MUT ทรานส์ฟอร์ม Business Model เปิดบริษัทนวัตกรรมมหานคร ปั้นวิศวกรมุ่งทักษะแก้ปัญหาอุตสาหกรรม


จากแนวโน้มที่ประเทศไทยมีอัตราการเกิดของจำนวนคนรุ่นใหม่ ๆ ลดน้อยลง มาตั้งแต่ 18 ปี ก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ฟองสบู่ประเทศไทยแตกเป็นครั้งแรก จึงทำให้ 18 ปีต่อมา มีจำนวนเด็กเกิดใหม่แค่ 800,000 คน และเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษาแค่ 200,000 คน ขณะที่ปี 2564 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่เฉลี่ย 500,000 คน นับเป็นอัตราการเกิดต่ำสุดในรอบ 70 ปี ภาคธุรกิจทางการศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ของประเทศไทย จำเป็นต้องพากันปรับตัว และ ปรับหลักสูตรการเรียนการสอน รวมถึงปรับโครงสร้างในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ยังสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าและแข่งขันต่อไปได้ในยุคที่จำนวนคนรุ่นใหม่เกิดน้อยลง และ โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงการวิศวกรรม บริหารธุรกิจ และสัตว์แพทย์ มานานกว่า 33 ปี ก็ต้องปรับเปลี่ยน Business Model ดังกล่าว ไม่สามารถมุ่งหวังสร้างรายได้ที่เข้ามาผ่านจำนวนของผู้เข้ามาสมัครเรียนอย่างเดียวได้อีกต่อไป ไม่เช่นนั้นมหาวิทยาลัยจะไม่สามารถมีงบประมาณมากเพียงพอในการที่จะนำมาพัฒนาสถานที่ศึกษา ห้อง Lab หรือ ห้องปฏิบัติการ ให้กับนักศึกษาได้อย่างมีคุณภาพระดับสูงในการออกไปทำงานภาคสนามจริงได้

ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT)

เนื่องจาก วิศวกร คืออาชีพสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยให้สามารถเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน จากการได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสิ่งที่ MUT จะมุ่งไปคือการเปลี่ยน Positioning ของมหาวิทยาลัย จากเดิมจับกลุ่มนักศึกษาที่เข้ามาเรียนตั้งแต่ อายุ 18-22 ปี มาสู่ตลาดกลุ่มที่มีอายุ 22-30 ปีขึ้นไป ซึ่งมีถึง 60% ของจำนวนประชากรประเทศไทย โดย MUT จะจัดทำ Platform เพื่อใช้สำหรับเทียบโอนประสบการณ์ของผู้สนใจที่อายุ 22-30 ปีขึ้นไป และอยากเข้าเรียนเพิ่มเติมใน MUT ถือเป็นการเปิดโอกาสไม่ปิดกั้นอนาคตของใคร

นอกจากนี้ MUT จะเดินหน้าไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจุดยืนที่เป็น Niche Market ในด้านของความเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเจาะจงทางด้านการผลิตและพัฒนาสร้างนักวิศวกร รุ่นใหม่ๆ ให้มีองค์ความรู้ ความสามารถ ในเรื่องของการทำงานได้จริงในทุกภาคอุตสาหกรรม มากขึ้นกว่าเดิม โดยจะมีการเสริมทักษะทั้งทางด้านความรู้ที่เป็น  Soft Skills เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการบริการจัดการองค์กรต่าง ๆ ควบคู่ไปทักษะด้าน Hard Skills ของสายงานการผลิตที่ต้องมีทั้งเรื่องเทคโนโลยี และ นวัตกรรมต่าง ๆ

ที่ผ่านมา MUT ถือเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่มีการยกโรงงานภาคอุตสาหกรรมเข้ามาให้นิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ได้ลงมือปฏิบัติงานจริง จึงทำให้นักศึกษาที่จบจาก MUT กว่า 95 % เมื่อจบออกไปแล้วมีงานทำ ส่วนอีก 5% เมื่อจบไปแล้ว คือ ไปเปิดบริษัททำเอง หรือ ไม่ก็ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ดังนั้นสิ่งที่เป็นก้าวต่อไปของ MUT ที่ได้เริ่มทำเมื่อปลายปีที่แล้วคือ การเปิด “บริษัทนวัตกรรมมหานครขึ้นมา โดยวัตถุประสงค์ของเปิดบริษัทดังกล่าว เพื่อจะทรานส์ฟอร์ม จากความเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ไปสู่ความเป็น Service Provider Solution ของการเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ผลิตบุคลกรที่เป็น “ผู้ช่วยวิศวกรขึ้นมาที่มีองค์ความรู้และความสามารถเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม

เพราะปัจจุบันนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่กำลังเจอปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น  การขาดแคลนแรงงานคน, การผลิตที่ไม่สามารถลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศมาผลิตได้ หรือ บางธุรกิจต้องการ Business Model ดี ๆ เพื่อมายอดธุรกิจตนเอง สิ่งเหล่านี้ ทำให้ MUT จัดตั้ง “บริษัทนวัตกรรมมหานคร” เพื่อใช้เป็นสถานที่ให้น้อง ๆ นักศึกษาที่เรียนในเรื่องวิศวกรรม และ บริหารธุรกิจ ได้มาทดลองทำงานจริง ผ่านการสอนของอาจารย์ MUT กว่า 400 คน ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างสูงมากในด้านต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรม โดยห้อง Lab หรือ ห้องปฏิบัติการของ MUT ทั้งหมดปรับให้เป็นเชิงอุตสาหกรรม เพื่อช่วยฝึกฝนให้เกิดทักษะจริงก่อนออกไปทำงาน

นอกจากนี้ MUT จะผลักดันนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตสินค้าต่าง ๆ ออกไปสู่ท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น เช่น ที่ผ่านมา MUT มีการผลิตหุ่นยนต์กอบกู้ระเบิด ออกมาจำหน่ายให้กับกองทัพ  MUT ก็จะต่อยอดในการนำสิ่งที่เป็นโนว์ฮาว (Know How)เรื่องนี้มาพัฒนาเป็นชุดฝึกประกอบหุ่นยนต์ขายให้น้อง ๆ ที่มีอายุ 8 ขวบ ขึ้นไปได้ในอนาคต เพื่อให้ MUT สามารถมีรายได้เข้ามาอีกทางหนึ่ง ไม่เพียงแต่มีรายได้ทางเดียวที่มาจากการสมัครเข้ามาเรียนของผู้สนใจ

เรียกได้ว่าเป็น Business Model ที่ทาง MUT ปรับเพื่อให้สามารถรองรับตลาดวันข้างหน้าอีก 10 ปี ที่เด็กไทยมีอัตราการเกิดน้อยลงจาก 800,000 คน เหลือ 500,000 คน  และ 500,000 คน คาดว่าจะเหลือเข้าระบบการศึกษาแค่ 100,000 คน เท่านั้น นับว่าลดลงเกือบ 40%  ขณะที่ตลาดภูมิภาคอาเซียน AEC ยังต้องการผู้ที่จะเข้ามาทำงานเป็น วิศวกร ต่อปีอยู่ที่ 500,000 คน แต่มหาวิทยาลัย ทุกแห่งรวมกันสามารถผลิตวิศวกรออกไปได้ปีละ 30,000 คน เท่านั้น

จึงเป็นสิ่งที่ MUT ต้องปรับยุทธศาสตร์ในการนำทัพครั้งนี้ใหม่เพื่อจะสามารถรองรับกับการแก้ไขปัญหาเรื่องอัตราการเกิดของเด็กรุ่นใหม่ ๆ น้อยลง ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องวิศวกร และ ผู้ช่วยวิศวกร ที่ต้องมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ เฉพะทางที่ลึกมากขึ้นในการเข้าไปทำงานที่เป็นส่วนของการแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรม ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ขณะเดียวในปีข้างหน้า 2565 ผศ.ดร.ภานวีย์ กล่าวเสริมว่า ทาง MUT มีแผนงานที่จะควบรวมคณะบริหารธุรกิจและวิศวกรรม เข้ามาเป็นคณะเดียวกันเพื่อยกระดับให้ผู้ที่เรียนวิศวกรรมสามารถมีทักษะในเรื่องของการบริหารจัดการได้ด้วย เป็นเหมือนการเสริมเขี้ยวเล็บให้กับผู้ที่เรียนจบคณะวิศวกรรมที่นี้มีความแข็งแกร่ง และ มีทักษะแตกต่างไปจากวิศวกรรมจากรั้วมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น

ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความตั้งใจ และ วิสัยทัศน์ที่ต้องการจะสร้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ที่ว่า “บัณฑิตและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครจะต้องเป็นที่ยอมรับและต้องการของภาคอุตสาหกรรม” และ เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จตามพันธกิจในการเป็น “มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีที่ดีเยี่ยมสำหรับทุกคน ( Premium Technological University for All)”


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save