งานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019 ระดมทัพแสดงสินค้ากว่า 1,000 รายจาก 60 ประเทศ คาดมีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นกว่า 12,000 ราย


งานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019 ระดมทัพแสดงสินค้ากว่า 1,000 รายจาก 60 ประเทศ คาดมีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นกว่า 12,000 ราย

งานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์

กรุงเทพฯ : งานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 9 จะในระหว่างวันที่ 11 – 13 กันยายน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่กว่าเดิม คาดว่าจะมีผู้เข้าเยี่ยมชมงานกว่า 12,000 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดงานครั้งล่าสุดเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดย 40% มาจากต่างประเทศ และ 60% เป็นผู้เข้าชมงานจากประเทศไทย

Gernot Ringling

Mr Gernot Ringling กรรมการผู้จัดการบริษัท Messe Düsseldorf Asia ผู้จัดงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ กล่าวว่า เมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 9 มีผู้แสดงสินค้ากว่า 1,000 รายจาก 60 ประเทศ มาร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรมด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมหลายด้าน เช่น อุปกรณ์ที่ช่วยวินิจฉัยและการถ่ายภาพทางการแพทย์, ระบบการเฝ้าระวังสุขภาพผู้ป่วย, วัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ที่คุ้มราคา, โซลูชั่นสำหรับการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัล และมีโอกาสได้ต้อนรับการเข้าร่วมของพาวิลเลี่ยนนานาชาติและกลุ่มประเทศต่าง ๆ จาก 21 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศที่เข้าร่วมงานเป็นครั้งแรก 5 ประเทศได้แก่ บราซิล เดนมาร์ก อินโดนีเซีย อิสราเอล และฮ่องกง

สำหรับประเทศไทย พบว่ามีตัวแทนจากบริษัทต่าง ๆ ของไทยสนใจเข้าร่วมงานนี้เพิ่มขึ้นกว่า 60% เมื่อเทียบกับการจัดงานครั้งที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ ที่เปรียบเสมือนเวทีทางยุทธศาสตร์ที่ผู้ประกอบการไทยจะได้พบกับผู้ซื้อที่มีคุณภาพและพันธมิตรทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องในระดับนานาชาติ ในปีนี้คาดมีจำนวนผู้เยี่ยมชมงานมากกว่า 12,000 ราย เพิ่มขึ้น 20% โดยเป็นผู้เข้าชมงานจากอินเดีย ตะวันออกกลาง เวียดนาม มาเลเซีย ลาวและเมียนมา

สตาร์ทอัพพาร์ค

ในปีนี้ งานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019 ได้เพิ่มสตาร์ทอัพพาร์ค ซึ่งเป็นกิจกรรมใหม่ที่ โดยมีแนวคิดที่จะสร้างแพลตฟอร์มเฉพาะทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรม การดูแลสุขภาพผู้สูงวัย และธุรกิจด้านการแพทย์จากประเทศสิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ฮ่องกง และไต้หวันได้พบกับนักลงทุนที่มีศักยภาพ, ผู้ที่มีบทบาทในแวดวงอุตสาหกรรม, และผู้ซื้อกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพทั้ง 11 รายจะจัดแสดงผลงานนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสำหรับการปลูกถ่ายกระดูก, การใช้ระบบซอฟท์แวร์ปัญญาประดิษฐ์เพื่อลดเวลาการวินิจฉัยโรคและปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ, การใช้เทคโนโลยี One-stop e-platform เพื่อค้นหาและนัดหมายบุคลากรทางการแพทย์ สตาร์ทอัพพาร์คมีบทบาทสำคัญที่เป็นเสมือนตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานในระบบนิเวศผู้ประกอบการซึ่งช่วยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมด้านด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์/สุขภาพในประเทศไทย

สำหรับสตาร์ทอัพพาร์คประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น Fireside chats, และเวทีเสวนาของผู้นำอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากทั่วโลก ซึ่งจะร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ทอัพ แนวทางปฏิบัติที่ดี และในประเด็นอื่นๆ ในหลากหลายหัวข้อ โดย Mr. Muthu Singaram หัวหน้าโครงการ จาก Virtual International Business Accelerator (VibaZone™) จะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการในกิจกรรมนี้ Mr. Muthu Singaram เป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงในระดับโลก และมีประสบการเกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพกว่า 20 ปี

กนกพร ดำรงกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB กล่าวว่า อุตสาหกรรม MICE และงานแสดงสินค้านำรายได้สู่ประเทศมากที่สุด ทั้งนี้ในไตรมาสที่1 -3 ของปีนี้ มีผู้เข้าชมงานแสดงสินค้าในไทยมากกว่า 1 แสนคน โดยที่ผู้เข้าชมงาน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 88,000 บาท/คน ซึ่งสูงขึ้น 20 % เมื่อเทียบกับปีพ.ศ.2561 ที่ผ่านมา

ปีที่ผ่านมา ภาพรวมงานแสดงสินค้าของไทยเติบโตเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน มีกลุ่มผู้ซื้อคุณภาพ 126% โดยงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรม MICE ของประเทศไทยพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ก้าวหน้าไปด้วยตามนโยบาย Thailand 4.0 การเติบโตในส่วนของอุตสาหกรรมการแพทย์ภาคเอกชนในประเทศไทยถูกขับเคลื่อน ด้วยจากการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และความต้องการที่เพิ่มขึ้นของคนชนชั้นกลางในประเทศไทยที่มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งรายได้ของคนชั้นกลางในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้การใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้นเนื่องจาก โรคที่ไม่ติดต่อ (NCDs) และความเครียดจากการทำงานเกิดเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันโรงพยาบาลในไทยได้รับมาตรฐานระดับสากล จาก Joint Commission International (JCI) มากที่สุดในอาเซียน รองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่า 2 ล้านคน/ปี ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีผู้ลงทุนด้านการแพทย์แล้วมากกว่า 85,000 ล้านบาท

วิไล คุปต์นิรัตติศัยกุล

เปิดตัวพาวิลเลียนดูแลสุขภาพในระดับชุมชน ในงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019

รศ.พญ.ดร.วิไล คุปต์นิรัตติศัยกุล นายกสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย (TRMA) กล่าวว่า ไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 10 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในปีพ.ศ.2564 จำนวน 1ใน 5 ของประชากรไทยเป็นผู้สูงอายุ ลักษณะโครงสร้างของประชากรแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดเป็นลำดับ 3 ของเอเชีย โดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2583 จะมีจำนวนผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ตามรายงานของ Help Age International ขณะที่ในปีค.ศ. 2035 จำนวนประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้น 15% ของประชากรทั้งหมด การเข้าสู่ระบบสุขภาพ ไทยจำเป็นต้องเสริมสร้างการฟื้นฟูสมรรถภาพ การจัดงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ในครั้งนี้ จะให้ข้อมูลของผู้ป่วยและให้ประโยชน์ เพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก (WHO)

ภายในงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019 นี้มีการเปิดตัวพาวิลเลียนการดูแลสุขภาพในระดับชุมชนเป็นครั้งแรก โดยมีแนวคิดในการรวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้องจากอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพต่าง ๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีเทคโนโลยีและวิทยาการอย่างก้าวหน้า เช่น การเฝ้าระวังสุขภาพในระยะไกล (Tele Medicine) , เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, ผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูสุขภาพ, อุปกรณ์ช่วยเหลือและวิธีการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของอุตสาหกรรมนี้ที่มุ่งหวังเพื่อลดภาระงานในสถานบริการด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยจะมีบริษัทต่าง ๆ จากประเทศญี่ปุ่น, สิงคโปร์, ไต้หวัน, สหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมแสดงผลงาน เช่น ระบบการสื่อสารด้านการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัล, ผ้าอ้อมอัจฉริยะที่มีระบบการตรวจจับความชื้น, ที่นอนลมนวัตกรรมใหม่สำหรับการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ, สกูตเตอร์เคลื่อนที่ที่มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีบลูทูธที่นำมาประยุกต์ใช้ในบ้านอัจฉริยะ

นอกจากนี้มีการประชุมวิชาการฟื้นฟูเทคโนโลยีขั้นสูง ARTeC 2019 หัวข้อ “ตรวจอัลตราซาวด์ ร่วมกับไฟฟ้าวินิจฉัย” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ เพื่อตรวจกล้ามเนื้อ ประสาท รวมทั้งสภาพทั่วไปของกล้ามเนื้อและกระดูก มุ่งเน้นทิศทางใหม่ของเวชศาสตร์ไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากแคนาดา สหรัฐอเมริการ่วมให้ความรู้

ปรีชา พันธุ์ติเวช

ปรีชา พันธุ์ติเวช นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (THAIMED) กล่าวว่า ภายในปีค.ศ. 2020 การเจ็บป่วยของประชากรจะเพิ่มมากขึ้น กอปรกับจำนวนผู้สูงวัย ทำให้ความต้องการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งแนวโน้มชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมั่นใจในระบบโรงพยาบาลของไทยจะเข้ามาใช้บริการมากขึ้น

การที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยกเว้นภาษีชิ้นส่วนวัตถุดิบเครื่องมือในการวิจัยและพัฒนา กระตุ้นให้มีการลงทุนในอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้นำและส่งเสริมเครื่องมือแพทย์สูงสุดในอาเซียน ส่วนใหญ่ส่งออก อุปกรณ์ใช้แล้วทิ้ง ท่อน้ำเกลือ กระบอกฉีดยา รวมทั้งถุงยางอนามัย มีการผลิตน้ำยาที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ มากขึ้น โดยมีตลาดหลักที่สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ มีการส่งออกเครื่อง X-ray ไปยังสหรัฐอเมริกา ประมาณ 21 % ของทั้งหมด ขณะเดียวกันก็นำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จากสหรัฐอเมริกา โดยภาพรวมไทยนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ 1.5 พันล้านบาทและส่งออกมูลค่าใกล้เคียงกัน

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา มีการนำเข้าหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ทั้งนี้รัฐจัดตั้งเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อส่งเสริมคลัสเตอร์หุ่นยนต์ เพื่อสร้างนวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก

“ ในปีนี้สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ ได้พาสมาชิกเข้าร่วมงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019 ด้วยแพลตฟอร์มของ ทำให้ THAIMED สามารถช่วยบริษัทด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพเข้าถึงความต้องการของกลุ่มผู้สูงวัยและกลุ่มผู้ประกอบการด้านการดูแลสุขภาพในระดับที่กว้างขวางขึ้น ในขณะเดียวกันยังต้องตามให้ทันในเรื่องของมาตรฐานคุณภาพและข้อกำหนดด้านกฎหมายของอุปกรณ์การแพทย์ทั่วโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” ปรีชา กล่าว

เฉลิม หาญพาณิชย์

ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน (PHA) กล่าวว่า การจัดงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019 ทำให้ไทยสามารถยกระดับเทคโนโลยีทางการแพทย์ และเป็นที่น่ายินดีที่ธุรกิจโรงพยาบาลเป็นของคนไทย 100% อีกทั้งปัจจุบัน โรงพยาบาลเอกชนของไทยได้รับมาตรฐานระดับสากล จาก Joint Commission International (JCI) มากที่สุด ซึ่งเข้ามาช่วยเติมเต็มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่มีสัดส่วน 8-12% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด โดยที่นักท่องเที่ยวจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 -6,000 บาท/คน/วัน แต่ถ้าเข้ามารับการรักษา จะมีค่าใช้จ่ายเป็นล้านบาท โดยกลุ่ม CLMV ที่มารักษาในไทยมากที่สุด คือเมียนมา

การที่ประเทศไทยเหมาะให้บริการด้านรักษาพยาบาล เนื่องจากได้มาตรฐานสากล และรักษาได้ดี มีความได้เปรียบที่ค่าบริการไม่สูงเท่าสิงคโปร์ ทั้งนี้คาดว่า Education Medical Tourism น่าจะเป็นตลาดใหญ่ของ MICE

งานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์

งานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสมาคมทางการแพทย์และธุรกิจกว่า 20 แห่งในระดับชาติและภูมิภาค จากประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, และเวียดนาม เช่น Asia Pacific Medical Technology Association (APACMed), Association of Indian Medical Device Industry, Association of Private Hospitals of Malaysia, Philippine Medical and Laboratory Equipment and Supply Group Inc. และ Vietnam Medical Equipment Association และองค์กรอื่น ๆ

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานผู้ขับเคลื่อนและมีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพของไทย เช่น สมาคมโรงพยาบาลเอกชน, สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย, สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (THAIMED), สมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ไทย, สมาคมส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุไทย (TEPHCA) เป็นต้น


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save