BIOTEC เปิดโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค มาตรฐานสากล ตอบโจทย์อุตฯ ฐานชีวภาพ


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เปิดตัวโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BIOTEC Bioprocessing Facility:BBF) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการดำเนินงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับมาตรฐานระดับสากลอย่าง Codex GHPs และ HACCP รองรับการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน และงานให้บริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และเร่งผลักดันการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์lสร้างรายได้เข้าประเทศ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เปิดตัวโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BIOTEC Bioprocessing Facility:BBF) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการดำเนินงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับมาตรฐานระดับสากลอย่าง Codex GHPs และ HACCP รองรับการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน และงานให้บริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และเร่งผลักดันการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์lสร้างรายได้เข้าประเทศ

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช.ในฐานะหน่วยงานการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศเป็นดั่ง “ขุมพลังหลัก” ด้านการวิจัย สวทช.กำหนดนโยบายที่เรียกว่า “NSTDA Core Business” เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์สำคัญเร่งด่วนของประเทศ ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงงานวิจัยที่ใช้ได้จริง โดยในเฟสแรกได้คัดเลือกงานวิจัย 4 เรื่องหลัก เช่น เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์  พลังงานวัสดุและเคมีชีวภาพ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ซึ่งรวมถึง FoodSERP แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชันในรูปแบบ One-stop s

Service โดยมุ่งเป้าถึงโอกาสของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ที่จะเข้าถึงประชาชนเป็นหลัก นอกจากนี้ประชาชนจะต้องได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นๆที่แท้จริง นำไปใช้งานได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างอาชีพต่อยอดเชิงพาณิชย์ มีความยั่งยืนทั้งบุคลากรของ สวทช. ผู้ประกอบการภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป ที่สำคัญหากเทคโนโลยีที่นำมาใช้สามารถที่จะประดิษฐ์คิดค้นจากงานวิจัยของคนไทยเองก็จะยิ่งส่งเสริมให้การทำงานวิจัยและบริการเชิงเทคนิคต่างๆที่ยากเข้าถึงยากให้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการวิจัยด้านการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตในระดับโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค BBF นี้จะเน้นให้คำปรึกษา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับทดลองตลาด การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ การให้คำปรึกษาและฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่จะช่วยเพิ่มความพร้อมของเทคโนโลยี ช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในการลงทุนเครื่องมือมูลค่าสูง ให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน รวมทั้งมีการเก็บข้อมูลงานวิจัยต่างๆไว้ทำการศึกษาต่อยอดอย่างเป็นระบบด้วย

ศ.ดร.ชูกิจ กล่าวว่าสำหรับประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากโดยเฉพาะความหลากหลายทางชนิดของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ โดยมีจุลินทรีย์ราว 150,000 -200,000 ชนิด คิดเป็น 8-10% ของจุลินทรีย์ที่คาดว่ามีอยู่ในโลก ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้พบแพร่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ แต่แม้จะมีข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ประเทศไทยก็ยังคงมีปัญหาช่องว่างของนวัตกรรม (Gap in the Innovation Chain) โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมและกำลังคนเชี่ยวชาญ ในการขยายผลการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์เหล่านี้ในระดับอุตสาหกรรม ส่งผลให้การวิจัยไม่สามารถส่งต่อผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานระดับขยาย (Pilot Plant) ถือเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยจากความหลากหลายชีวภาพ โดยเฉพาะการนำจุลินทรีย์มาใช้ในระดับอุตสาหกรรม ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีต้นทุนที่เหมาะสม สำหรับนําไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสําอาง ช่วยแก้ปัญหาคอขวดที่งานวิจัยของประเทศไทยจำนวนมากยังไม่สามารถผลักดันไปสู่การใช้จริงได้ ดังนั้น BBF จึงถือเป็นกลไกหลักที่ช่วยขับเคลื่อน FoodSERP ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งที่ผ่านมา BBF ได้ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการมากกว่า 30 บริษัททั้งในและต่างประเทศ และคาดหวังว่าผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกับทาง BBF ได้นำองค์ความรู้ไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก้ผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้และสร้างโอกาสในการที่จะชักชวนผู้ประกอบการรายใหม่ๆเข้ามาร่วมทำงานกับทาง BBF ในอนาคตเพิ่มมากขึ้น

 

โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค  ตอบโจทย์ความต้องการอุตฯสาหกรรมฐานชีวภาพ

ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค

ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค กล่าวว่า BBF ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่บุกเบิกด้านการผลิตผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ภายใต้สถานที่ผลิตอาหาร (Food-grade manufacturer) ตามมาตรฐานสากล Codex GHPs และ HACCP ที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการต้นน้ำ และกระบวนการปลายน้ำ มีการการพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อ กระบวนการหมัก การเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ การทำเข้มข้นหรือการทำบริสุทธิ์ การทำแห้ง การผสมสูตรผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบคุณภาพและอายุผลิตภัณฑ์ การวิจัยด้านกลิ่นและรส การประเมินทางประสาทสัมผัส วิเคราะห์สารอาหารและสารสำคัญ การประเมินอายุและความคงตัวของสินค้า รวมถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ตลอดจนให้คำปรึกษา ฝึกอบรม บริการวิชาการ และสร้างพันธมิตรด้านเทคโนโลยีชีวกระบวนการในระดับขยายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยด้านอุตสาหกรรมฐานชีวภาพให้ทัดเทียมนานาประเทศ ลดการนำเข้าและการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งยกระดับงานวิจัยของนักวิจัยไทยที่อยู่บนหิ้งให้เข้าถึงและจับต้องได้

โดยที่ผ่านมาการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการกับทาง BBF ถือว่ามีการทำงานที่มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ประกอบการอยากให้ผลิตภัฯฑืของตนเองเข้าถึงทุกกลุ่มผู้บริโภค เข้าถึงทุกตลาดการค้าขาย และ BBF ก็มีความประสงค์อยากให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการวิจัยจากทาง BBF เป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้บริโภคและตลาเช่นเดียวกัน ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำงานร่วมกันนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการปรับมุมมองทางด้านการทำงาน เพราะนักวิจัยอาจจะเก่งเรื่องงานวิจัยมากกว่าการทำตลาด ซึ่งทาง ไบโอเทค สวทช.และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆได้นำผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการตลาดเข้ามาแนะนำเพิ่มเติมทำให้การทำงานค่อนข้างราบรื่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรือ่งการขาดแคลนงบประมาณในการต่อยอดของผู้ประกอบการซึ่งทาง ไบโอเทค สวทช.และสถาบันการเงินที่เป็นพันธมิตรมีการสนับสนุนอยู่แล้วแต่ต้องดำเนินการตามรูปแบบเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงินที่เข้ามาสนับสนุนด้วย

 

การดำเนินงานของ BBF

ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ไบโอเทค ในฐานะ ผู้บริหารจัดการ โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BBF)

ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ไบโอเทค ในฐานะ ผู้บริหารจัดการ โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BBF) กล่าวว่า BBF ตั้งอยู่ที่อาคาร BIOTEC pilot plant อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาภายใต้การทำงานของทีมวิจัยแบบสหสาขาวิชา ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เชิงบูรณาการ โดยผนวกองค์ความรู้พื้นฐานด้านจุลินทรีย์เข้ากับเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมชีวกระบวนการ และเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ ในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตเซลล์จุลินทรีย์ สารชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ และส่วนผสมฟังก์ชั่น หรือ functional ingredients ในระดับขยาย โดยมี bioreactor ที่สามารถรองรับการผลิตในรูปแบบ submerged fermentation ขนาด 300 ลิตร และ solid-state fermentation ขนาด 500 กิโลกรัม รวมทั้งเครื่องมือในกระบวนการปลายน้ำและวิเคราะห์ทดสอบที่รองรับการผลิตสำหรับขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ โดยเร็ว ๆ นี้ได้รับงบสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. ซึ่งจะทำให้สามารถขยายกำลังผลิต ได้ถึง 33,000 ลิตรต่อปี

นอกจากงานวิจัยและนวัตกรรมแล้ว BBF ยังให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในการผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร สารอาหาร โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ การทดสอบตลาด หรือการทดสอบทางคลินิก รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิต เพื่อขยายผลสู่การนำไปใช้จริงในอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนผสมฟังก์ชัน และอุตสาหกรรมชีววิทยาสังเคราะห์ โดยใช้กลยุทธ์แบบ Quick Win ในการดำเนินการเชิงรุกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้ประกอบการที่มีมุมมองเชิงธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการทั้งกลุ่ม Startup กลุ่ม SME และ กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ (Large Enterprise) รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ

สำหรับผลงานของผู้ประกอบการต่างๆ ที่เข้าร่วมกับทาง BBF เช่น พรไบโอติกอาหารเสริมและโพสไบโอติกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น จากบริษัทวิโนน่า เฟมินิน จำกัด มัยคอโปรตีน ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกเพื่อสุขภาพ จากกลุ่มบริษัท ไทยรุ่งเรือง (ผู้ผลิตน้ำตาลลิน) ยาอมและสเปรย์ 5 ตะขาบ จากบริษัทห้าตะขาบ ซิมเทียนฮ้อ จำกัด ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ล้างผักผลไม้ จากบริษัทไบโอม จำกัด และ โพรไบโอติกอาหารเสริม จากบริษัทสยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด เป็นต้น ช่วยสร้างผลกระทบในการลงทุนด้านการวิจัย ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศจากการพึ่งพาเทคโนโลยีในประเทศ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save