5 องค์กรรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ผนึกกำลังตั้ง “สมาพันธ์ปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย” หวังสร้างแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ของไทย


5 องค์กรรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ผนึกกำลังตั้ง “สมาพันธ์ปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย” หวังสร้างแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ของไทย

กรุงเทพฯ14 ต.ค. 2564 :ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานร่วมกับ อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดโครงการ Super AI Engineer Saeson 2  พิธีลงนามสมาพันธ์ปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AI Thailand Consortium) และพิธีมอบเหรียญรางวัลผู้มีความสามารถดีเด่นโครงการ Super AI Engineer Season 1 ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัด อว. 

อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

 

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก  เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย สรุปใจความได้ว่า ในทุกปี ประเทศไทยมีนโยบายเศรษฐกิจและแผนกลยุทธ์ของชาติที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งจากของบุคลากร และองค์กรภายใน มีการเตรียมพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศให้สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และเชื่อมระหว่างเศรษฐกิจภายในกับเศรษฐกิจโลก ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำงาน ซึ่งความเข้มแข็งภายในนี้ จะต้องสร้างขึ้นจากการยกระดับนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งถือเป็นศาสตร์ทางดิจิทัลที่สำคัญ ที่หลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วต่างให้ความสำคัญและนำมาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ที่วันนี้ได้เกิดการรวมตัวกันของทุกภาคส่วนในการจัดตั้งสมาพันธ์ปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยหรือ AI Thailand Consortium ที่ประกอบไปด้วย 5 องค์กร ได้แก่ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. ในฐานะองค์กรภาครัฐ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในฐานะองค์กรภาคการวิจัย สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศไทย (CITT) ในฐานะองค์กรภาคการศึกษา สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT)  ในฐานะองค์กรภาคเอกชน และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อสร้างและบริหารจัดการทรัพยากรด้านปัญญาประดิษฐ์ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นจัดทำแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์กลางของประเทศไทย (AI Thailand Platform) การสร้างทรัพยากรให้กับประเทศเพื่อใช้งานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการสร้างอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทยในอนาคต 

รมว.อว.กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ทางสมาพันธ์ฯ ได้สร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม อาทิ โครงการปัญญาประดิษฐ์สำหรับทุกคน หรือ AI for All ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาบุคลากรในทุกระดับชั้นให้มีความสามารถพิเศษด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือโครงการสุดยอดวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer) ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากหลากหลายวงการ หลากหลายวัย โดยในปีนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนถึง 5,400 คน มากกว่าปีที่แล้วถึง 2.5 เท่า ถือได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสที่เท่าเทียม และเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาผู้มีความสามารถ และนำไปสู่การสร้างชุมชนนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างแท้จริง 

สิ่งที่สมาพันธ์ฯ ได้ก่อร่างสร้างขึ้นจะกระตุ้นให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมหันมาสนใจด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ประเทศไทยต้องฝากความหวังไว้ที่สมาพันธ์ฯ อย่างมากในการขับเคลื่อนและพัฒนาบุคลากรไทยในทุกระดับชั้นเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน ศึกษาต่อยอดสู่สายการผลิต ตนเชื่อในศักยภาพของคนไทยว่าสามารถทำได้ทุกอย่าง ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือศาสตร์อื่นๆ จะเห็นได้ว่ามีคนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญและเก่งในหลายๆ ด้านเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หวังว่าสมาพันธ์ฯ จะช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ สู่สังคมในวงกว้าง เกิดการพัฒนาจนคนไทยสามารถต่อยอดสายการผลิต ยกระดับคุณภาพชีวิตได้ โดยรัฐบาลนี้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วให้ได้ภายในปี 2580 หรือในอีก 16 ปีข้างหน้า และในส่วนของ อว. จะขอเป็นแนวร่วมและกลไกหลักในการพัฒนาบุคลากรของประเทศไทย ตนมั่นใจว่าภายใน 10 ปี อว. จะเป็นองค์กรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่จุดสูงสุดในระดับสากล และยกระดับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของไทยให้ทัดเทียมกับต่างชาติให้ได้

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save