ปัจจุบันประเทศไทยมีเทคโนโลยี AI ให้ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น Chat- GPT และ Gemini ที่สามารถโต้ตอบและช่วยเหลือผู้ใช้งานได้หลากหลายภาษา ซึ่ง AI เหล่านี้ยังมีข้อจำกัดในการเข้าใจภาษาไทย ทั้งเรื่องของบริบท สำนวน วัฒนธรรม และวิธีการใช้ภาษาที่ซับซ้อนของคนไทย แต่จะดีแค่ไหนหากเรามี AI ที่พัฒนาเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ AI ที่ไม่เพียงแค่เข้าใจคำศัพท์หรือไวยากรณ์ แต่สามารถตีความหมายแฝง การเล่นคำ สำนวนท้องถิ่น และความละเอียดอ่อนทางภาษาได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการรองรับการประมวลผลข้อมูลจากเสียงและภาพ เพื่อให้การโต้ตอบกับ AI เป็นธรรมชาติมากขึ้น
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงพัฒนา “Pathumma LLM” (ปทุมมา แอลแอลเอ็ม) ที่วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ศราวุธ คงยัง นักวิจัยกลุ่มนวัตกรรมการผลิตยั่งยืน และทีมวิจัยเนคเทค สวทช. ซึ่งถือเป็นการสร้างเทคโนโลยีเอไอ สัญชาติไทย ที่มี 3 ความสามารถหลัก ได้แก่ Text LLM สำหรับประมวลผลภาษาไทย Vision LLM สำหรับวิเคราะห์และเข้าใจภาพ และ Audio LLM สำหรับจดจำและตอบสนองต่อเสียงภาษาไทย ที่สำคัญระบบถูกพัฒนาแบบ Open Source เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี AI ของไทย โดยเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่สนใจเข้ารับชมเทคโนโลยีดังกล่าว ร่วมแลกเปลี่ยนกับทีมวิจัยได้ฟรี ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 20 หรือ NAC2025 วันที่ 26-28 มีนาคมนี้
ดร.ศราวุธ คงยัง นักวิจัยกลุ่มนวัตกรรมการผลิตยั่
ทั้งนี้ “ปทุมมา LLM” ได้รับการพัฒนาโดยใช้ข้อมู
นอกจากนี้ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับการพัฒนา Pathumma LLM คือ จะช่วยให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ที่มีความแม่นยำและสอดคล้องกับการใช้ภาษาไทยและบริบทของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามข้อมูลหรือการสืบค้นข้อมูลในแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมถึงการใช้งานในองค์กรภาครัฐที่ต้องการปกปิดข้อมูล เช่น ธนาคาร หรือสถานพยาบาล รวมถึงการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลภายในประเทศ และให้ความสำคัญกับ การป้องกันด้านจริยธรรม เพื่อให้ “ปทุมมา” เป็น AI แบบ Agentic ที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ลดความเสี่ยงจากอคติของโมเดล และป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม
ดร.ศราวุธ กล่าวต่อว่า สำหรับทิศทางในอนาคต ทีมวิจัยมีแผนที่จะพัฒนาโมเดลพื้นฐาน (Foundation Model) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2568 นี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับข้อมูลและทำให้ Pathumma LLM มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการให้บริการแก่ภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาให้ Pathumma LLM กลายเป็น “Agentic AI” ผู้ช่วย AI อัจฉริยะ ที่สามารถคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและบริการให้กับผู้ใช้ในอนาคต ผู้ที่สนใจทดลองใช้งาน Pathumma LLM เวอร์ชัน 1.0 ทั้งในรูปแบบ APP, API และ Model เข้าใช้งานได้ที่ https://aiforthai.in.th/pathumma-llm/
“Pathumma LLM ไม่เพียงแค่เป็นเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์และพัฒนาโดยคนไทย แต่ยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาในหลากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะในภาครัฐและเอกชนที่ต้องการระบบบริการที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของประเทศไทย และยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี AI ของสังคมไทยให้เกิดประโยชน์ทั้งภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐบาล และประชาชนทั่วไป” ดร.ศราวุธ กล่าวทิ้งท้าย