เสวนา “ราษฏร์-รัฐ ร่วมใจสู้ภัยฝุ่นจิ๋ว” มองสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน – มั่นใจแก้ปัญหาฝุ่นพิษได้


เมื่อเร็ว ๆ นี้ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย    จัดเสวนา  PM2.5 Series 7  หัวข้อ “ราษฏร์-รัฐ ร่วมใจสู้ภัยฝุ่นจิ๋ว” โดยมีนพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุขระดับ 11 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข  ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์  กรรมการราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย   และอรรถพล  เจริญชันษา  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ  ร่วมเสวนาให้ความรู้   ดำเนินรายการโดย นพ.ไพศาล เลิศฤดีพร กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลกรุงเทพ 

จากซ้าย  นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุขระดับ 11 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข อรรถพล  เจริญชันษา  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ   ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์  กรรมการราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย   และนพ.ไพศาล เลิศฤดีพร กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลกรุงเทพ  ผู้ดำเนินรายการ

มองสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน

แก้ปัญหาฝุ่นพิษได้

นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุขระดับ 11 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  จากรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พบค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสีแดงมากๆ   หากไม่มีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ให้อยู่ที่บ้าน  ในส่วนของผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งให้เฝ้าระวัง  พร้อมแนะนำให้ออกกำลังกายที่บ้าน   อย่างไรก็ตาม หากหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้านไม่ได้ ให้ใส่เครื่องป้องกัน และรีบเดินทางกลับบ้าน  ส่วนการทำกิจกรรมกลางแจ้งให้เปลี่ยนมาทำในที่ร่มแทน  สำหรับกลุ่มเสี่ยง  คือ 1.เด็กเล็ก 2. ผู้สูงอายุ 3. คนโรคประจำตัว  ได้แก่ หอบหืด หัวใจ ภูมิแพ้  และโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะแตกและตันได้

“PM 2.5 แก้ได้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม    ครอบครัวต้องช่วยกันใช้รถยนต์คันเดียวกัน  ดูแลรักษารถยนต์    สำหรับช่วงนี้ให้งดการเผา โดยฝังกลบไปก่อน ต้องมองในเชิงระดับนโยบายดูแลพี่น้องประชาชนให้สุขภาพดี เพราะสุขภาพเป็นเรื่องของเราทุกคน   ถ้าเราใช้หลักคิดแบบนี้ แก้ไขได้”  นพ.รุ่งเรือง กล่าว

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ แนะเด็ก-หญิงมีครรภ์

หลีกเลี่ยงเผชิญฝุ่นพิษ

ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์  กรรมการราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย   กล่าวว่า   ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยได้ออก Infographic  พร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพเด็กและหญิงตั้งครรภ์ในการรับมือฝุ่น PM2.5 ดังต่อไปนี้  1.ทารกในครรภ์มารดา มีการเจริญเติบโตและอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด และสมอง การได้รับมลพิษในช่วงนี้อาจส่งผลระยะยาวต่อการทางานของอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงมลพิษเป็นพิเศษโดยเฉพาะหญิงที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 6 เดือน   2.ในเด็กปกติ ระดับคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและกิจกรรมในชีวิตประจำวันคือ ระดับ AQI มากกว่า 100 หรือ PM2.5 มากกว่า 50 มคก./ลบ.ม.   3. เด็กที่มีปัญหาทางระบบหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหืด โรคปอดเรื้อรัง เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหัวใจ ระดับคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและกิจกรรมในชีวิตประจำวันคือ ระดับ AQI มากกว่า 50 หรือ PM 2.5 มากกว่า 37 มคก./ลบ.ม.   4.ระดับคุณภาพอากาศในอาคารที่เหมาะสม คือ ระดับ AQI ไม่เกิน 50 หรือ PM 2.5 ไม่เกิน 37 มคก./ลบ.ม. เมื่อระดับคุณภาพอากาศภายนอกเกินเกณฑ์มาตรฐาน ควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด โดยระวังอย่าให้ห้องร้อนเกินไป ไม่สูบบุหรี่ หรือจุดธูปในอาคาร ถูพื้นโดยใช้ผ้าเปียก เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง หากภายในอาคารมีมลพิษสูง ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกำจัด PM2.5 ได้ ไม่ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่มีการผลิตโอโซนเพราะโอโซนในปริมาณมากเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง   และ 5.โรงเรียนควรมีการติดตามรายงานคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ และพิจารณาปรับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้  1.เมื่อระดับ AQI มากกว่า 100 หรือ PM 2.5 มากกว่า 50 มคก./ลบ.ม. ควรสวมหน้ากากอนามัยและไม่ควรออกกาลังกายกลางแจ้ง เมื่อระดับ AQI มากกว่า 200 หรือ PM 2.5 มากกว่า 90 มคก./ลบ.ม. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและพิจารณาหยุดเรียน  2.เด็กที่มีปัญหาทางระบบหายใจและโรคหัวใจ เมื่อระดับ AQI มากกว่า 50 หรือ PM 2.5 มากกว่า 37 มคก./ลบ.ม. ควรสวมหน้ากากอนามัยและไม่ควรออกกาลังกายกลางแจ้ง เมื่อระดับAQI มากกว่า 100 หรือ PM 2.5 มากกว่า 50 มคก./ลบ.ม. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและพิจารณาหยุดเรียน    ในอนาคตควรมีมาตรการในการลดระดับ มาตรฐาน PM2.5 ของประเทศไทยให้ใกล้เคียงกับข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก

เน้นให้ความรู้กุมารแพทย์ไว้รับมือฝุ่น PM 2.5

พร้อมกันนี้ได้จัดตั้งคณะทำงาน 14 คน   ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค  เน้นให้ความรู้กุมารแพทย์ด้านฝุ่น PM 2.5 โดย ร่วมมือกันรณรงค์ จัด Lecture PM2.5   ไปแล้ว 6 Series   ล่าสุด Series 7   ได้เชิญ Sir Stephen T Holgate CBE., FMedSciIMRC  Cinical Professor of Immunopharmacology  UKRI Clean Air Champion and special advisor to the RCP on Air Quality, Faculty of Medicine, University of Southampton, UK  ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาบรรยายและนำประสบการณ์การฟื้นฟูสภาพอากาศในเมืองใหญ่ๆ เช่นกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นำมาเล่าให้เราฟัง ในหัวข้อเรื่อง   “Clean air, Act for the 21st Century”   เนื่องจากในปีค.ศ. 1950 อังกฤษมีปัญหาเผาถ่านหินจนมีผู้เสียชีวิต     โดยมีกุมารแพทย์ร่วมรับฟังถึง 12,000 คน

“เราพยายามรณรงค์ระดับประชาชน มีเพจเฟซบุ๊ค ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 : โดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยกระจายไปถึงประชาชนให้สามารถถามคำถามได้ โดยหมอจะเป็นผู้เข้ามาตอบ โดยมีเอกสารอ้างอิง    ราชกุมารฯ เน้นย้ำค่าฝุ่น PM 2.5 มากกว่า  50 มคก./ลบ.ม. ให้หลีกเลี่ยงออกข้างนอก หากมากกว่า 90 มคก./ลบ.ม. หลีกเลี่ยงกลางแจ้ง อาจพิจารณาปิดโรงเรียนไปเลย  เพราะจะกระทบต่อเด็กที่มีปัญหาด้านการหายใจ ขอฝากชีวิตเด็ก ๆ ไว้ในกำมือท่านถ้ามีลูกหลานไม่อยากให้มีมลพิษ ที่มีผลต่อหัวใจและสมอง”  ศ.พญ.อรุณวรรณ กล่าว

สำหรับการเลือกใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5  หากเป็นหน้ากากผ้าที่มีเส้นใยยิ่งแน่นจะยิ่งกรองได้มาก ส่วน Surgical Mask กรองได้ดี แต่ถ้าใส่ไม่แนบก็จะไม่มีประโยชน์    ขณะที่หน้ากาก N95  กรองได้ดีมาก  แต่ใส่แล้วอาจจะอึดอัดได้  ทั้งนี้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสุขภาพ    ส่วนต้นไม้  มีต้นไม้สำคัญบางชนิดช่วยดูดฝุ่นได้ ซึ่งทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ จะจัดให้ความรู้อีกครั้งในเดือนมกราคมปีหน้า

คพ. เผยหากประชาชนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

แก้ปัญหาฝุ่นพิษยาก

อรรถพล  เจริญชันษา  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวว่า รัฐบาลได้บรรจุการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5   เป็นแผนวาระแห่งชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว   ระยะสั้น แก้ปัญหาทันที  ส่วนระยะยาว จุดเปลี่ยนอยู่การใช้เครื่องยนต์ที่ได้มาตรฐานยูโร 5-6   ซึ่งทำให้เกิด PM2.5 น้อยที่สุด  ซึ่งต้องใช้เวลา

“สำหรับแผนระยะสั้น  ถ้าออกแผนแต่ประชาชนไม่ร่วมมือ ยังใช้รถไม่ได้คุณภาพ   น้ำมันคุณภาพต่ำ ก็แก้ไขปัญหาได้ลำบาก      สิ่งแรกต้องให้ประชาชนให้ความร่วมมือ เปลี่ยน ยอมรับว่าจะกระทบต่อชีวิตปัจจุบัน ใช้รถสาธารณะ   ใช้แอปพลิเคชันวางแผนเดินทาง  ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเช่นในช่วงวันที่  14-17 ธันวาคม  ให้งดการเผาในพื้นที่กทม.และปริมณฑล รถที่มีควันดำอาจต้องตั้งจุดสกัดร่วมกัน กรมการขนส่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกทม.  ถ้าทุกคนช่วยจะเบาบางลง   ระยะยาว เปลี่ยนจากรถไฟฟ้า จากรถใช้สันดาปไปใช้รถไฟฟ้า” อรรถพล  กล่าว

นอกจากนี้ภาครัฐยังร่วมมือกับเอกชน 2 ราย ผลิตน้ำมันกำมะถันต่ำลดฝุ่น PM2.5 เกรดพรีเมี่ยมจำหน่ายให้ประชาชน ตั้งแต่ 1ธันวาคม –  28 กุมภาพันธ์  2564  เท่านั้น   ซึ่งเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทยในทุกปี  เพื่อลดการเกิดวิกฤตฝุ่นละอองลง  ซึ่งน้ำมันชนิดนี้ใช้ได้กับรถทุกรุ่นทั้งรถเก่ารถใหม่ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์

สำหรับ 17 จังหวัดพื้นที่ภาคเหนือและอีสานได้รับผลกระทบ แผนระยะยาว  รัฐให้ความสำคัญไฟป่า  โดยประสานไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลในการสอดส่องดูแล  


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save