แอสตร้าเซนเนก้า จับมือ จุฬาฯ ชูนวัตกรรม Next Generation Sequencing (NGS) ยกระดับการตรวจหายีนส์กลายพันธุ์กลุ่มโรคหายาก


กรุงเทพฯ – บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการหาลำดับเบสของดีเอ็นเอยุคใหม่ (Next Generation Sequencing :NGS) ที่มีความแม่นยำสูง เพื่อสนับสนุนให้คนไทยที่ป่วยด้วยโรคหายากซึ่งมีประมาณ 5% หรือเทียบเท่า 3.5 ล้านคน รวมทั้งคนไทยที่มีความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์ ได้ตระหนักถึงการตรวจหายีนกลายพันธุ์ในกลุ่มโรคหายาก  

นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และ Frontier Markets เผยว่า “ความร่วมมือกันในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการยกระดับนวัตกรรมและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคหายากในประเทศไทย โดยสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนถึงความสำคัญของการตรวจหายีนความเสี่ยงทางพันธุกรรมในกลุ่มโรคหายาก เนื่องจากการวินิจฉัยโรคหายากโดยแพทย์ทั่วไปนั้นยังคงประสบปัญหาจากความซับซ้อนของอาการที่ปรากฏ และในประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ดังนั้นการยกระดับเทคโนโลยี NGS จะช่วยทำให้แพทย์สามารถ วางแผนการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้กรอบความร่วมมือยังครอบคลุมถึงบทบาทของแอสตร้าเซเนก้าในด้านการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ตลอดจนการฝึกอบรมและสร้างเครือข่ายระดับชาติและนานาชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการวินิจฉัย การรักษากลุ่มโรคหายากในประเทศไทย”

ด้านศาสตราจารย์ นายแพทย์วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพันธุกรรม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัจจุบันศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นสถาบันชั้นแนวหน้าในประเทศไทยที่มีเทคโนโลยีการตรวจหาความผิดปกติของยีนแบบ NGS เพื่อให้การวินิจฉัยโรคหายากในระดับโมเลกุล ในส่วนการรักษาโรคหายากในปัจจุบันยังคงเป็นการรักษาที่ปลายเหตุเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งยังต้องรอให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคก่อน จึงทำการตรวจวินิจฉัยและรักษา แต่ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีความทันสมัยขึ้นในปัจจุบัน เราคาดหวังว่าจะสามารถตรวจพบความผิดปกติของยีนได้อย่างรวดเร็วและตรวจได้ก่อนมีอาการ อันจะนำไปสู่การป้องกันไม่ให้เกิดอาการ นอกจากนี้ ยังนำไปสู่การค้นพบยีนก่อโรคและกลไกการเกิดโรคใหม่ ซึ่งจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางพันธุกรรมได้ในอนาคต รวมถึงพัฒนาแนวทางการรักษาให้ลงลึกได้ถึงระดับยีนต้นเหตุ”

แม้โรคหายากโรคหนึ่งจะมีอุบัติการณ์น้อย แต่เนื่องจากมีจำนวนโรคหายากมากกว่า 7,000 โรค ทำให้อุบัติการณ์โดยรวมของการเกิดโรคหายากในประชากรสูงถึงร้อยละ 5 นอกจากนี้ โรคหายากยังสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์มักจะทำได้เพียงรักษาแบบประคับประคอง แต่ด้วยการตรวจหาความผิดปกติของยีนเพื่อคัดกรองโรคหายากผ่านเทคโนโลยี NGS ได้จุดประกายความหวังใหม่แก่ผู้ป่วยในการให้การวินิจฉัยได้ตั้งแต่ก่อนมีอาการหรือระยะแรกของการมีอาการ ทำให้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการหรือรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รวมทั้งสามารถต่อยอดไปสู่การวิจัยเพื่อหาวิธีป้องกันโรคได้ในอนาคต ทั้งนี้ผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยภายใต้กรอบความร่วมมือครั้งสำคัญนี้เป็นไปตามพันธกิจที่แอสตร้าเซนเนก้ายึดมั่นในการดำเนินงานมาโดยตลอด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกผ่านการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ร่วมกับพันธมิตรในประเทศต่างๆ เพราะการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนของผู้คนคือเป้าหมายหลักที่แอสตร้าเซนเนก้าให้ความสำคัญ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save