แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ พร้อมนำVirtual Twinพัฒนา Future Mobility และสมารท์ซิตี้ในไทยสู่ยุคใหม่ที่ยั่งยืน


กรุงเทพฯ, ประเทศไทย : แดสสอลท์ ซิสเต็มส์  (Euronext Paris: FR0014003TT8, DSY.PA) ชููศักยภาพ Virtual Twin มาใช้วางแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะและโซลูชันการเดินทางในอนาคต (Future Mobility) รวมทั้ง รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยสู่ยุคใหม่ที่ยั่งยืน  พร้อมสนับสนุนประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065 ภายใต้นโยบาย 30@30

การพัฒนารูปแบบการเดินทางไปสู่ความยั่งยืนเปิดโอกาสให้มีการลงทุนใหม่ ๆ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและยังช่วยสร้างทักษะแรงงานรวมถึงอาชีพใหม่ ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมืองเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของการจัดการระบบขนส่ง โดยในปี ค.ศ. 2050 ประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นอีก 11 ล้านคน และ 73% จะอยู่อาศัยในเขตเมือง ซึ่งการขยายตัวของเมืองจะมีอย่างต่อเนื่องตามเทรนด์โลกและเกิดความท้าทาย 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความพร้อมและความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับมือสังคมเมืองที่ขยายใหญ่ขึ้น ปัญหาการจราจรที่หนักหน่วงขึ้น และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหรือมลภาวะที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การจราจรหนาแน่นจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ที่เป็นตัวการสำคัญของการปล่อยคาร์บอนและทำให้คุณภาพอากาศในเมืองแย่ลง ทำให้เมืองต่าง ๆ กำลังผลักดันให้เปลี่ยนมาใช้ EV เพื่อลดมลพิษทางอากาศ เนื่องจากการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นอนาคตของการเดินทาง การผลักดัน EV ขับเคลื่อนผู้ผลิตยานยนต์ให้ออกแบบ พัฒนาด้านวิศวกรรมและผลิต EV ให้มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และยั่งยืน

พลังงานหมุนเวียน ระบบขนส่งอัจฉริยะและรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มีบทบาทสำคัญต่อเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศไทยและเป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065  นอกจากนี้ประเทศไทยยังเตรียมขับเคลื่อนเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศถึง 30% ภายในปี ค.ศ. 2030 ภายใต้นโยบาย ‘30@30’

เทคโนโลยีดิจิทัลจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทยในการปรับขนาดการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ช่วยเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมยังสามารถแข่งขันและดึงดูดผู้ผลิตให้เข้ามาเปิดสายการผลิตในโรงงานในประเทศไทย โดยแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE และประสบการณ์ Virtual Twin ของแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ จะช่วยวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานการเดินทางในเมืองต่าง ๆ ทำให้เมืองน่าอยู่และมีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น

อึง อิค ฮอค  ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการสาธารณะและเมือง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการนำแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE ของแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ไปใช้พัฒนายานพาหนะไฟฟ้าสูงถึง 85% ของโลก โดยผู้ผลิตสามารถเร่งกระบวนการพัฒนาและลดต้นทุนการผลิตในด้านต่าง ๆ ด้วยการสร้างแบบจำลองคู่แฝดเสมือน (Virtual Twins) ของรถยนต์และนำไปใช้จำลองการทดสอบสมรรถนะรถยนต์เสมือนจริง ยกตัวอย่างโรงงาน NIOผลิิตรถ EV ในประเทศจีน ซึ่งมีฐานการผลิตที่เซี่ยงไฮ้ และแคลิฟอร์เนีย โดยมีศูนย์ออกแบบที่เยอรมนี  สามารถทำงานแบบเรียลไทม์ ช่วยลดเวลาในการทำงานลงมาก สามารถลดขั้นตอนด้านวิศวกรรมและวางระบบต่างๆ  50 % ใช้เวลาในการออกแบบ พัฒนา ผลิตและจำหน่ายเพียง 1 ปี จากเดิม 3 ปี  ช่วยให้สามารถซื้อชิ้นส่วนในราคาที่เหมาะสม  ช่วยลดค่าใช้จ่ายลง 20-30%

นอกจากนี้ผู้ผลิตยังได้รับข้อมูลและความรู้เชิงลึกสำหรับการสร้างที่ยั่งยืนตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

การทำงานร่วมกันบนแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE ที่ช่วยให้นักผังเมือง ผู้ให้บริการด้านพลังงานและผู้ผลิตยานยนต์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของสถานีชาร์จ EV เพื่อตอบสนองความต้องการของเมืองตามปัจจัยสำคัญ อาทิ ระยะทาง จำนวนประชากรและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ โดยเทคโนโลยี Virtual Twins สามารถช่วยวางแผนและประเมินการเข้าถึงสถานีชาร์จ EV ที่ติดตั้งแล้วได้ และเราพร้อมสนับสนุนประเทศไทยบรรลุเป้าหมายอันสูงสุดเพื่อพัฒนาการเดินทางในอนาคตให้เกิดขึ้นจริง

“Virtual Twins สามารถใช้เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายผ่านการสร้างโมเดลและการจำลองเสมือนจริง โดยให้ข้อมูลเชิงลึกด้านผลกระทบต่อคุณภาพอากาศจากการเปลี่ยนยานพาหนะ ICE ไปเป็น EV มากขึ้น ขณะที่กำลังมองไปถึงอนาคตการเดินทาง แต่การปรับปรุงและพัฒนาการเดินทาง ณ ปัจจุบันควรดำเนินต่อไป ซึ่งการวางแผนสร้างทางหลวง ถนนหรือเส้นทางจักรยานใหม่ ตลอดจนปรับปรุงความสะดวกสบายของการสัญจรในเมือง รวมถึงการเดินบนทางเท้าแบบไร้สิ่งกีดขวางสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Virtual Twins” อึง อิค ฮอค  กล่าว

สำหรับกลุ่มเป้าหมายของดสสอลท์ ซิสเต็มส์ในไทยครอบคลุมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ ทั้งเมือง การออกแบบยานพาหนะ ผู้ประกอบการเดิม และผู้ประกอบการหน้าใหม่  ในทุกๆเมือง ไม่เฉพาะ Smart City ทีึ่ต้องการออกแบบผังเมือง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ด้านกีโญม เชอคฮองโดร์ รองประธานฝ่ายพัฒนาการขนส่งและยานยนต์แห่งเอเชีย  Dassault Systèmes  กล่าวว่า การใช้ประสบการณ์ของแพลตฟอร์ม  3DEXPERIENCEในเมืองเหมือน Cyber Experience ที่สังเคราะห์ให้ตรงกับสภาพของเมือง

ด้วยโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละเมือง กฎระเบียบที่แตกต่างกัน Future Mobility ต้องออกแบบให้ตอบโจทย์กฎระเบียบให้ได้มากที่สุด นอกจากราคาและการบำรุงรักษาแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นๆ ในการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์ม ทั้งในเรื่องความหนาแน่นของเมือง สภาพภูมิศาสตร์ และประชากร

สำหรับความท้าทายของ Mobility ประกอบด้วย4 S คือ Scope, Speed, Scale และ Sustainability  ซึ่งจะต้องตอบโจทย์ทั้ง 4 เพื่อการเดินทางที่ยั่งยืน

ล่าสุดแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ได้ร่วมนำเสนอเทคโนโลยีและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ในงาน Future Mobility Asia  2023 (FMA 2023)  จัดขึ้นระหว่าง 17-19 พฤษภาคม 2566  ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save