3 นักวิจัยจากม.มหิดล -มจธ.- มอ. คว้ารางวัลนักวิจัยแกนนำ สวทช. ประจำปี 2563 รับทุนสนับสนุนวิจัยด้านการแพทย์และอาหาร 60 ล้านบาท


3 นักวิจัยจากม.มหิดล -มจธ.- มอ. คว้ารางวัลนักวิจัยแกนนำ สวทช. ประจำปี 2563 รับทุนสนับสนุนวิจัยด้านการแพทย์และอาหาร 60 ล้านบาท

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศผลรางวัลผู้ได้รับเป็นนักวิจัยแกนนำ ประจำปี พ.ศ. 2563 จำนวน 3 คน จากการพิจารณาข้อเสนอ จำนวน 21 โครงการ ประกอบ นักวิจัยด้านการแพทย์ 1 คน ได้แก่ .นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากโครงการวิจัยเรื่อง “ยาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้าง: การเตรียมพร้อมต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่” และนักวิจัยด้านอาหาร 2 คน ได้แก่ ศ.ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จากโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการผลิตอาหารแห่งอนาคต” และ .ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากโครงการวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์สูงสุดจากวัสดุเศษเหลือ จากการแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อเป็นส่วนประกอบอาหารฟังก์ชัน / นิวตราซูติคอลและสารเติมแต่งอาหารชนิดใหม่”

 

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการ

นักวิจัยแกนนำเป็นกลไกที่ สวทช. นำมาใช้สนับสนุนนักวิจัยศักยภาพสูงให้เกิดการรวมกลุ่มทำวิจัยและหวังผลได้ และใช้ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ กับมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในประชาคมวิจัย สร้างผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ท้าทาย ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในปี พ.ศ.2563 นี้ได้มีนักวิจัยที่ส่งข้อเสนอโครงการวิจัย จำนวน 21 โครงการ โดยคณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์สนับสนุนนักวิจัย จำนวน 3 โครงการจาก 3 นักวิจัย ประกอบด้วย นักวิจัยด้านการแพทย์ 1 คน ได้แก่ ได้แก่ ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากโครงการวิจัยเรื่อง “ยาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้าง: การเตรียมพร้อมต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่” และนักวิจัยด้านอาหาร 2 คน ได้แก่ ศ.ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จากโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการผลิตอาหารแห่งอนาคต” และ ศ.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากโครงการวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์สูงสุดจากวัสดุเศษเหลือ จากการแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อเป็นส่วนประกอบอาหารฟังก์ชัน / นิวตราซูติคอลและสารเติมแต่งอาหารชนิดใหม่” โดย สวทช. สนับสนุนงบประมาณวิจัย จำนวน 20,000,000 บาท ต่อโครงการ เป็นระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี รวมงบประมาณ 60,000,000 บาท ซึ่ง สวทช. จะให้การสนับสนุนงบประมาณวิจัย จำนวน 20,000,000 บาท ต่อโครงการ เป็นระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี รวมงบประมาณ 60,000,000 บาท เพื่อให้ได้นักวิจัยที่มีศักยภาพสูง งานวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์องค์รวมในทุกภาคส่วน ทันเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยทางการแพทย์ที่ก้าวทันโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

ที่สำคัญจะช่วยให้เกิดการรวมกลุ่มทำวิจัยที่เข้มแข็งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์งานวิจัยใหม่หรือต่อยอดงานวิจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงระหว่างภาคความรู้ พร้อมยกระดับการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย

พิธีมอบเงินสนับสนุนแก่ ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล (ซ้าย) มหาวิทยาลัยมหิดล
พิธีมอบเงินสนับสนุนแก่ ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล (ซ้าย) มหาวิทยาลัยมหิดล
พิธีมอบเงินสนับสนุนแก่ ศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา (ขวา) มจธ.
พิธีมอบเงินสนับสนุนแก่ ศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา (ขวา) มจธ.
ศ.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล (ขวา) มอ.รับมอบเงินสนับสนุน
ศ.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล (ขวา) มอ.รับมอบเงินสนับสนุน

ย้อนรอยโครงการนักวิจัยแกนนำ สวทช.

หนุนนักวิจัยศักยภาพสูง สร้างสรรค์ผลงานวิจัยคุณภาพสูงหลากหลายรูปแบบ

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และเลขานุการคณะกรรมการด้านการส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยแกนนำ กล่าวว่า โครงการนักวิจัยแกนนำได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เพื่อสนับสนุนนักวิจัยศักยภาพสูงที่มีความเป็นผู้นำ ให้เกิดการรวมกลุ่มทำวิจัย ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยคุณภาพสูงในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะเป็นพลังขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ปัจจุบันมีนักวิจัยแกนนำ สวทช. ฝจำนวนทั้งสิ้น 20 คน จาก 23 โครงการวิจัย ประกอบด้วย นักวิจัยแกนนำด้านการแพทย์ 11 คน, นักวิจัยด้านเกษตรและอาหาร 2 คน, นักวิจัยด้านอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ 2 คน, นักวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 3 คนและนักวิจัยด้านการก่อสร้าง 2 คนซึ่งนักวิจัยแกนนำและทีมวิจัยได้สร้างความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาที่เชี่ยวชาญ สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพ และเชิงปริมาณ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ บทความวิชาการ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบเทคโนโลยี และสิทธิบัตร รวมถึงการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์พัฒนากำลังคนเพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนประเทศ  โดยนำงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ให้เกิดสูงสุดในแต่ละด้านต่อไป

 

โครงการวิจัยเรื่อง “ยาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้าง:

การเตรียมพร้อมต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่” จากม.มหิดล

ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการวิจัยเรื่อง “ยาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้าง: การเตรียมพร้อมต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่” มีแนวคิดในการค้นคว้าศึกษาวิจัยหาแนวทางในการทราบที่มาของเชื้อ การแพร่เชื้อที่ใช้รักษา โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ COVID -19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงอยู่ทั่วโลกและในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีโรคติดเชื้ออุบัติใหม่เกิดขึ้นอีกได้เรื่อยๆ ทางคณะวิจัยจึงพยายามที่จะรวบรวมทีมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องโรคไวรัสแบละโรคอุบัติมาร่วมทำงานค้นหาที่มาของเชื้อ รวมทั้งหาแนวทางในการยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเกิดการพัฒนาแพร่ระบาดในระดับที่ขวางขึ้นจนยากที่จะควบคุมได้และพัฒนายาคิดค้นหาวัคซีนสามารถใช้รักษาโรค COVID-19 ฝีมือคนไทยขึ้นใช้เอง โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ได้รับเชื้อเป็นผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ในประเทศไทยและในระดับสากลต่อไป

โครงการวิจัย “การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

เพื่อการผลิตอาหารแห่งอนาคต”  จากมจธ.

. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า  โครงการวิจัย “การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการผลิตอาหารแห่งอนาคต” เกิดจากความต้องการพัฒนาการผลิตอาหารและส่วนประกอบของอาหารให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในทุกๆกลุ่มและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมจากวัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่นที่สำคัญช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับนวัตกรรมอาหารที่ผลิตได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ทั้งในแง่ของการใช้เป็นส่วนผสมเพื่อปรุงและแต่งอาหารให้สวยงามปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น สีผสมอาหารจากธรรมชาติ ที่ได้จากการสกัดจากใบบัวบกและฝักทองและอื่นๆ จะมีสวยงามแต่ต้องปลอดภัยเมื่อได้รับความร้อนโดนกรดและด่างขณะทำการปรุงอาหาร, เส้นใยนาโนเซลลูโลสจากเศษผักและผลไม้เหลือทิ้ง นำมาใช้เป็นสารแต่งเติมอาหารเพิ่มความความเข้มข้นหนืดและความคงตัว, สารเคลือบจากบุก, เพื่อใช้ปกป้องสารอาหารหรือจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย, เมล็ดกาแฟคั่วคุณภาพสูง ช่วยกำจัดกาแฟและใช้ไอน้ำร้อนยวดยิ่งคั่วเมล็ดกาแฟ, เจลชีวภาพเชิงหน้าที่จากเศษวัสดุทางการเกษตร ดูดซับสารพิษ น้ำมันจากอาหารหรือผสมในอาหารเหลว สำหรับผู้สูงอายุป้องกันการสำลักและอุปกรณ์ตรวจวัดสารตกค้างในอาหารแบบพกพา ช่วยวิเคราะห์องค์ประกอและสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้

โครงการวิจัย เรื่อง “การใช้ประโยชน์สูงสุดจากวัสดุ 

เศษเหลือ จากการแปรรูปสัตว์น้ำฯ” จากมอ.

.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กล่าวว่า โครงการวิจัย เรื่อง “การใช้ประโยชน์สูงสุดจากวัสดุ  เศษเหลือ จากการแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อเป็นส่วนประกอบอาหารฟังก์ชัน / นิวตราซูติคอลและสารเติมแต่งอาหารชนิดใหม่” เป็นการพัฒนาวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูปสัตว์น้ำ ให้เป็นสารประกอบฟังก์ชัน/สารนิวตราซูติคอลและสารเติมแต่งอาหารที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน โดยอาศัยองค์ความรู้ทางด้านต่างๆ คือ การสกัดและพัฒนาสารออกฤทธิ์ การวิจัยกลไกการออกฤทธิ์ของสารและตรวจติดตามโดยใช้เทคนิคโปรติโอมิกส์ การวิจัยในระบบย่อยอาหารจำลองมาตรฐาน สัตว์ทดลองและมนุษย์ เพื่อให้ได้สารนิวตราซูติคอลและสารเติมแต่งอาหารที่มีความคงตัวและความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ เช่น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการนำหัวกุ้ง,หนังปลาและเปลือกหัวกุ้ง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีวัสดุเศษจากการแปรรูปสัตว์น้ำเหลือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการประสบความสำเร็จในการจัดระบบฟาร์มเลี้ยงและความต้องการผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนสภาพของวัสดุเศษเหลือที่มีมูลค่าต่ำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการของตลาดและมีมูลค่าสูงจึงเป็นแนวทางสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มรายได้ ขณะเดียวกันสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดของเสีย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save