กสอ. จับมือ ภาคการศึกษา – เอกชน เสริมทักษะ SME ด้านออนไลน์และการขายเดลิเวอรี่ผ่านกิจกรรม “ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ติดอาวุธ SMEs ฝ่า COVID-19”


กสอ. จับมือ ภาคการศึกษา - เอกชน เสริมทักษะ SME ด้านออนไลน์และการขายเดลิเวอรี่ผ่านกิจกรรม “ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ติดอาวุธ SMEs ฝ่า COVID-19”

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ ภาคการศึกษาและเอกชน จัดกิจกรรมปิดคอร์สไลฟ์สตรีมเสริมทักษะการเรียนออนไลน์และการขายเดลิเวอรี่แก่ผู้ประกอบการ SME อย่างครบวงจร ผ่านกิจกรรม “ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ติดอาวุธ SMEs ฝ่าวิกฤต COVID-19” ภายใต้โครงการ “สร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่” สร้างแต้มต่อธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ดร.ณัฐพล รังสิตพล

ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า จากวิกฤต COVID-19 แทบทุกอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วนต่างได้รับผลกระทบ กสอ.จึงร่วมกับภาคการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และผู้ประกอบการภาคเอกชนร่วมจัดกิจกรรม “ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ติดอาวุธ SMEs ฝ่า COVID-19” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ด้วยการนำผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมโครงการเป็นวิทยากรสอนกระบวนการทำสินค้าของผู้ประกอบการให้น่าสนใจ ดึงดูดและโดนใจผู้ซื้อ ไม่เน้นการขายที่ลดแลกแจกแถม แต่จะเน้นคุณภาพและเชื่อมโครงข่ายของกลุ่มผู้ประกอบการSME ประเภทเดียวกันให้มีช่องทางเดียวกันด้วยการเสริมทักษะการเรียนออนไลน์นำเสนอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Line, YouTube และอื่นๆใน 5 ทักษะสำหรับผู้ประกอบการ SME ได้แก่ 1. ทักษะค้าออนไลน์และการขายเดลิเวอรี่แบบมืออาชีพ 2. ทักษะถ่ายภาพโปรดักดึงดูดผู้บริโภค 3. ทักษะเขียนคอนเทนต์ สร้างประสบการณ์ร่วมผู้บริโภค 4. ทักษะผลิตสื่อประชาสัมพันธ์คุณภาพ รองรับแพลตฟอร์มออนไลน์ และ5. ทักษะการนำเสนอสินค้า รองรับการจับคู่ธุรกิจ เพิ่มโอกาสทางการตลาดในอนาคต หลังพบค้าออนไลน์ช่วง COVID-19 ประมาณ 2 เดือนโตขึ้นกว่า 50%

สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เข้าไปแนะนำให้ผู้ประกอบการนั้นพบว่าผู้ประกอบการ SME ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในหลายๆพื้นที่ที่ไม่ใช่เมืองใหญ่ รวมทั้งในอำเภอห่างไกลสัญญาณอินเตอร์เน็ตเข้าถึงเนื่องจากขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ออนไลน์ขายสินค้า โดยผู้ประกอบการแต่ละรายกว่า 40 % ยังไม่เคยใช้ช่องทางขายทางแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตออนไลน์เลยเพราะมองว่าการเข้าถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการมากขึ้น
“ทาง กสอ. พยายามที่จะใช้แผนการอบรมให้ความรู้เรื่องการนำเสนอ สินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ผ่านสื่อของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆและส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อยู่ตอลดเวลาก่อนที่จะเกิดวิกฤต COVID-19 ตามนโนบายรัฐบาลที่ต้องการให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าถึงทุกๆกลุ่มประชาชนไม่เว้นแต่ผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย เช่น นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นคอร์สอบรมบนออนไลน์ไลฟ์สตรีมผ่านกลุ่มปิด : ถอดบทเรียนบัญชีแก้ปัญหาการเงินรับมือ COVID-19 ทาง Facebook Fan Pageโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่” (New Entrepreneurs Creation) อีกด้วย คาดว่าหากผู้ประกอบการ SME ปรับใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการนำเสนอขายสินค้าหลังจากนี้จะช่วยให้มียอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15 % โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร

ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร และ ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี
ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร (ซ้าย) และ ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี (กลาง)

หนุน SME ขายสินค้าออนไลน์กระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น

ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มโอ แซดคอม เน็ตดีไซน์ (GMO-Zcom NetDesign) กล่าวว่า ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่จะยังนิยมทำการขายสินค้าแบบเดิมและไม่คิดที่จะปรับเปลี่ยนนำสินค้ามาขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์เนื่องจากมองว่าจะมีความยุ่งยากในการใช้ช่วงเวลาไปเรียนรู้เพิ่ม อีกทั้งช่วงเวลาที่เรียนรู้การขายออนไลน์จะเสียเวลาในการขายสินค้าในช่องทางปกติ หากใช้ขายสินค้าแบบเดิมจะมียอดขายสินค้าได้ดีกว่า

“อยากให้ผู้ประกอบการ SME เปิดใจและทดลองเข้ามาเรียนการนำเสนอสินค้าขายทางช่องทางออนไลน์ก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าจะปรับเปลี่ยนรุปแบบการขายทั้ง 100% ไปขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์, ขายแบบเดิมปกติ 100% และขายออนไลน์ 50 %ขายปกติ 50% จากนั้นประเมินยอดขายในการขายช่องทางต่างๆสัก 2-3 เดือนแล้วค่อยตัดสินใจปรับเปลี่ยนก็ยังมีโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมความงามและการเกษตรที่ผู้ประกอบการไทยมีอยู่จำนวนมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มโอ แซดคอม เน็ตดีไซน์ กล่าว

แนะ SME ควรมองหาโอกาสและช่องทางการทำตลาดรูปแบบใหม่

ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้านชาบูบุฟเฟต์ชื่อดัง เพนกวิน อีท ชาบู (Penguin Eat Shabu) กล่าวว่า โอกาสเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการ SME เมื่อมีช่องทางและโอกาสใหม่ๆในการเรียนรู้การขายที่มีประสิทธิภาพและมี กสอ.เป็นผู้สนับสนุนหลักควรรีบไขว่คว้าเอาไว้ โดยเฉพาะ กสอ.ที่พร้อมสนับสนุนปั้นให้ผู้ประกอบการ SME ไทยมีตลาดการขายของออนไลน์ 24 ชั่วโมง, มีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น, มียอดขายที่เพิ่มขึ้นและมีพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนการขายจากแบบปกติมีหน้าร้านขายคนมาซื้อในร้าน ขายนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมร้านไปเป็นขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีผู้ซื้อมากกว่าหลายเท่าตัวจะช่วยให้โอกาสในการเติบโตทางธุรกิจอยู่ได้และอยู่รอดในทุกๆวิกฤต ซึ่งจะเห็นได้จากวิกฤต COVID-19 ธุรกิจขายอาหารออนไลน์ขายสินค้าได้จำนวนมาก และการขายปรับตัวรับเดลิเวอรี่ช่วยให้ทั้งผู้ประกอบการขายของและผู้ซื้อได้มีโอกาสทดลองใช้สินค้า ทดลองชิมอาหารชนิดต่างๆจากร้านที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วหรือยังไม่มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น

“เชื่อว่าหลังจากวิฤต COVID-19 ลูกค้า ผู้ซื้อสินค้าต่างๆจะให้กลับไปเลือกซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการ SME ต่างๆที่เขาเคยใช้บริการระหว่างกักตัวที่บ้าน นอกจากนี้อยากให้ผู้ประกอบการเก็บชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ของลูกค้า จำนวนครั้งที่เข้าไปใช้บริการระหว่าง COVID-19 นี้เอาไว้แล้วภายหลังวิกฤตคลี่คลาย ควรจะทำโปรโมชั่นมอบให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในช่วง COVID-19 จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ประกอบการและผู้ซื้อได้อีกทางหนึ่งด้วย” ธนพงศ์ กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save