ซิสโก้คาดการณ์เทรนด์เทคโนโลยี ปี 2020 พร้อมเผย 6 เทรนด์ขับเคลื่อนองค์กรสู่ดิจิทัล


ซิสโก้คาดการณ์เทรนด์เทคโนโลยี ปี 2020 พร้อมเผย 6 เทรนด์ขับเคลื่อนองค์กรสู่ดิจิทัล

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า เทรนด์ที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่ระบบดิจิทัล คือ 1.Regulation ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ธนาคารจะกลายเป็น Invisible Bank 2.Data Challenges ทิศทางของลูกค้ามองว่าข้อมูลไม่ใช่เพียงแค่ทรัพย์สิน แต่มองว่าข้อมูลจะช่วยสร้างรายได้และความแตกต่าง 3.New Entrants เช่น Lazy Economy 4.Open Platform มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลมากขึ้น นำข้อมูลที่หลากหลายมาสังเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ และ 5.Mobile First เทคโนโลยีจะตอบโจทย์ เช่น 5G

โดยเทคโนโลยี 5G จะทำงานร่วมกับ wi-fi 6 ขึ้นอยู่กับรูปแบบของแอพที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน โดย 5G จะช่วยสร้างประสบการณ์ ตอบโจทย์ความเร็วและความหน่วง Latency เช่น Use Case 5G ด้าน Telemedicine ทำกับโรงพยาบาลศิริราช ในโครงการ รถ Mobile Stroke ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ ในการทำ Mining คนขับรถอยู่ข้างบน รถขุดอยู่ด้านล่างไปซ้ายขวา จะมี Respond และมีความรู้สึกมากขึ้น

โดยเทคโนโลยี 5G ในปี 2020

“ในปี2020 ระบบ 5G จะมีบทบาทในอุตสาหกรรม โดยในระยะแรกอาจจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ทิศทางในปีต่อไปจะชัดเจนขึ้น” วัตสัน กล่าว

ซิสโก้เผยเทรนด์เทคโนโลยี ปี พ.ศ. 2563 และอนาคต

ซิสโก้ได้คาดการณ์เทรนด์เทคโนโลยีใน ปี พ.ศ. 2563 และอนาคตข้างหน้า ประกอบด้วย 5 เรื่องสำคัญ คือ

1. การสร้างอินเทอร์เน็ตสำหรับอนาคต ขณะที่เราก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ของศตวรรษที่ 21 ยังคงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล ( Digital Transformation) ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ในปัจจุบันถึงจุดแตกหัก และเราใกล้จะถึงขีดจำกัดของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่เราจะต้องพัฒนา “เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับอนาคต” (Internet for the Future) ภายในปีพ.ศ. 2566 จะมีอุปกรณ์ราว 49,000 ล้านเครื่องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และในทศวรรษหน้า จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่หลากหลาย ตั้งแต่ Virtual Reality และ Augmented Reality ไปจนถึงสตรีมมิ่ง 16K, AI, 5G, 10G, ควอนตัมคอมพิวติ้ง, ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและปรับเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น, ยานพาหนะไร้คนขับ และ IOT (Internet of Things) อัจฉริยะ นอกจากนี้ยังอาจมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึง

แอพพลิเคชั่นรุ่นใหม่เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความต้องการและความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าที่โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่จะสามารถรองรับได้ ขณะที่เราก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่นี้ เราจำเป็นปรับเปลี่ยนแนวคิดและสร้างโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตขึ้นใหม่ โดยโครงสร้างพื้นฐานที่ว่านี้จะต้องเร็วกว่าเดิม ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งยังบริหารจัดการและรักษาความปลอดภัยได้อย่างง่ายดาย

เมื่อเร็วๆ นี้ ซิสโก้ได้ประกาศแผนสำหรับการสร้างอินเทอร์เน็ตเพื่อรองรับนวัตกรรมดิจิทัลในทศวรรษหน้า โดยองค์ประกอบหลักของกลยุทธ์อินเทอร์เน็ตสำหรับอนาคต หรือ ‘Internet for the Future’ อยู่ที่การลงทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนของซิลิคอน ออฟติก และซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับแผนการในอนาคต โดยซิลิคอนชิปในอนาคตจะรองรับความเร็วสูง คล้ายในส่วนของ Hyper Scale Cloud จำหน่ายสำหรับ Platform ใน Cloud

2. แนวโน้มเกี่ยวกับระบบเครือข่าย: การพัฒนาของระบบเครือข่ายตามความต้องการของผู้ใช้ เครือข่ายมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นต่อธุรกิจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและให้คุณประโยชน์ที่หลากหลายนอกเหนือจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์และสถานที่ตั้ง โดยทุกวันนี้เครือข่ายมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ การปกป้องข้อมูล การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับทีมงานต่างๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แวดวงอุตสาหกรรมหันมาให้ความสนใจกับบทบาทของเครือข่ายที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-defined Network – SDN) ซึ่งเป็นพัฒนาการขั้นถัดไปของเครือข่าย โดย SDN ให้ประโยชน์มากมาย เช่น การรวมศูนย์การจัดการและการรักษาความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ซิสโก้ มองว่า SDN เป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเพื่อมุ่งไปสู่ระบบเครือข่ายตามความต้องการของผู้ใช้ (Intent-Based Networking – IBN) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และ Machine Learning เพื่อคาดการณ์การดำเนินการ ตรวจหาและแก้ไขความผิดปกติโดยอัตโนมัติ หยุดยั้งภัยคุกคามด้านความปลอดภัย รวมถึงมีการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

3. ความภักดีต่อแอพพลิเคชั่น เทียบเท่าความภักดีต่อแบรนด์ เมื่อพูดถึงธุรกิจในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้สูงมากจะนึกถึงช่องทางดิจิทัลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับธุรกิจนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแอพหรือเว็บไซต์ รวมไปถึงความสะดวกง่ายดาย และความพึงพอใจที่ได้รับผ่านช่องทางดังกล่าว

จากรายงาน App Attention Index ของ AppDynamics ระบุว่า การใช้บริการดิจิทัลได้กลายเป็นพฤติกรรมของมนุษย์โดยที่เราไม่รู้ตัว โดยพฤติกรรมที่ว่านี้เรียกว่า ‘Digital Reflex’ ในอดีตผู้บริโภคมักต้องไตร่ตรองและตัดสินใจที่จะใช้บริการดิจิทัลเพื่อทำงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ปัจจุบัน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ สัดส่วน71% ยอมรับว่าบริการดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว

ผลการศึกษาดังกล่าวชี้ว่า ถ้าหากแอพของแบรนด์หนึ่งๆ ให้ประสบการณ์ที่ไม่ดีพอ ผู้ใช้จะหันหลังให้กับแบรนด์นั้นในทันที ในกรณีที่เกิดปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ ผู้บริโภคจะหันไปหาแบรนด์คู่แข่ง ราว 49% หรือเตือนคนอื่นๆไม่ให้ใช้บริการนั้น หรือแบรนด์นั้นๆ คิดเป็น63% โดยไม่เปิดโอกาสให้ธุรกิจเจ้าของแบรนด์ได้แก้ตัวหรือปรับปรุงการให้บริการ

ดังนั้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.2563 เป็นต้นไป องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องใส่ใจต่อผู้บริโภคที่ไม่มีความอดทนที่มีมากขึ้น นอกเหนือไปจากประสบการณ์ดิจิทัลที่สะดวกรวดเร็วและดีเยี่ยม ซึ่งเป็นสาเหตุให้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นในแบบเรียลไทม์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้สามารถระบุปัญหาที่แท้จริงและดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

4. การป้องกันภัยคุกคามด้วย Threat Hunting และ Zero Trust ทุกวันนี้ อาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกมากกว่าภัยธรรมชาติถึง 3 เท่า ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบตอบสนอง (Reactive) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการแก้ไขเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วและส่งผลกระทบต่อระบบ โดยระบบรักษาความปลอดภัยที่ว่านี้ไม่เพียงพออีกต่อไป องค์กรต่างๆ จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ “Zero Trust” เพื่อก้าวให้ทันกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆ

5. การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารจัดการไอที (AIOps) การทำ Assurance และ AIOps ซึ่งเป็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารจัดการไอที โดยใช้ Machine Learning และ AI ด้วย Application Dynamic หากพบว่ามีการทำงานช้า มีปัญหาคอขวด แอพจะมาช่วยจัดการ ทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ Machine Learning และ AI มีความต่างกันที่ AI สามารถตัดสินใจให้ได้ด้วย

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารจัดการไอที

ซิสโก้เริ่มรุกธุรกิจ Security -Application

วัตสัน กล่าวว่า สำหรับกลุ่มธุรกิจหลักที่ซิสโก้มุ่งเน้น คือ 1.Network มีสัดส่วนมากกว่า 50% 2. Security รองรับพ.ร.บ.ต่างๆ 3. แอพพลิเคชั่น ซึ่งจะมีบทบาทใน 3 ปีข้างหน้า มีสัดส่วนไม่มากนัก

ในส่วนของประเทศไทยในปีพ.ศ.2563 ภารกิจหลักของซิสโก้ คือ 1.Channel Partner มีโปรแกรม Transform Partner สร้าง Ecosystem Partner เช่น DevNet และ Next-gen Partners เช่น การเปลี่ยนโมเดลใหม่เป็น as a service มากขึ้น 2. Architecture เป็นประเทศในอาเซียนที่ทำตลาดแอพ ใช้กับ Transformation เช่น Broadcast และ3. Customer ให้ลูกค้ามีการ Transformation เช่น Broardcast พร้อมยกตัวอย่าง การนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ด้าน Telemedicine ในโครงการรถ Mobile Stroke ซึ่งซิสโก้ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช และตัวอย่างที่เห็นชัด คือ การทำธุรกิจ Mining คนขับรถอยู่ข้างบน รถขุดอยู่ด้านล่างไปซ้ายขวา จะมี Respond และมีความรู้สึกมากขึ้น

Cisco Zero Trust ไม่เชื่อว่าเป็นคุณจนกว่าจะ Validate

กนกฤทธิ์ มิ่งบรรเจิดสุข

ด้าน กนกฤทธิ์ มิ่งบรรเจิดสุข ผู้จัดการด้านวิศวกรรมระบบของซิสโก้ ประจำประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันมี Threat จำนวนมาก ทำให้ Threat Hunting ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้จึงมีความต้องการ Trust ด้วย จากการสำรวจการโดนโจมตีจาก Threat มากที่สุดคือ ขโมยข้อมูลประจำตัว (Identity) 81% ไปทำ Credential จึงเกิดแนวคิด Zero Trust Security ที่มีหลักการที่ว่าองค์กรต่างๆ ไม่ควรไว้วางใจอะไรเลยก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกเครือข่าย และจะให้สิทธิ์การใช้งานแก่ผู้ใช้ อุปกรณ์ และเวิร์กโหลดที่ผ่านการตรวจสอบ เฉพาะหลังจากที่มีการยืนยันความน่าเชื่อถือและมีการป้องกันภัยคุกคามเป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น โดยทั้งหมดนี้จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้ แนวทางดังกล่าวอาจได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอีกในไม่ช้า

“ในส่วนของTrusted Workforce ใช้ทำ Multi-factor Authentication เช่น Finger Print แต่ซิสโก้มี Cisco Zero Trust คือ ไม่เชื่อว่าเป็นคุณจนกว่าจะทำ Validate” กนกฤทธิ์ กล่าว

DevNet สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ บนแอพของซิสโก้ เพื่อให้ Developer ประสบความสำเร็จ

DevNet

กนกฤทธิ์ กล่าวว่า ในส่วนของภารกิจ DevNet เน้นสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ บนแอพของซิสโก้ เพื่อให้ Developer ประสบความสำเร็จ โดยทุกโซลูชั่นของซิสโก้จะมี Open APIs ให้ Developer รวมทั้งมี Certificate สำหรับ DevNet ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่ต้องการบนโครงสร้างพื้นฐานทางไอที

“เราต้องการคนที่มีความรู้ด้าน Network มาพัฒนา Code Programming และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้เทียบเท่ากับ Specialist ที่ซิสโก้มี โดยเน้นไปที่ Developer” กนกฤทธิ์ กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save