สจล แนะใช้หลักการทางวิศวกรรมทำแก้มลิงใต้ดิน ป้องกันน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่กรุงเทพฯ ย่านสุขุมวิท – จตุจักรและลาดพร้าว


สจล แนะใช้หลักการทางวิศวกรรมทำแก้มลิงใต้ดิน ป้องกันน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่กรุงเทพฯ ย่านสุขุมวิท – จตุจักรและลาดพร้าว

จากปัญหาน้ำท่วมรอระบายในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วงเวลาฝนตก โดยเฉพาะจุดเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก เช่น ลาดพร้าว บางซื่อ วิภาวดี รามคำแหง สุขุมวิทและสีลม นั้นก่อให้เกิดปัญหารถติดสะสมบนท้องถนนจำนวนมากและที่สำคัญเสียพลังงานเชื้อเพลิงในช่วงรถติดโดยเปล่าประโยชน์ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สภาวิศวกรและนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้แนะนำให้ใช้หลักการทางวิศวกรรมสร้างแก้มลิงใต้ดินในพื้นที่นำร่องบริเวณสวนเบญจกิติ และสวนจตุจักร ซึ่งจะช่วยกักเก็บน้ำในช่วงฝนตกหนักได้ รวมทั้งแก้มลิงบริเวณปากซอยพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เพื่อแก้ปัญหาน้ำในช่วงฤดูฝนและนำน้ำแก้มลิงมาใช้ในช่วงฤดูแล้งในอนาคต

ศ.ดร. สุชัชชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

ศ.ดร. สุชัชชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นายกสภาวิศวกร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและผังเมืองแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากในทุกๆปี เนื่องจากระบบการบริหารจัดการระบายน้ำยังล่าช้าและไม่เป็นระบบที่ถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ ซึ่งกำลังพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินการคมนาคม (ถนนสายหลัก) ไม่ตรงตามผังเมือง มีการก่อสร้างคอนโดมิเนียม บ้านพักที่อยู่อาศัยและระบบคมนาคม รถไฟฟ้าหลากหลายสายที่กำลังก่อสร้างอยู่ไปปิดทับเส้นทางไหลของน้ำ โดยเฉพาะขยะและสิ่งของจากบ้านเรือนประชาชนที่ปลูกรุกล้ำแม่น้ำขวางทางไหลของน้ำ ทำให้ช่วงเวลาที่เกิดพายุฝนตกหนักตามฤดูกาลหรือนอกฤดูกาลที่ร่องมรสุมพัดผ่านในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกิดน้ำท่วมฉับพลันพร้อม ๆกันในหลายๆจุด โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมืองย่านเศรษฐกิจ เช่น สุขุมวิท สีลม คลองเตย จตุจักร ลาดพร้าวและตามแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกๆสายที่กำลังเร่งการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้จะได้รับผลกระทบน้ำท่วมรอระบายในระดับที่สูงต่ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สาเหตุของน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

แก้มลิงกรุงเทพฯ แก้น้ำท่วม

ข้อมูลสำนักการระบายน้ำกทม.เผย 70 จุดเสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

จากข้อมูลของสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานครซึ่งใช้ Big Data คำนวณพื้นที่น้ำท่วมปีระหว่างปี พ.ศ. 2552-2562 และระดับความสูงของพื้นที่ จากการวิเคราะห์ 70 จุดเสี่ยงภัยน้ำท่วมบริเวณถนน พบว่ากรุงเทพมหานครมีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมสูงสุดกว่า 35.52% ของพื้นที่ทั้งหมด 1,571.13 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ Big Data ยังสามารถแสดงผลเป็นภาพกราฟิก “70 จุดเสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 56 จุดเสี่ยงน้ำท่วมทันที หากมีปริมาณน้ำฝนเกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ประกอบด้วย ถนนพระราม 3 ช่วงตลาดฮ่องกงปีนัง-แยก ณ ระนอง, ถนนงามวงศ์วาน ช่วงแยกเกษตร, ถนนรัชดาภิเษก แยกพระราม 9-แยกห้วยขวาง, ถนนแจ้งวัฒนะ มรก.พน., ถนนรามคำแหง ช่วงมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ถนนอโศกมนตรี และถนนพัฒนาการ แยกศรีนครินทร์-คลองบ้านป่า และ 14 จุดเสี่ยงน้ำท่วม กรณีปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง เช่น ถนนแจ้งวัฒนะ จากคลองประปา-คลองเปรมประชากร, ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ และถนนพหลโยธินบริเวณหน้าตลาดอมรพันธ์และบริเวณแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โมเดลแก้มลิงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

แนะทำแก้มลิงแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว

ศ.ดร. สุชัชชวีร์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้ดำเนินงานหลักแต่ต้องอาศัยทุกหน่วยงานร่วมมือกัน ซึ่งทาง สจล.พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทุกๆหน่วยงานในการเสนอแบบโมเดลทางวิศวกรรมแก้มลิงเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยนำข้อมูลการคำนวณจากโครงสร้างกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ถนนต่ำกว่าระดับแหล่งน้ำเมื่อฝนตกลงมา น้ำจึงระบายไม่ได้ เพราะถนนหลักและท่อระบายน้ำอยู่สูงกว่าซอย ซึ่งจากการลงพื้นที่และข้อมูลประกอบแล้วเห็นควรว่าพื้นที่สวนเบญจกิติบนพื้นที่ประมาณ 130 ไร่ มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 900,000 ตารางเมตร ซึ่งคาดว่าหากทำแล้วเสร็จจะสามารถรองรับปริมาณน้ำได้กว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตรในช่วงฝนตกหนัก รองรับน้ำฝนในพื้นที่สุขุมวิท คลองเตยและสีลมช่วยให้ไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมรถติดแสนสาหัสอีกต่อไปได้

ส่วนพื้นที่สวนจตุจักร ประมาณ 155 ไร่ รองรับน้ำฝนในพื้นที่จตุจักร ลาดพร้อม รัชดา และวิภาวดีรังสิตเหมาะที่จะนำร่องทำแก้มลิงใต้ดิน ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 สำหรับวิธีการทำแก้มลิงนั้นใช้วิธีเปิดหน้าดินเป็นช่องเล็กๆ แล้วใช้เครื่องมือเจาะคว้านดินด้านในสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้ดินขึ้นกว้าง 50 เมตร ยาว 100 เมตร ลึก 20 เมตร ต่อหนึ่งแอ่งแก้มลิง โดยใช้งบประมาณประมาณ 1,000,000,000 ล้านบาทในการทำโครงการแก้มลิงทั้ง 2 แห่ง แล้วสร้างท่อระบายน้ำหลัก 4 ท่อ พร้อมเชื่อมกับระบบท่อระบายอื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร เพื่อลำเลียงน้ำฝนบนพื้นถนนไปกักเก็บไว้ใต้ดินเพื่อรอระบายไปยังแหล่งน้ำในช่วงฤดูฝนหรือผันน้ำให้เข้าอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำของกรุงเทพมหานครต่อไปและสูบน้ำในพื้นที่แก้มลิงมาใช้ในช่วงหน้าแล้งสำหรับใช้แก้ปํญหาขาดแคลนน้ำได้อีกทางหนึ่งด้วยการทำเกษตร

“นอกจากนี้ควรทำแก้มลิงในซอยที่มีปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ เช่น บริเวณพื้นที่ รัชดา ลาดพร้าว สุขุมวิท คลองเตย วิภาวดีและอื่นๆ ขุดแอ่งแก้มลิงให้กว้าง 4 เมตร ยาว 20 เมตรและลึก 8 เมตร ใช้งบประมาณ 3,000,000 บาทต่อหนึ่งสำนักงานเขตโดยประมาณขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ของแต่ละเขตที่ประสบปัญหาน้ำท่วมจากปริมาณน้ำฝน สำหรับกักเก็บน้ำ ทำเชื่อมต่อกันใต้ดินในบริเวณซอยต่างๆจะช่วยให้น้ำฝนที่ตกลงมาไหลลงสู่แก้มลิงแทนการท่วมเอ่อขึ้นมาบนพื้นถนนได้ ซึ่งรูปแบบการใช้เหลักวิศวกรรมในการคิดค้นแก้มลิงใต้ดิน ซึ่ง Big Data นี้ทาง สจล.พร้อมที่จะส่งมอบแก่รัฐบาล กรุงเทพมหานครและพื้นที่จังหวัดอื่นๆที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากต่อไป” อธิการบดี สจล. กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save