Globish ชูแนวคิด Postmethod Pedagogy บนแพลตฟอร์ม เปลี่ยนคนไทยให้เก่งภาษาอังกฤษ พัฒนาตนเอง-ธุรกิจ รับเทรนด์ S-Curve


Globish ชูแนวคิด Postmethod Pedagogy บนแพลตฟอร์ม เปลี่ยนคนไทยให้เก่งภาษาอังกฤษ พัฒนาตนเอง-ธุรกิจ รับเทรนด์ S-Curve

โกลบิช (Globish) โดย บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด สตาร์ทอัพ EdTech ผู้พัฒนา แพลตฟอร์มการเรียน Live English Classroom ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แนะสร้าง S-Curve พัฒนาทักษะคนก้าวข้าม Personal Disruption และสร้างโอกาสในการทำงาน ด้วยการใช้ภาษาอังกฤษ โดยนำแนวคิด Postmethod Pedagogy แนวทางการสอนแบบใหม่ ที่จะเปลี่ยนให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษได้ง่าย และเร็วขึ้นบนแพลตฟอร์มการเรียน Live English Classroom ตั้งเป้าพัฒนาคนไทยกว่า 100,000 คน ภายใน 5 ปี

ชื่นชีวัน วงษ์เสรี

ชื่นชีวัน วงษ์เสรี เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า Globish ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2557 ภายใต้วิสัยทัศน์ “Empower People for Growth” โดยมุ่งยกระดับพัฒนาศักยภาพคนไทยให้ไม่พลาดโอกาส ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งนี้ปัจจุบันหลายธุรกิจ กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง บนเศรษฐกิจท่ามกลางการแข่งขัน และการดิสรัปชัน (Disruption) หลายธุรกิจมุ่งพัฒนา ขับเคลื่อน ธุรกิจให้สามารถแข่งขันและก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วชนิดพลิกฝ่ามือ ทั้งนี้การสร้าง S-Curve เป็นหนทางความสำเร็จของธุรกิจ โดยการทำ S-Curve แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ S-Curve ในธุรกิจ และ องค์กร ด้วยการลงทุนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใหม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลง รูปแบบของสินค้า บริการ และช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ และ S-Curve ในด้านการพัฒนาทักษะความ สามารถของคน เพื่อก้าวข้ามปัญหา Personal disruption ด้วยการพัฒนาทักษะของตนเองให้รองรับ กับความต้องการของธุรกิจยุคใหม่

สำหรับ 3 ทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ ด้วยเทรนด์การพัฒนา และเสริมสร้างทักษะตนเองรวมทั้งบุคลากร ขององค์กรในทศวรรษ 2020 ทำให้ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ประกอบด้วย

  1. ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills ประกอบด้วย 4 ทักษะสำคัญ คือ Critical Thinking: ทักษะ การคิดวิเคราะห์, Creativity: ทักษะการคิดนอกกรอบและความคิดสร้างสรรค์, Collaboration: ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และ Communication: ทักษะการสื่อสาร
  2. ทักษะความรู้ความเข้าใจ Literacy Skills (IMT) ประกอบด้วยทักษะสำคัญ 3 ด้าน คือ Information Literacy: ความสามารถในการเข้าใจตัวเลข สถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล, Media Literacy: ความสามารถในการเข้าใจวิธี และผลลัพธ์ของการเผยแพร่ของข้อมูลผ่านสื่อ และ Technology literacy: ความสามารถในการเข้าใจเทคโนโลยีเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว
  3. ทักษะการใช้ชีวิต Life Skills (FLIPS) มีทักษะที่จำเป็น 5 ด้านคือ Flexibility: พร้อมสำหรับ การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา, Leadership: สามารถกระตุ้นให้ทีมบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้ อย่างมีประสิทธิภาพ, Initiative: สามารถเริ่มโปรเจ็กต์ พร้อมวางกลยุทธ์และแผนการด้วยตนเองได้, Productivity: สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งรบกวน และSocial Skills: สามารถสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายระหว่างบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการงาน

“หัวใจสำคัญของการพัฒนา 3 ทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ที่ต้องมีในทศวรรษ 2020 คือการมีพื้นฐาน ภาษาอังกฤษที่ดี เพราะภาษาอังกฤษจะช่วยส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญ มากขึ้น การขาดทักษะที่ดีด้านภาษาอังกฤษจะส่งผลให้คนทำงานสูญเสียโอกาสในการทำงาน และอาจถูก Disruption ได้เช่นกัน” ชื่นชีวัน กล่าว

จากสถิติของสถาบันภาษา British Council ระบุว่าปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษาอังกฤษ รวมถึงผู้ที่ต้องการ เรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก โดย 48.6% ของเยาวชนจากเอเชียที่เลือกพัฒนาทักษะ ภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานทั้งใน และต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการทำงานของเยาวชนที่เลือกทำงานในสายงานที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษมากขึ้นในปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อมูล จากบริษัทจัดหางานในประเทศไทย โดย บริษัท จ๊อบส์ดีบี (ประเทศไทย) ที่ชี้ชัดว่า ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษ นั้นเป็นที่ต้องการค่อนข้างสูงในตลาดแรงงาน จากการสำรวจผู้ประกอบการ 400 กว่าบริษัท พบว่าทักษะที่ นายจ้างต้องการจากนักศึกษาที่จบใหม่ประกอบด้วย ทักษะด้านการสื่อสารฟัง พูด อ่าน เขียน ทักษะภาษา อังกฤษ และทักษะในการทำงานที่ตรงกับสาขาวิชาชีพพบว่าทักษะด้านภาษาเป็นสิ่งที่นายจ้างต้องการมาก ที่สุดติด Top 3 หรือคิดเป็น 62% ต้องการผู้มีทักษะด้านภาษาเทียบเท่ากับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มาแล้ว

ปัจจุบันการใช้ภาษาอังกฤษของประชากรในประเทศไทยปีล่าสุดในปีพ.ศ.2562 พบว่าอันดับตกลงจากสถิติของ EF ( Education First)ระบุว่าระดับทักษะทางภาษาอังกฤษของประเทศไทยตกอันดับลงตลอด 3 ปีซ้อน ลงมาอยู่ที่ลำดับที่ 74 จาก 100 ประเทศ ด้วยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 47.62 คะแนน ซึ่งถือว่าน้อยมากในขณะที่ปีพ.ศ.2561 ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 64 จาก 88 ประเทศ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 48.54 คะแนนนับเป็นคะแนน ต่ำสุดเป็นอันดับ 3 สุดท้ายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสูงกว่าเขมร เมียนมา และลาว และเป็นอันดับที่ 17 จาก 25 ของเอเชีย

จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าหากคนไทยไม่พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น อาจจะส่งผลต่อ การจ้างงานในอนาคต ชื่นชีวัน กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ Globish จึงมีเป้าหมายยกระดับพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษของคนไทยให้สูงขึ้น รองรับสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแรง และยั่งยืน ได้ในอนาคต โดยได้พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอน Live English Classroom ซึ่งใช้แนวคิดการเรียนรู้ แบบใหม่ Postmethod Pedagogy การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่จะเปลี่ยนให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษ ได้ง่าย และเร็วขึ้น ด้วยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ที่จะมุ่งปลดล็อกข้อจำกัด พร้อมเสริมทักษะ ในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยได้อย่างตรงจุด

แนวคิดการจัดการเรียนการสอนภาษา

โดยเสนอแนวคิดการจัดการเรียนการสอนภาษาที่ไม่ยึดระเบียบแผนเดิมที่คำนึงถึง 3 ประเด็นหลัก คือ ความเฉพาะเจาะจง (Particularity) การนำไปใช้ได้จริง (Practicality) และความเป็นไปได้ (Possibility) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านบริบทที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวันให้ภาษาอังกฤษกลายเป็นสิ่งที่อยู่ รอบตัว เพิ่มการเปิดรับทางภาษาด้วยแนวคิดการใช้หลักสูตรที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญชาวไทยเพื่อคนไทย โดยเฉพาะ พร้อมมอบอำนาจให้กับผู้สอนและผู้เรียน โดยอาจใช้วิธีการออกแบบใหม่การสร้างบริบทเนื้อหา หรือเลือกบทเรียนจากหลาย ๆ แหล่งที่คิดว่าเหมาะสมกับนักเรียนในบริบทนั้นมากที่สุด โดยคำนึงถึง Context-sensitive เช่น Live English Classroom แบบตัวต่อตัวที่เหมาะกับคนที่ไม่มั่นใจ เป็นผู้บริหาร หรือผู้มีชื่อเสียงที่ไม่ต้องการเรียนร่วมกับคนอื่น Live English Classroom แบบกลุ่มที่เหมาะสำหรับ คนที่ต้องการอภิปรายร่วมกับคนไทยคนอื่น ๆ e-Learning เพื่อเรียนรู้เรื่องไวยากรณ์ เป็นต้น ซึ่ง Globish มี เป้าหมายพัฒนาคนไทยจำนวนกว่า 100,000 ภายใน 5 ปี โดยมีกลุ่มผู้บริหาร ผู้นำธุรกิจ ผู้จัดการ คนวัยทำงาน เป็นเป้าหมายหลัก

ธกานต์ อานันโทไทย

ธกานต์ อานันโทไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า Globish ก่อตั้งในปีพ.ศ.2557 ได้เงินทุน (Funding) 40 ล้านบาท ได้สร้างแพลตฟอร์มเสร็จในปีพ.ศ.2558 จากนั้นในปีพ.ศ.2559 Globish เริ่มจับตลาดกลุ่มที่มีความต้องการเรียนภาษาอังกฤษมากที่สุด คือ คนวัยทำงาน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 20 -45 ปี

ธุรกิจของ Globish

ตั้งแต่ปีพ.ศ.2559-2562 ธุรกิจของ Globish เติบโตเนื่องจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1.เทคโนโลยีของไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นไทยยังใช้ระบบ 3 G ส่งผลให้การเรียนการสอนค่อนข้างลำบากมาก ห้องเรียน 100 ห้อง มีปัญหาถึง 30-40% ในปีพ.ศ 2559 ไทยมีระบบ 4 G มีปัญหาไม่เกิน 3 ห้องถือเป็นช่วงที่ White Timing และ2. โฟกัสที่ Centralize Learning ไปสู่ Corporate มากขึ้น เนื่องจากมีคนเรียนไม่จบ บางคนอาวุโสไม่ต้องการเรียนกับเด็ก และข้ออ้างในการติดงาน ว่างไม่ตรงกัน ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวจบเพราะได้เรียนแบบส่วนตัวตามที่ต้องการ ทั้งนี้ Globish มี ROI สำหรับหน่วยงานและองค์กร เพื่อประเมินประสิทธิภาพการเรียนของพนักงานด้วยว่าหลังจากเรียน ประสิทธิภาพภาษาอังกฤษดีขึ้นมากน้อยเพียงใด รวมทั้งมีวิดีโอส่งให้ผู้บริหารได้เห็นถึงพัฒนาการขิงพนักงานด้วย

ธกานต์ กล่าวว่า ในปีพ.ศ. 2562 ที่ผ่านมามีสถิติการเติบโตขึ้นกว่าปีพ.ศ2561 เพิ่มขึ้นกว่า 190% โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นเด็ก 10% กลุ่มคนวัยทำงาน 90% ซึ่งรวมถึง B2B 20% และคาดว่าในปีพ.ศ. 2563 นี้ ด้วยทิศทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ Globish ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้คนเรียนที่บ้านมากขึ้น และกระแสการ Upskill และ Reskill หลายคนต้องการหา S-Curve ให้ตัวเอง จะช่วยผลักดันการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น โดยตั้งเป้าการเติบโต 120% คิดเป็นรายได้ 220 ล้านบาท มี 250,000 ห้องเรียน นักเรียน 7,000 คน และ 300 บริษัท

ในปีนี้ Globish มีแผนที่จะพัฒนาคอร์สเรียนใหม่ที่เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน ที่หลากหลายขึ้น โดยมุ่งเน้นพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มอาชีพที่นอกเหนือจากกลุ่มสายธุรกิจ ไปยังกลุ่มอาชีพเฉพาะทาง เช่น กลุ่มอาชีพทางการแพทย์ วิศวกร ซึ่งปรับตัวสนใจเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยสาขาที่มาเรียน คือ สาขา Mechanic และ ซอฟต์แวร์ที่เน้นการสนทนาภาษาอังกฤษทั่วไป เพื่อใช้ในการสื่อสารในการทำงานกับต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ที่มาเรียนพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจนมีสัดส่วนถึง 97% ที่เหลืออีก 3% ที่ไม่พัฒนา ซึ่งเป็นโอกาสของ Globish ในการดำเนินธุรกิจต่อไป

สำหรับเทคโนโลยี 5G ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยให้ก้าวหน้าในระดับสากล ด้วยความเร็วของเครือข่าย 5G สามารถพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย และเข้าถึงผู้เรียนแบบไร้ขีดจำกัด
ดังนั้นเราจึงถือโอกาสตอกย้ำนโยบายมุ่งยกระดับการศึกษาไทย ด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชัน Globish ให้สามารถเข้าถึงรูปแบบการเรียนได้ในทุกเทคโนโลยี ทุกเครื่องมือสื่อสาร เพื่อตอบรับพฤติกรรมการใช้งานของผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ในปัจจุบันผู้เรียน Live English Classroom นิยมเรียนบนสมาร์ทโฟน (Smartphone) เป็นอันดับแรกกว่า 50 % ตามด้วยเดสก์ทอป (Desktop) 45% และแท็บเล็ต (Tablet) 5%” ธกานต์ กล่าว

นอกจากนี้ Globish มีเป้าหมายให้ครูสอนภาษาอังกฤษในต่างจังหวัดได้เรียนภาษาอังกฤษฟรี โดยส่งอาสาสมัครลงไปพูดคุยภาษาอังกฤษ เพื่อครูเหล่านั้นจะได้นำความรู้ไปเผยแพร่ต่อเด็กนักเรียนในต่างจังหวัดอีกที

ในบรรดาผู้ร่วมทุนมี Rare Job ซึ่งเป็นบริษัท Online Learning ขนาดใหญ่ที่ญี่ปุ่น มีห้องเรียน 20,000 ห้อง ซึ่ง Globish ได้ทำการศึกษาเพื่อขยายสเกลให้ใหญ่ขึ้น โดยในปีถัดไปคาดว่าจะทำรายได้ 500-600 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีที่ Globish เติบโตอย่างก้าวกระโดด นอกจากไทยแล้วยังมีแผนขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศในแถบอาเซียน รวมทั้งบังคลาเทศและปากีสถานอีกด้วย

“เราคาดว่าจะปรับเป็น Corporate ในอนาคต โดยมีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ Bon Angels บริษัทด้าน English Learning ที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ให้คำแนะนำเรื่องปรับโครงสร้างบริษัท เพื่อก้าวไปสู่น้องๆ Unicorn” ธกานต์ กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save