มจธ. ร่วมผลักดันโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน หนุนคนไทยสู้ภัยแล้ง-น้ำท่วมขังอย่างยั่งยืน


มจธ.ร่วมผลักดันโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน หนุนคนไทยสู้ภัยแล้ง-น้ำท่วมขังอย่างยั่งยืน

อาจารย์ มจธ. เผยเดินหน้าผลักดันโครงการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงภัยแล้งและน้ำท่วมขังให้กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคในประเทศให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ได้และใช้งบประมาณไม่มาก ขึ้นอยู่กับพื้นที่ หวังผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ

8ขั้นตอนการทำธนาคารน้ำใต้ดินโดย AGS
8 ขั้นตอนการทำธนาคารน้ำใต้ดินโดย AGS

โครงการธนาคารน้ำใต้ดินริเริ่มโดยพระนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ) ที่นำเอาแนวคิดการเก็บน้ำไว้ใต้ดินจากประเทศสหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ทางภาคอีสานที่มักมีน้ำท่วมหนักในฤดูฝนและแล้งมากในฤดูร้อน โดยมีหลักการคือการเติมน้ำลงไปเก็บไว้ใต้ดินและนำออกมาใช้ได้เมื่อยามต้องการ

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกรมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ภาคเอกชน โดยร่วมมือ กับ ธเนศ นะธิศรี ประธานกลุ่ม American Groundwater Solution (AGS) สมาคม มูลนิธิต่าง ๆ และภาคมหาวิทยาลัย รวมถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

ตัวอย่างการจัดทำบ่อเติมน้ำระบบเปิดที่ต.บ้านผึ้ง จ.นครพนม
ตัวอย่างการจัดทำบ่อเติมน้ำระบบเปิดที่ต.บ้านผึ้ง จ.นครพนม

ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) มจธ. กล่าวว่า การทำธนาคารน้ำใต้ดินแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ การทำเป็นบ่อเติมน้ำแบบระบบปิดและแบบระบบเปิด ขึ้นอยู่กับพื้นที่และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยการทำบ่อแบบระบบปิด จะมีขนาดเล็กเหมาะสำหรับการใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมขังระดับครัวเรือน อุปกรณ์การทำหาได้ง่าย ด้วยการขุดดินที่ความลึกประมาณ 2 เมตร และใช้หินหรือประยุกต์วัสดุที่เป็นมิตรต่่อสิ่งแวดล้อม โดยมีงบประมาณที่หลักพันบาท

ขณะที่บ่อเติมน้ำระบบเปิดนั้น จะใช้พื้นที่มากกว่า แก้ปัญหาได้ในวงกว้าง โดยจะขุดเจาะหน้าดินให้ทะลุชั้นดินเหนียวและลึกลงไปถึงชั้นหินอุ้มน้ำ ขุดเป็นรูปทรงหรือขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ หรืออาจจะเป็นการปรับปรุงบ่อเก่าโดยการขุดเป็นสะดือบ่อให้ลึกลงไปก็ได้เช่นกัน

สิ่งที่สำคัญคือการขุดบ่ออื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้มีการเชื่อมโยงของระบบการไหลซึมของน้ำใต้ดิน น้ำจึงจะสามารถแพร่ไปตามชั้นหินใต้ดินได้ในช่วงฤดูฝนที่มักมีน้ำหลากและท่วมขัง งบประมาณจะอยู่ที่ประมาณ 400,000-500,000 บาทต่อบ่อ ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่

ดร.ปริเวท กล่าวว่า งานในส่วนที่ มจธ.รับผิดชอบคือ การนำเอาความรู้เชิงวิชาการ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) และการแปลภาพถ่ายดาวเทียมเข้ามาสนับสนุน เพื่อรวบรวมข้อมูลหาพื้นที่ในการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน เนื่องจากในแต่ละพื้นที่นั้นมีลักษณะชั้นดินและหินอุ้มน้ำแตกต่างกัน โดยตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินการในปี พ.ศ. 2560 มีพื้นที่ที่ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ ตำบลบ้านผึ้ง จังหวัดนครพนม ตำบลวังหามแห จังหวัดกำแพงเพชร และตำบลหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ตำบลเชียงเครือ จังหวัดสกลนคร

“ปัจจุบัน มจธ.อยู่ในระหว่างการจัดทำแผนที่วิเคราะห์พื้นที่ทั่วประเทศถึงความเหมาะสมสำหรับการทำธนาคารน้ำใต้ดินร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ” ดร.ปริเวท กล่าว

สำหรับผู้นำชุมชนหรือบุคคลทั่วไปสนใจ สามารถศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ www.usagroundwater.com หรือขอเข้ารับการอบรมได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ หรือติดต่อ ดร.ปริเวท วรรณโกวิท ที่อีเมล์ pariwate@gmail.com โทร 08-9866-5958


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save