเวทีเชิดชูเกียรติบุคคลผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบายโดยรางวัลนวัตกรรมเชิงนโยบาย ระดับองค์กร 4 นวัตกรรม ประกอบด้วย

  • True Digital Park กับการสร้างและสนับสนุน tech startup ecosystem ให้กลุ่มบริษัททรู และประเทศไทย
  • Real Smart Innovation Lab: การปฏิรูปกระบวนการทำงานด้วย AI และ Automation เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและประสิทธิภาพองค์กร
  • โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทางทหารพื้นที่ Defense-related industry research zone
  • AIoT Innovation Park อุทยานนวัตกรรมด้าน AI และ IoT คือ สถานที่ที่ช่วยพัฒนา ปรับปรุง Smart Solution ให้กับลูกค้าแบบครบวงจร

รางวัลนวัตกรรมเชิงนโยบาย ระดับประเทศ 13 นวัตกรรม ประกอบด้วย

  • โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี Cyber Vaccinated สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • Regional Entrepreneurial Management Trainee (REMT)

มุ่งเน้นการให้ผู้ประกอบการได้ทำงานร่วมกับนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจากกว่า 10 ประเทศ และ 40 มหาวิทยาลัยทั่วโลก

  • Saturday School มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์
  • นโยบายเยาวชนเพื่อเยาวชนโดยเยาวชน-สุขภาพจิตเยาวชน Thailand Policy Lab, UNDP

Thailand Coffee Fest และ Thailand Rice Fest บริษัท Cloud & Ground Co, LTD

  • Smart PIPO: ระบบแจ้งเข้าแจ้งออกเรือประมง และตรวจสอบแรงงานประมงอัจฉริยะ
  • การสร้าง New S-Curve ให้กับประเทศ
  • โครงการพัฒนานักศึกษาและอาจารย์อาชีวะศึกษารุ่นใหม่ สู่เทคโนโลยีแห่งอนาคต
  • HOPE Task Force: ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย
  • Policy Watch จับตาอนาคต ประเทศไทย
  • สร้างโอกาส SME ไทยสู่สากลผ่านเครือ CP การพัฒนาและนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อความยั่งยืน

กรณีศึกษา ARI Verse (Metaverse)

EGAT EV Business Solutions/นวัตกรรมด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม “ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย” โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถนำสิ่งของจำเป็น เช่น น้ำดื่ม อาหารแห้ง ยารักษาโรค และเสื้อผ้ามาบริจาค ณ จุดรับบริจาคภายในงาน ซึ่งสิ่งของทั้งหมดจะถูกจัดส่งไปยังพื้นที่ประสบภัยทันทีหลังจบกิจกรรม เพื่อให้ความช่วยเหลือเข้าถึงผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ การจัดงาน Policy Innovation Recognition ในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความพยายามของ NIA ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการใช้นวัตกรรมเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาสังคมและประเทศอย่างยั่งยืน NIA มุ่งหวังว่าการจัดงานในวันนี้จะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายที่มีคุณภาพและสามารถตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศได้ในระยะยาวต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save