อว. ระดมนวัตกรรมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน COVID-19 พัฒนา แอพ DDC-Care ให้ตม.ใช้ติดตามกลุ่มเสี่ยงกว่า 50 ด่าน เริ่มใช้ 16 มีนานี้


อว. ระดมนวัตกรรมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน COVID-19 พัฒนา แอพ DDC-Care ให้ตม.ใช้ติดตามกลุ่มเสี่ยงกว่า 50 ด่าน เริ่มใช้ 16 มีนานี้

กรุงเทพฯ – 13 มีนาคม 2563 : ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดประชุมร่วมกับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรงเรีบนแพทย์ทุกแห่งทั่วประเทศ คณะแพทยศาสตร์และ โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในสังกัดกระทรวง อว. เตรียมความพร้อมรองรับภาวการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งอาจจะยืดเยื้อยาวนาน หลังจากที่องค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ประกาศยกระดับสถานการณ์การระบาดของเชื้อ COVID-19 ให้เป็นโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลก (Pandemic) เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ไทยต้องออกมาตรการต่างๆ อย่างเข้มข้น เพื่อลดอัตราการแพร่กระจายของโรค

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ว่าในภาวะการแพร่ระบาดที่อาจจะยืดเยื้อยาวนาน ทำให้ต้องวางแผนรับมือในระยะยาว เพื่อลดความตื่นตระหนกของคนในสังคม และสร้างความเชื่อมั่น ด้วยการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการติดตามและตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง และการบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์รวมไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อว.จึงจัดทำ System Base Solution โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนานวัตกรรมรับมือวิกฤต COVID-19

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

สำหรับการติดตามและตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ร่วมกับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (DGA) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) พัฒนาแอพพลิเคชั่น DDC-Care ให้กรมควบคุมโรคและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ใช้เป็นระบบติดตามและประเมินผู้ที่เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรค COVID-19 ระบบดังกล่าวจะมีระบบ Tracking ที่ช่วยให้กรมควบคุมโรคสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเกิดอาการป่วยและสามารถแจ้งเตือนข้อความผ่าน SMS ไปยังกลุ่มที่มีความเสี่ยงจากผู้ป่วยได้อีกด้วย

ทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มใช้งานที่ด่านตม.กว่า 50 แห่ง ภายในวันที่ 16 มีนาคม ศกนี้ โดยผู้ที่เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงทุกคนดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าว ผ่านระบบปฏิบัติการทั้งแอนดรอยด์ ไอโอเอสและหัวเว่ย เพื่อรายงานสุขภาพทุกวันเป็นเวลา 14 วัน หากไม่มีอาการป่วยจะได้รับหนังสือรับรองการเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม หากพบว่ากลุ่มเสี่ยงไม่รายงานผลสุขภาพทุกวัน ทางกรมควบคุมโรคจะดำเนินคดีตามพ.ร.บ.โรคติดต่อพ.ศ. 2558

อว. ระดมนวัตกรรมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน COVID-19 พัฒนา แอพ DDC-Care ให้ตม.ใช้ติดตามกลุ่มเสี่ยงกว่า 50 ด่าน เริ่มใช้ 16 มีนานี้

ดร.ณรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้กระทรวง อว.โดย สวทช.และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ยังร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกลุ่มสตาร์ทอัพทางด้านการแพทย์ พัฒนาแอพพลิเคชั่น Supply Chain Management Platform เพื่อบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานในการขนส่งอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และสินค้าที่จำเป็นทางการแพทย์ ไปถึงโรงพยาบาลและแพทย์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว รองรับสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีที่ต้องการสินค้าเป็นจำนวนมาก รวมถึงพัฒนาโซลูชั่นด้านการศึกษา รองรับการเรียนออนไลน์และ และการทำงานที่บ้าน

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลศิริราชแล้วปกปิดข้อมูลไม่แจ้งว่ามาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ทางโรงพยาบาลตรวจพบอยู่ในอาการเริ่มรุนแรงแล้ว แอพพลิเคชั่นออกแบบให้ใช้งานง่าย เป็น User Friendly โดยโรงพยาบาลศิริราชจะออกมาตรการเข้มงวด ให้ผู้ป่วยทุกคนเซ็นรับรองข้อมูล หากให้ข้อมูลเท็จ จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด

“ทั้งนี้อยู่ที่จิตสำนึกสำคัญ ต้องการให้คนแจ้งข้อมูลที่เป็นจริง คนส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา แต่คนจำนวนน้อยเป็น Spreader ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้” คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save